+++ "ณิชา" วัตถุมงคลพระเกจิคณาจารย์ พระเครื่องทั่วไป พร้อมจัดส่ง+++

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย nicha_ch, 20 เมษายน 2014.

  1. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    จัดส่งครับ คุณsuphot ED 872972767TH ขอบคุณครับ
    _____________________
    คนเก่งนั้นมีมาก แต่คนหายากนั้นคือ คนดี
     
  2. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2487
    พระรอดฟ้าฮ้องหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกแห่งล้านนาไทย ผสมผงพระรอดวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร ปีพ.ศ.2478 - 2479 ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยอธิษฐานบารมีนานถึงครึ่งปี
    บูชา 300 บาท

    DSC_8318.JPG

    ประวัติการสร้างและปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ที่ผู้สร้างได้ถ่ายทอดไว้อย่างละเอียด ดังนี้
    สร้างจากผงพระรอดวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร ที่ครูบาเจ้าศรีวิไชย นำไปจากลำพูนคราวไปแก้อธิกรณ์ครั้งสุดท้ายระหว่างปี 2478 – 2479 โดยครูบาศรีวิไชยได้อธิษฐานจิตพระรอดชุดนี้เสมือนหนึ่งเป็นการแก้เคล็ดเสริมบารมี ณ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรที่ทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธได้นิมนต์ครูบาไปพำนักตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่กรงเทพ ยาวนานถึงกว่า “ครึ่งปี” (6 เดือน 17 วัน) จึงนับเป็นพระเครื่องชุดพิเศษที่ครูบาศีลธรรมเจ้าอธิษฐานจิตตรงๆและนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ หาเหรียญหรือพระเครื่องใดๆเสมอเหมือนมิได้ ซึ่งปัจจุบัน พระรอด วิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.2479 นี้ เป็นสุดยอดพระเครื่องดี 2 แผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดและหาของจริงของแท้ได้ยากยิ่งที่สุด เพราะได้สืบทราบมาจาอดีตไวยาวัจกรของวัดเบญจมบพิตร อายุ 80 กว่าปีที่เกษียณไปแล้วว่า พระรอดชุดนี้ ครูบาศรีวิไชยนำมาจากลำพูนเพียง 200 กว่าองค์เท่านั้น

    และภายหลังจากครูบาเจ้าศรีวิไชยพ้นจากอธิกรณ์ครั้งสุดท้ายแล้ว พระรอดวิหารสมเด็จที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยอธิษฐานแก้เคล็ดเสริมบารมีขององค์ท่านเองนานถึงกว่าครึ่งปีก็ได้เก็บรักษาไว้ที่วิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรที่หรูหรา สูงส่ง และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งตลอดมาอีกเกือบ 80 ปีให้หลัง จึงได้ค่อยออกสู่มือของผู้ศรัทธาที่มีวาสนาบางส่วน แต่ก็เล็กน้อยเต็มที

    แต่อาจจะเป็นด้วยบูรพวาสนาที่เกี่ยวเนื่อง แบบ “ต๋ามหน้าบุญเต๊อะ”หรือ “มาต๋ามหน้าบุญ” ก็สุดแท้แต่ เมื่อครั้งที่ผู้สร้างนำเหรียญลายมือลายเซ็นครูบาเจ้าศรีวิไชยไปอธิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรเมื่อกลางปี 2557 จึงทำให้ผู้สร้างได้พบกับกรุพระรอด วิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชยทั้งที่สมบูรณ์และชำรุดเป็นจำนวนมาก จึงได้บูชาผาติกรรมมาเกือบทั้งหมด พร้อมนี้ จึงคิดจะสืบสายป๋ารมีในบวรพระพุทธศาสนาและเผยแผ่บุญญาป๋าระมีแห่งท่านพระครูบาเจ้าศีลธรรมศรีวิไชยให้ลือชาปรากฏและแพร่หลายไปยิ่งๆขึ้น จึงได้นำผงพระรอดวิหารสมเด็จ พ.ศ.2479 ที่ชำรุดมาสร้างเป็นพระรอดรุ่นใหม่ โดยได้อัญเชิญลายเซ็นตั๋วเมืองที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้ลงนามในคำมั่นต่อคณะสงฆ์กรุงเทพในคราวที่ไปแก้อธิกรณ์เมื่อปี 2479 ซึ่งเป็นวาระโอกาสเดียวกับที่ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้อธิษฐานพระรอดวิหารสมเด็จ ระหว่างปี 2478 -2479 ไปพร้อมกันมาประดิษฐานทั้งที่ด้านหลังขององค์พระและใต้ฐาน โดยทำการกดพิมพ์และเผาที่วัดมหาวัน ที่น่าจะเป็นที่สร้างพระรอดวิหารสมเด็จ ครูบาเจ้าศรีวิไชยเมื่อปี 2478 ด้วยทั้งหมด นับเป็นการประจวบเหมาะและลงตัวเป็นหนึ่งเดียวแบบครบวงจรอย่างพอดิบพอดี เกินกว่าที่จะเป็นความบังเอิญใดๆ น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง

    อนึ่ง เมื่อพระรอดสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญไปอธิษฐานบารมีพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก่อนเป็นปฐม แล้วจึงไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก,สืบธาตุขันธ์,สืบชะตาหลวง 100 ปี ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่ พระมหาเถรเจ้าที่ “เกิดทัน”และได้เคยร่วมสร้างสมภารป๋าระมีด้วยครูบาศีลธรรมเจ้าศรีวิไชยโดยตรงอย่างแท้จริงระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม พ.ศ.2557 ทุกพิธี มีพระมหาเถรานุเถระมาร่วมพิธีมากมายเป็นร้อยๆรูป เป็นมหาพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง

    อนึ่ง ตอนที่ติดต่อให้ทางวัดมหาวันช่วยกดพิมพ์สร้างพระรอดหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกสุดแห่งล้านนาไทยนี้ ก็ได้บังเกิดอสนีบาต แลบสว่าง ส่งเสียงลั่นฟ้าดังสนั่นครืนใหญ่ต่อหน้าผู้สร้างหลังจากที่ตกลงใจสร้างต่อหน้าต่อตาในทันทีทันใด นับเป็นมหามงคลนิมิตที่สอดคล้องกับชีวประวัติของครูบาศีลธรรมศรีวิไชย ที่ตอนอุบัติ ก็มีฟ้าร้องฟ้าผ่าอย่างน่าอัศจรรย์ จนเป็นที่มาของชื่อเดิมหนึ่งของครูบาศรีวิไชยว่า “ฟ้าฮ้อง” ไม่ผิดเพี้ยน เสมือนหนึ่งดวงพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของครูบาศรีวิไชยจะรับรู้และอนุโมทนา จึงได้สำแดงเตชะฤทธีมหามงคลนิมิตให้ประจักษ์ซึ่งๆหน้าดังว่า จึงเห็นสมควรถวายพระนามพระรอด ผสมผงพระรอดวิหารสมเด็จ หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกสุดแห่งล้านนาไทยนี้ว่า “พระรอดฟ้าฮ้อง หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย” โดยแท้ทีเดียว

    ขอให้ท่านผู้ที่มีบุญวาสนาได้ครอบครองพระรอดฟ้าฮ้อง หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นแรกนี้ จงทราบซึ้งถึงคุณค่าอันไม่มีที่จะประมาณของพระที่ได้รับไว้นี้ให้จงหนัก และเร่งรักษ์บูชาสักการะไว้ในที่อันควร ก็จักเกิดความเป็นสิริสวัสดิมงคลอย่างยวดยิ่งสืบไปเมื่อหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเที่ยงแท้ หาที่สงสัยบ่มิได้เลยแลฯ

    หมายเหตุส่งท้าย : แม้เมื่อตอนที่อัญเชิญพระรอดฟ้าฮ้องหลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชยไปอธิษฐานปิดท้ายที่พระพุทธบาทสี่รอยก่อนน้อมถวายเป็นกฐินทานเมื่อตอนบ่ายของวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2557 ที่ผ่านมานั้น ทันทีที่โยงสายสิญจน์เสร็จ ก็เกิด “ฟ้าฮ้อง” ฟ้าร้องซ้ำอีก 3 ครั้งดังสะเทือนครืนครั่นลั่นเลื่อนไปทั่ววัดพระพุทธบาทสี่รอยอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งแม่ชีและโยมแม่ของครูบาเจ้าอาวาสก็ได้ยินกันโดยทั่ว นับเป็นนิมิตมิ่งมหามงคลที่บังเกิดแต่บารมีอมตะแห่งท่านพระครูบาเจ้าศรีวิไชยยาชนะ ได้ดลบันดาลให้บังเกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์แบบจะๆ ซึ่งๆ หน้าตั้งแต่ปฐมวาระเบื้องต้นจนอวสานกาลเป็นที่สุดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างเหนือความคาดหมายเป็นสุด ยากที่จะเกิดแก่พระเครื่อง หรือวัตถุมงคลใดๆ เป็นที่ยิ่งโดยแท้ จึงเห็นสมควรที่จะจัดบันทึกเป็นหมายเหตุแห่งพระรอด “ฟ้าฮ้อง” หลังลายเซ็น ครูบาเจ้าศรีวิไชยรุ่นนี้ไว้ให้ปรากฏเป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะแก่สาธารณชนคนทั้งหลายสืบไป
     
  3. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2488
    เหรียญรุ่นแรก อายุครบ 74 ปี ครูบาดวงจันทร์ หรือครูบาผีเบื่อ วัดศรีชุม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ปี2558 ครูบาท่านได้ปลุกเสกในคืนวัดลอยกระทง(เพ็ญเดือน12) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 21.00 น. ซึ่งเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และปลุกเสกอีกครั้งในวันที่26 พฤศจิกายน 2558
    บูชา 300 บาท

    DSC_6304.JPG
     
  4. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2489
    เหรียญอรหันต์ยิ้ม ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก รุ่นพิเศษ เสด็จพระราชดำเนินเททองและมหาพุทธาภิเษก ปี2519 พระพิธีดีปีลึก เหรียญคมชัดตอกโค๊ต สวยเดิมๆครับ
    บูชา 350 บาท

    DSC_2878.jpg


    เหรียญอรหันต์ยิ้ม หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า... เหรียญรับเสด็จ

    รุ่นนี้สร้างโดยวัดบุพพาราม มีพิธีปลุกเสกหมู่โดยครูบาคำแสนทั้งสองคำแสน(อินทจักโก , คุณลังกาโร) เป็นประธาน พุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตา พิธีเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์

    ด้านหลังระบุ สร้างขึ้นเพื่อที่ระลึกในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองและพุทธาภิเษก ณ วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2519

    ด้านหน้าของเหรียญ ระบุ... ชื่อท่าน ครูบาคำแสนฯ อายุ 89 พรรษา 69 ด้านล่าง ระบุวัดสวนดอก
    เหรียญนี้ ได้สมญานามว่าเหรียญ "อรหันต์ยิ้ม" เนื่องจากใบหน้าของหลวงปู่คำแสนท่านมีรอยยิ้มและเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา มีทั้งตอกโค๊ตและไม่ตอกโค๊ต ส่วนใหญ่ไม่มีกล่อง

    จัดพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกราวต้นปี พ.ศ.2519 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม

    พร้อมด้วยรายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้งสิ้น 49 รูป ได้แก่...

    1. สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18)
    2. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19)
    3. สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักรวรรดิ์ฯ
    4. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    5. พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตร
    6. พระธรรมวโรดม วัดประทุมคงคา
    7. พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    8. พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    9. พระเทพวิสุทธิโสภณ วัดเชียงราย
    10. พระเทพวิสุทธิ์ วัดเจดีย์หลวง
    11. ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก
    12. ครูบาคำแสน คุณาลังกาโล วัดป่าดอนมูล
    13. ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    14. ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    15. หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาป่อง
    16. พระอาจารย์หนู วัดดอยแม่ปั๋ง
    17. ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    18. ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    19. พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    20. ครูบาบุญมี(พระครูธรรมธร) วัดท่าสะต๋อย
    21. ครูบาคำปัน(พระครูมงคลคุณาทร) วัดหม้อคำตวง
    22. ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    23. ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    24. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    25. ครูบาจีนา วัดท่าข้าม
    26. ครูบาคำตั๋น วัดดอนจืน
    27. พระอาจารย์ทองบัว วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
    28. ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี
    29. พระประสาท สุตาคม วัดจามเทวี
    30. พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธ
    31. ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
    32. พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    33. ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    34. ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    35. พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    36. ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    37. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    38. ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    39. พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    40. พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    41. พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    42. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    43. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    44. หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    45. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    46. หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไลย์
    47. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    48.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
    49. พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา

    4286141.jpg

    42867.jpg
     
  5. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2490
    พระปิดตามหาลาภ พระภาวนาพิศาลเถร หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา พิธีพุทธาภิเษก 8 กุมภาพันธ์ 2534 พร้อมกล่องเดิมๆ
    บูชา 300 บาท

    DSC_5533.JPG
     
  6. ทองทวี

    ทองทวี “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    612
    ค่าพลัง:
    +1,772
    จอง
     
  7. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รับทราบการจองครับ
    _____________________
    คนเก่งนั้นมีมาก แต่คนหายากนั้นคือ คนดี
     
  8. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2491
    เหรียญพระอัฏฐารส เสาหลักเมืองอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ปี2549 กะไหล่ทองเดิมๆ พ่อแม่ครูอาจารย์ภาคเหนือร่วมปลุกเสกหลายรูปครับ
    บูชา 300 บาท

    DSC_7187.JPG

    16945.jpg

    วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามสำคัญฝ่ายธรรมยุตนิกายในภาคเหนือ มีประวัติมายาวนาน แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตก็เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ณ วัดนี้อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จึงเป็นวัดที่มีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ศิษย์สายหลวงปู่มั่นหลายรูปแวะเวียนมาเป็นพิเศษตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเพื่อหาทุนสมทบบูรณะพระวิหารหลวง ซึ่งกำลังดำเนินการบูรณะในขณะนั้น พระอัฏฐารส เป็นพระประธานประจำพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ด้านหลังเป็นเสาอินทขิล เป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะมีพิธีใส่ขันดอกเป็นประจำทุกปี มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมากซึ่งทุกปีจะมีการบวงสรวงสมโภชใหญ่ เหรียญรูปแบบนี้ยังไม่เคยสร้างองค์จำลองมาก่อน การสร้างองค์จำลองครั้งแรกนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการบูรณะพระวิหารหลวง ซึ่งการในการบูรณะครั้งนั้น ต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก โดยได้ทำพิธีหล่อในวันวิสาขบูชา และจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 โดยได้รับเมตตาจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ อาทิ...
    - หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง
    - หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี
    - หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก
    - หลวงพ่อไพโรจน์ วิโรจโน วัดดอยปุย
    - หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่
    - หลวงพ่อไพบูลย์ อนาลโย วัดอนาลโยทิพยราม
    - หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี
    - หลวงปู่ทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง ฯลฯ
     
  9. nicha_ch

    nicha_ch nicha_ch สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    8,499
    ค่าพลัง:
    +1,346
    รายการที่2492
    พระพุทธนวมินทรมหาจักรี พระมหาธาตุเจดีย์อินทนนท์ กองทัพอากาศสร้าง เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ พิธีใหญ่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธาน หลวงปู่คำพันธ์ ครูบาอิน ครูบาชัยวงศาพัฒนา ร่วมพิธีปลุกเสก
    บูชา 300 บาท

    DSC_7144.JPG


    DSC_7146.JPG

    เมื่อปีพ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ กองทัพอากาศได้จัดสร้างพระมหาธาตุสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า พระมหาธาตู นภเมทนีดล มีความหมายว่า พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ อันยิ่งใหญ่ เพียงฟ้าจรดดิน ซึ่งเป็นยอดภูเขาสูงที่สุดในประเทศ
    วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2530 เป็นวันพุทธาภิเษก วันนั้นตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ พระจันทร์จะเต็มดวงแล้ว และ เป็นวันมหาสิทธิโชค ตามเวลาฤกษ์จุดเทียนชัย คือเวลา 15.49 - 16.30 น. เป็นมหัทธโนฤกษ์

    การประกอบพิธีพุทธาภิเษก ได้ประกอบพิธีไปตามขั้นตอนครบถ้วนทุกประการ ในตอนเช้าท้องฟ้าอากาศแจ่มใส ตอนใกล้เที่ยงมีเมฆฝนเข้ามา และค่อยๆ ผ่านไป เมฆมีกระจายทั่วๆ ไปในท้องฟ้า แต่ก็ไม่มีฝนตก แม้จะทำท่าว่าจะตกอยู่บ้าง วันนั้นเป็นวันสำคัญที่สุดของพิธี ผู้ช่วยผู้อำนวยการพิธีได้ปฏิบัติบูชาสิ่งศักดิสิทธิ์ก่อนเวลา 11.00 น. และในตอนบ่าย เวลา 15.00 น. ก็ได้มีสภาพอากาศที่ปรากฎแก่สายตาของทุกคนที่มาร่วมพิธีที่ได้สังเกต เวลาประมาณ 15.00 น. นั้นเมฆที่ลอยต่ำรอบพระมหาสถูปเจดีย์เริ่มลอยช้าลง และพัดเป็นทักษิณาวัฎ เป็นวงรอบพระมหาสถูปเจดีย์ในเบื้องสูงยอดดอยที่ตั้งพระมหาสถูปเจดีย์โปร่งโดยรอบขึ้นไป ไม่มีเมฆเป็นช่องสว่างขึ้นไป เมฆที่ผ่านมาถึงบริเวณนี้จะพัดอ้อมไป โดยเฉพาะบริเวณใกล้องค์พระมหาสถูปเจดีย์ ในปริมณฑล 100 - 150 เมตร โดยรอบ ทุกสิ่งทุกอย่างสงบนิ่ง ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ไปจนเสร็จพิธี เวลาประมาณ 18.30 น. เมื่อไม่มีลมเลย อากาศจึงไม่หนาวอย่างที่เคยหนาวมาก่อนแล้วทุกๆ วัน อุณหภูมิของอากาศขณะนั้นคงจะราวๆ 20 - 25 องศาเซลเซียส เพราะสามารถสวมเสื้อแขนสั้นเพียงตัวเดียวโดยมิต้องมีเสื้อหนาวสวมทับอีกชั้นหนี่ง ธรรมชาติสงบนิ่งเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง สภาวะเช่นนั้นย่อมจะไม่เคยมีหรือบังเกิดขึ้นมาก่อนแน่นอน ณ ที่นั้นนับร้อยๆ ปี ทุกคนเชื่อว่าปวงสิ่งศักดิสิทธิ์ทั้งหลายได้มาประชุมอนุโมทนาและบันดาลให้บังเกิดสภาวะเช่นนั้น อันเป็นนิมิตแห่งความสวัสดีและเป็นมหามงคลด้วยอำนาจและบารมีแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ ผู้ที่ได้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกในวันนั้นประจักษ์แก่ตาตนเอง ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระเถระ และพระสงฆ์ ประกอบศาสนพิธีเสร็จแล้ว เริ่มออกจากห้องโถงพระมหาสถูปเจดีย์เป็นคณะแรก ผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้เข้าร่วมพิธีอื่นๆ ต่างทยอยกันกลับ เพื่อเดินทางต่อไปขึ้นเครื่องบินกลับดอนเมือง ทุกคนต่างปลื้มปิติและอิ่มในบุญกิริยาที่แต่ละคนได้มีโอากาสมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งจะประดิษฐานอยู่บนดอยอินทนนท์ที่สูงที่สุดเป็นอมตะ นับภพ นับชาติ จะไม่มีสิ้นสุด หากจะได้เกิดมาใหม่เมื่อใดก็คงจะพบ "พระพุทธบรมศาสดา" ณ ที่ขุนเขาแห่งนี้ คณะเจ้าหน้าที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดินทางกลับลงมาเป็นคณะสุดท้าย เมื่อพระจันทร์วันขึ้น 14 ค่ำ ส่องสว่างเหนือดอยอินทนนท์และเส้นทางถนนอินทนนท์-จอมทอง จะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
    ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 กันยายน 2530 พลอากาศโท เกริกชัย หาญสงคราม นาวาอากาศเอก ประกลป์ วิจิตรานุช และ นาวาอากาศเอก อนุธวัช บุณยสิงห์ ได้อำนวยการและควบคุมการลำเลียงส่งพระพุทธรูปจำลอง 999 องค์ พร้อมด้วยพระพิมพ์ผงบรรจุไห จำนวนหนึ่งขึ้นบรรจุไว้ในชั้นตามแผนแบบ ชั้นที่ 5 และ ชั้นที่ 6 ตามที่กำหนดจำนวนไว้ครบถ้วนและเรียบร้อย แล้วรอที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ 14 กันยายน 2530 ต่อไป
    พระชุดนี้พิธียิ่งใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ จนนิตรสารลานโพธิ์นำไปเขียนคอลัมม์ "พระดีพุทรคุณเกินหลักล้าน"

    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมอธิฐานจิต
    - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศ
    - หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
    - ครูบาชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย
    - หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก
    - หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม และพระเถราจารย์อีกหลายท่าน ร่วมอธิญานจิต
    ผงมวลสารมงคล ผสมผงตะไบ ซึ่งทำให้เกิดเป็นจุดสนิมเขียวในองค์พระ

    54474745.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...