จิตที่ออกจากอก อันนี้ผมยังไม่เห็นครับ แต่อันนี้เชื่อว่าท่านพูดจริง เพราะผมก็รู้จักกับนักปฏิบัติที่เห็นแล้วอยู่ วิภวตัณหา ใช่ครับ ตอนนี้มันยังเป็นเช่นนั้นอยู่ ก็คงจะหาทางไปต่อเรื่อยๆ เรื่องการดูแลร่างกาย ตอนนี้ผมดูแลเต็มที่ครับ แต่ดูแลเพื่อใช้งาน ดูแลให้มันดูดี จะได้เจริญตาผู้อื่น ดูแลให้มันแข็งแรง จะได้ใช้กำลังกายมันได้เต็มที่ แต่ไม่ดูแลเพื่อสนองความอยากในจิตใจของตนเองครับ (เห็นร่างกายเป็นเหมือนเรือ ที่เราจะต้องอาศัยข้ามแม่น้ำ เราจะต้องดูแลให้ใช้งานได้ดี ไม่รั่วไม่จม แต่ไม่ถือว่า เรือนี้คือตัวของเรา) พระอาจารย์ผมก็บอกครับ ว่า "อยากได้ก็ไม่ได้ ไม่อยากได้ก็ไม่ได้" ก็ คงต้องใช้เวลาสักพัก ถอดถอนไปเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้อยู่ระหว่างการเดินทางครับ ยังไม่ได้หยุดเดินครับ
พูดถึงตอนระหว่างเดินทาง............. เอ.....รู้สึกว่า พระท่านส่ง ธรรมไว้ให้แล้ว ไม่เฉลยดีกว่า เอาตามนั้นครับ "อยากได้ก็ไม่ได้ ไม่อยากได้ก็ไม่ได้" สังเกตให้ดี แรกๆ หากเจอ ก็ หาที่ทางให้เหมาะให้ไว พอรู้ชัดแล้ว อย่า แม้แต่จะหยุดดู หากหยุดหาที่หาทาง ดูแปลว่า ลืมคำสั่งของพระ "อยากได้ก็ไม่ได้ ไม่อยากได้ก็ไม่ได้"
อย่าว่า อย่างงู้นอย่างงี้เลยนะครับ อาศัย อำนาจในการพิจารณา การประกอบสัตว์ 36 ขอให้คุณ พิจารณาสัตว์ที่ชื่อ สี5 นั้นให้ดี อย่าได้เข้าใกล้ เพราะ เขาข้าม โสมนัส โทนัส ในส่วนที่ มานะ กรุ้มรุม ไม่ได้ ทำให้เคว้ง คว้าง จับต้นชนปลายไม่ถูก แล้ว เอาสภาวะจับต้นชนปลายไม่ถูกนั้น บัญญัติว่า เป็นนิพพาน แล้ว พยายามทำให้สัตว์อื่นเป็น หรือ มีสภาวะอย่างนั้น ดังนั้น ให้คุณพิจารณา แต่ไม่ได้ห้ามคบนะ คบได้ แต่ให้อาศัย เป็นเครื่องมือระลึกการประกอบสัตว์36 ไป ว่ามีหรือไม่มีอย่างไร แต่ให้ดี ดูที่เราดีกว่า ดูไม่ยาก ก็ ตอนกระทบผัสสะ สี5 นั่นแหละ แต่เลือกจะดู อยาตนะใน หรือ นอก ( ทั้งนี้ เพราะ ธาตุเดียวกัน ย่อมชักนำไปหากัน จึงสามารถดูของเขา หรือ ดูของเราก็ได้ มัน ต้องมีแน่ๆ ไม่งั้น ไม่ปะกันแฮม ) ********** เว้นไว้แต่ คุณมีโครงการจะฝังตะกรุดทีท้องแขน ก็จะไม่ห้าม ไม่ ขอยกเรื่องให้พิจารณา
ครับ ขอบคุณครับ จะพิจารณาทุกอย่างโดยยึดหลัก กาลามสูตร 10 และจะพยายามเห็นให้เท่าทันอารมณ์ให้มากที่สุด ได้ท่านเล่าปังมาเตือนสติ ว่า ตัวที่มันละเอียดๆ มันก็ยังหลุดรอดสติผมไปได้อยู่ ขอบพระคุณมากครับ
งืม งืม ของแว๊ด เวลามองไปรอบ ๆ ตัวจะคล้าย ๆ เห็นฝนตก แล้วภาพที่เห็นจะคล้ายสั่นสะเทือน เกิดดับ ๆ ติด ๆ และมันเป็นคลื่น ไม่ใช่ภาพที่เราเห็น บอกไม่ถูก อธิบายไม่ถูกหงะ
อันนี้ ก็คล้ายกัน เหมือนการมาเห็น การสั่นไหวแถวหทันวัตถุ แต่ไม่ใช่ เรื่องไปรู้การเต้นหัวใจนะ การรู้การเต้นหัวใจ หยาบไป การเห็นหัวใจ ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเล้ยงระบบประสาท ก็หยาบไป มันจะเป็นกระแส การเกิดดับ การส่งออก เป็นสิ่งที่คล้ายพลังงาน หากภาวนาจนมี ปิติ มีสุข จะคล้ายๆ ระลึกเห็นระรอกคลื่นยามทะเลมีความสงบ จะเป็นคลื่น ยาว แต่ กรณีนั้นคือ ดูมโนทวาร แต่ ของแว็ดนี่ วางจิตเข้าไปที่ จักขุวิญญาณ การเห็นก็จะคล้ายๆกัน คือมีความหยาบ แล้วจะละเอียดไปเรื่อยๆ หารเห็นฝนตก จะหยาบอยู่ การเห็น สั่นสะเทือนก็ยังหยาบอยู่ หากเห็น ภาพที่เคยเห็นเป็น ภาพกลุ่มของวัตถุแล้วมัน ฉีกออกจากกันเป็นผืนๆ จะเริ่มละเอียด หากเห็นภาพนั้นกระจายตัวออกจากกันเป็นเพียงเม็ดสี ไม่ใช่ภาพตามการรับรู้แบบบัญญัติ จะเริ่มละเอียดแล้ว ช่วงนี้ขันธมาร มัจจุมาร จะเริ่มขยับ หากปล่อยไปอีก อภิสังขารมารจะจัดแสงว๊าบ เข้ามาแล้วพาไปดูนิมิต หากผ่านไปได้ ก็จะไม่มีอะไร จะกลับมารับรู้ ในสภาวะปรกติ เพราะจะเริ่มเข้าใจ อุปทานขันธ์มากพอสมควรแล้ว จึงละนิมิตได้หมด ตาจะเห็นนิมิตละเอียดขึ้น แม้ไม่ได้ภาวนา เช่น เห็นแสงเป็นรุ้งกระจายตัว เห็นแสงกระจายเป็นใบตาล(รัษมีแม่เหล็ก) หรืออาจจะเห็นเป็น ละอองนุ่น หากยังติดนิมิต จะเผลอไปเล่นให้มัน หมุนไปมา(สำคัญว่ามันเป็นเรา หรือ เห็นว่ามันจำนำอามสบางอย่างมา ให้จึงแล่นออก ส่งออก) สุดท้ายจึงจะค่อยๆเห็นความไม่เที่ยง จึงค่อยละ แล้วกลับมาที่งาน คือ มารู้ลงในกายในใจ สอดส่อง กิเลส อนุสัย ไปอย่างที่มันเป็น หาก สดับธรรมไม่พอ จะเข้าใจผิด ว่า กิเลส อนุสัย เป็นตน เป็นของๆตน การภาวนาก็จะล้มละเนระนาดไปอีก จนกว่าจะมาเจออีก พอเจออีก คราวนี้จะค่อยๆรู้ การอนุโลมญาณข้าม การเห็นเป็นตน เป็น ของๆตน พอมาถึงตรงนี้ ก็เรียกว่า เข้าสู่การเริ่มการภาวนาวิปัสสสนา เห็นตามความเป็นจริง ถ้าอนุโลมญาณเกิดการดับให้ดู ไม่ต่างจาก ญาณ หรือ สังขารธรรมอื่นๆ ก็จะเรียกว่า สมาทานสิกขาได้
คุณพระรัตนไตร ระลึกถึง พุทธคุณ ย่อมมี ธรรมคุณ และ สังฆคุณ ปรากฎอยู่ด้วย ระลึกถึง ธรรมคุณ ย่อมมี สังฆคุณ และ พุทธคุณ ปรากฎอยู่ด้วย ระลึกถึง สังฆคุณ ย่อมมี พุทธคุณ และ ธรรมคุณ ปรากฎอยู่ด้วย กล่าวโดย พยัญชนะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นแยกกัน แต่ โดยอาการแล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นรวมกันเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่มีอยู่ใน พระพุทธ มีอยู่ใน พระธรรม สิ่งที่มีอยู่ใน พระธรรม มีอยู่ใน พระสงฆ์ จึงรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยอาการแล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นรวมกันเป็นหนึ่ง! .
นั่งสมาธิแล้วเห็นกะโหลกคนแล้วในกะโหลกเห็นสมองมันเต้นเป็นจังหวะตามการเต้นของหัวใจ กะโหลกใครนะจิตมันตอบอ้อของเรานี้เอง เกิดอาการกลัวกลัวผีตัวเอง(ฮิ ฮิ)จิตเลยออกจามสมาธิ
ตอนผมนั่งสมาธิครั้งแรก ก็เป็นเหมือนกันครับ พอมาศึกษา ถึงรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวปิติครั้งแรกที่ผมนั่งพอจิตเริ่มสงบ พวกอาการต่างๆ เช่น ตัวใหญ่ มือใหญ่ ตัวสูง ตัวเบา ขนลุก น้ำไหลในตัวซู่ๆ บางทีเหมือนตัวอะไรไต่ตามหน้าตา บางทีเหมือนเข็มสักพันเล่มมันแทงทะลุผ่านผิวหนัง บางทีรู้สึกเย็นๆเหมือนสบายๆ อาการเหล่านี้เป็นครั้งแรกพร้อมกันทั้งหมด และ อีกครั้งสองครั้งหลังจากนัั้น พอหลังจากนั้นก็ไม่เป็นอีกเลย สัมผัสได้แต่ความสงบอย่างเดียวครับ บางทีจับกสิณ ก็ไม่มีอาการนั้นเลย
วิธีฝึกโดยเคร่าๆของข้าพเจ้า ทุกครั้งที่จิตมีสติ มีสมาธิ ข้าพเจ้ามักจะเฝ้ามอง เฝ้าดู และรู้เห็น กายใจ ที่ปรุงแต่งเกิดดับ จากเหุตปัจจัยต่างๆนานา แต่ท้ายสุดก็สุญสิ้นไป ไร้ซิึ่งตัวตนทั้งหลายทั้งที่มองเห็นด้วยตาเนื้อและนึกเห็นทางใจ เมื่อพิจารณาโดยรอบแล้วจิตข้าพเจ้าจึงถอนออกจากอัตตาตัวตนนี้ มีเพียงจิตอันพร้อมที่จะรู้สภาวะต่างๆที่จะเข้ามากระทบ ซึ่งระหว่างนี้อาการของกายแทบมองไม่เห็นเลย เพราะจิตถอนแล้วจากตัวตนแห่งกายนี้ มีเพียงดวงปัญญาญาณอันบริสุทธิ์ที่ตั้งตระง่านสว่างไสวดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ....โมทนา... (หากละสมมุติปล่อยวางบัญญัติได้จิตนี้ย่อมเบาสบาย)
จิตเราผู้ฝึกปฏิบัติย่อมรู้เห็นในอวิชชาที่กำลังตกแต่งปรุงจิตให้เกิดดับอยู่ สำนวนที่ข้าพเจ้าสื่อออกมา อ่านดูโดยเผินๆอาจมองไม่ทะลุถึงสภาวะที่เป็นอยู่ แต่จิตข้าพเจ้าเองย่อมรู้เห็นและทราบดีถึงภาวะที่ได้ที่เป็นอยู่ และทางสู่มรรคที่กำลังก้าวเดินไป... โมทนาท่าน อินทรบุตร...
เพราะอวิชชาคือต้นตอแห่งทุกข์ทั้งหลาย ที่ปรุงตกแต่งหลอกจิตคนเรา มาแต่ไหนแต่ไร แม้นท่านเองก็ยังโดนหลอกอยู่ ..หนทางปฏิบัตินั้นอันเรารู้ดีและประจักษ์แล้ว ว่าแต่ท่านเถิด ปฏิบัติไปถึงไหนแล้วหรือมัวแต่ติดอยู่ในนามรูปอันประณีต....
ลองหาธรรมะของหลวงตามหาบัว ฟังต่อเอาจากตรงนั้นแล้วกันครับ ถึงไหนแล้ว บอกแค่ว่าผ่านจุดของคุณที่ยังเข้าใจผิดแบบนั้นอยู่มาแล้วครับ
ช่างเปรียบเทียบน่ะท่าน .....ทิฐิมานะเอาขนะได้แล้วค่อยมาว่ากันต่อ...โมทนา...5555ยังไม่สิ้นกลิ่นปุถุชน...
สภาวะของร่างกาย ที่เห็นได้เมื่อจิตเป็นสมาธิ จิตจะรู้เห็นถึงความจริงของกายคือ 1.กายนี้เป็นของสกปรกไม่น่ายินดีไม่น่ายึดมั่นถือมั่นเลย 2.กายนี้เป็นเพียงการประชุมกันของธาตุ4 3.กายนี้เป็นของสูญเกิดและดับไปไร้ซึ่งสาระแก่นสาร เมื่อจิตมีสติตั้งมั่นรู้เห็นได้ด้วยปัญญาเช่นนี้จิตจะค่อยๆเบื่อหน่าย และละวางได้ซึ่ง สักกายะทิฎิ .........