โพธิสัตว์ พุทธภูมิ ควรพิจารณาหยุดด้วย อริยสัจจ 4

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เล่าปัง, 7 พฤศจิกายน 2007.

  1. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เราได้อ่าน สดับมา และขอประมวลให้ฟังอย่างนี้

    ครั้งที่พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นมาณพชื่อโชติปาละ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า เพื่อนซึ่งเป็นอริยาอนาคามีชื่อปฏิฆะได้ ชักชวนมาณพโชติปาละ เข้าฟังธรรม มาณพโชติปาละนั้นเป็นโพธิสัตว์ เพราะมีปรีชาสามารถเรียนธรรมได้ทุกวิชาในขณะนั้น ย่อมต้องเรียนธรรมะของพระกัสสปพุทธเจ้าได้ครบถ้วนเช่นกัน แต่เหตุใดจึงไม่ได้เป็นอริยะเจ้าชั้นหนึ่งชั้นใด

    ก็เพราะพิจารณาหยุดด้วย สัจจานุโลมมิกญาณ ซึ่งก็คือการแทงตลอดความรู้ใดๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องอริยสัจจ 4

    แม้นจบไตรเพสซึ่งต้องได้ชั้นพรหม ก็ไปไม่ถึงชั้นพรหม ก็เพราะ มันคือ ทุกข์ สมุทัย จึงเห็น นิโรธ และมรรค จึงระงับไว้ได้ซึ่งชาติพรหมได้เป็นผล

    แม้นจบไตรสรณะซึ่งต้องได้ชั้นอริยะเจ้า ก็ไปไม่ถึงชั้นอริยะเจ้า ก็เพราะ ไม่อาจระงับ ทุกข์ สมุทัย ของเหล่าสัตว์ จึงเห็น นิโรธ และมรรค จึงระงับไว้ได้ซึ่งชาติอริยะเจ้าได้เป็นผล


    ในเบื้องต้น หากเมื่อใดที่

    ปุถุชนธรรมดา แทงตลอดด้วยทุกเรื่องราว ด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ สาธุชน หรือ อุบาสก อุบาสิกา ได้เป็นผล



    ในท่ามกลาง หากเมื่อใดที่

    สาธุชน หรือ อุบาสก อุบาสิกา แทงตลอดด้วยทุกเรื่องราว ด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ อริยะชน จนถึง โพธิสัตว์

    อริยะชน โพธิสัตว์ แทงตลอดด้วยทุกเรื่องราว ด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ ผู้นำ กษัตริย์

    กษัตริย์ หรือผู้นำ แทงตลอดด้วยทุกเรื่องราว ด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ มหาราช รัฐบุรุษ มหาบุรุษ-สตรี จนถึง โพธิสัตต์

    พรหมญาณ ผู้ทรงฌาณ แทงตลอดด้วยทุกวิชชา อภิญญา ด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ อริยะชน จนตลอดถึง อริยะเจ้าชั้นตนๆ



    ในเบื้องปลาย หากเมื่อใดที่

    อริยะเจ้าชั้นตนๆ แทงตลอดต่อด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ อริยะเจ้า ขึ้นเป็นลำดับจนถึง อรหันตผล

    โพธิสัตต์ แทงตลอดต่อด้วย ทุกข์ สมุทัย ก็จะเห็น นิโรธ และมรรค จึงเลื่อนสู่ มหาโพธิสัตว์

    สรุป

    หากแต่ผู้ปราถนาพุทธภูมิศึกษาวิชาไรๆ แล้วไม่หยุดระงับด้วยการแทงตลอดด้วยอริยสัจจ 4 ก็จะไม่มีทางเดินตรงสู่ทางพุทธภูมิได้อย่างที่อธิษฐาน


    ส่งท้าย

    ผู้ที่ปราถนาจะโบยบิน ไม่ใช่การแสวงและเทียวหามองแต่สิ่งที่อยู่บนฟ้า หากแต่อยู่ที่การก้มหน้าลงมองธุลีดิน ทิ้งสิ้นซึ่งตัณหา ทยานอยาก สมมติรู้ และความสงสัยทั้งปวง

    สมมติวิชา วิชชา 3 อภิญญา 8 ไม่ใช่สิ่งที่จะนำไปสอนใครๆได้โดยง่าย แต่ อริยสัจจ 4 เท่านั้นที่สอนได้ง่าย

    อริยสัจจ 4 จึงควรเป็นเรื่องที่โพธิสัตว์ผู้ปราถนาพุทธภูมิต้องรู้แจ้งให้ครบเศษบรรพเศษบรร และต้องใช้ให้เป็นไม่เช่นนั้นก็จะคลาดพุทธภูมิไป ตัดลงได้แค่สาวก


    * ผิดพลาดอย่างไรขออภัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2007
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เราขอประมวลชาดก ทศชาติ อันเป็น ทศบารมี เพียงสั้นๆดังนี้

    ในทุกๆชาดกจะเริ่มจากการแจ้งในอริยะสัจจ โดยแทงตลอดโลกธรรม 8 ด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ด้วยลำพังจากจินตมัยปัญญา ( คิดเอาก็เห็น ไม่ต้องเริ่มด้วยการบำเพ็ญเพียร ) ในลำดับต้นๆเรื่อง นำไปสู่การปฏิบัติด้วยอิทธิบาท 4 ที่แน่แน่ว แม้หลายชาติในลำดับสุดท้ายจะได้ออกผนวชเป็นฤาษีแต่ก็ไม่ได้สำเร็จโพธิญาณในชาตินั้นๆ

    ยิ่งในชาติสุดท้าย พระเวสสันดร ก็เช่นกัน เริ่มจากกำหนดทุกข์ในการครองทรัพย์ อานาบริวารทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตเป็นทุกข์ การถือครองไว้คือหนทางแห่งทุกข์ การสละลงเป็นทานเสียได้คือทางพ้นทุกข์ เมื่อได้ปฏิบัติจนทราบชัดถึงผลด้วยจิตจนแนบแน่นแล้ว ก็ทรงระงับไว้ ที่สัจจานุโลมมิกญาณ แล้วกลับมาครองราชบัลลังค์ จากโพธิสัตต์ก็เป็นมหาโพธิสัตว์

    อีกมุมหนึ่ง แม้บรรลุธรรมขั้นนั้น ก็ไม่ได้ประกาศคำสอน และกำหนดรูปสาวก และบริษัทใดๆ ให้เป็นรูปของศาสนาแต่ประการใด

    การมาครองชาติภพ 10 ชาติสุดท้ายจึงเป็นเรื่องของการมาทำหน้าที่เป็นโพธิสัตต์ โพธิสัตว์ ไม่ใช่มาเพื่อสอนธรรมใดๆมากไปกว่า ชี้ให้เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค อันเป็น อริยะสัจจ 4 ตามหลักพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่การชี้ ชักจูง ให้หวาดกลัวภัยอันตรายใดๆ มาแสดงธรรมให้เห็นขอบเขตจักรวาลใดๆ มาแสดงธรรมด้วยความวิเศษพิสดารใดๆ นอกเหนือไปจาก อริยสัจจ เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2007
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    บททั่วไปของพุทธภูมิ


    ที่มาของดวงจิต

    เมื่อสัตว์หนึ่งมองเห็นสัตว์อีกหนึ่งนำฝูง นำชน สู่การพ้นภัย สู่ความสงบ สู่ความเจริญ สัตว์นั้นจะยินดีในจริยาของสัตว์อีกหนึ่งนั้น แล้วเกิดจิตปราถนา จะเป็นอย่างนั้นให้จงได้ จากนั้นจะดั้นด้นคิดค้นหาทาง ทดลอง แสดงแต่ไม่อวดอ้างเพื่อค้นหาซึ่งหนทางให้เป็นได้อย่างนั้น ด้วยตัวเอง

    กาลครั้งหนึ่งสัตว์หนึ่งได้แลเห็นมหาสมณะนำฝูง นำชนอริยะ สู่การพ้นภัย สู่ความสงบ สู่ความเจริญแห่งนิพพาน สัตว์หนึ่งจึงยินดีในจริยามหาสมณะนั้น แล้วเกิดจิตปราถนา จะเป็นอย่างนั้นให้จงได้ จากนั้นจะดั้นด้นคิดค้นหาทาง ทดลอง แสดงแต่ไม่อวดอ้างเพื่อค้นหาซึ่งหนทางให้เป็นได้อย่างนั้น ด้วยตัวเอง



    ทางเดินของดวงใจ

    สัตว์หนึ่งผู้เปี่ยมพุทธจิต จะกำเนิดเวียนว่าย นำชนบ้าง ตามชนบ้าง พาพ้นภัยบ้าง พาสู่ภัยบ้าง พาสู่ความสงบบ้าง พาสู่ความโกลาหลบ้าง พาสู่ความเจริญบ้าง พาสู่ความวินาศบ้าง ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับความฉลาด ความปรีชา ความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลและเทศะอันเหมาะสม ผู้ที่คงมั่นฉลาดหาหนทางเหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่จะนำตัวเองสู่จริยาแห่งอารยะ ไม่แพ้พ่ายกามตัณหา นิวรณ์ โลกธรรม 8 และไม่แพ้พ่ายรูปราคะ และอรูปราคะลงไปเสียก่อน



    ทางที่ไม่ก้าวล่วง

    จิตตานุสติปัฏฐาน คือทางที่ไม่อาจก้าวล่วง จะไมนำจิตให้เห็นจิต แต่กายานุสติปัฏฐาน และเวทนานุสติปัฏฐานคือสองสิ่งที่กระทำไม่วางเว้นในแต่ละเส้นทางที่เดินมา เป็นที่มาของการพิจารณาอริยัสัจจ และเป็นที่จบของการพิจารณาอริยสัจจ พุทธภูมิจะยินดีหยุดแค่เสียสละกาย ดับความทรมารแลกกับอุดมคติ แลกกับสัจจะ แลกกับจริยาอันยิ่งใหญ่เมื่อสุดเส้นทางที่ตนได้ครองในเพลานั้น



    ทางแก้ที่ต้องมั่นสร้าง

    ด้วยมิอาจพิจารณาให้เห็นจิต โอกาสผ่ายแพ้กิเลสนานาจึงมี เหตุนั้นทศบารมีจึงเป็นทางแก้

    ทานบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำพาสู่ความราบรื่นแห่งการดำรงค์ชีพ ด้วยเพราะพร้อมด้วยปัจจัยโดยไม่ต้องเพียรคอยหา

    ศีลบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ให้เว้นเสียซึ่งการขาดศีลโดยไม่ต้องเจริญสมาทาน

    เนกขัมมบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ให้เว้นเสียซึ่งสิ่งอโคจรโดยไม่ต้องเสียเวลาเสวนา และทัศนา

    ขันติบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ให้เว้นเสียซึ่งการเฝ้าเสียเวลานั่งเวทนา

    วิริยะบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำพาสู่ก้าวที่กล้าอยู่เสมอ

    ปัญญาบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำพาสู่สัมมาทิฏฐิ

    สัจจะบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำมาซึ่งไพร่ฟ้า ข้าทาส บริวาร

    อธิษฐานบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำมาซึ่งภาวะผู้นำ

    เมตตาบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำมาซึ่งอนาประชาราษฏร์

    อุเบกขาบารมี คือเครื่องมือที่จะตามไปช่วยในภพหน้า ที่จะนำมาซึ่งเขตขันท์จักรวรรดิ์



    ข้อพิสูจน์ตัวตน

    - ท่านย่อมสำรวมละเว้นการฆ่าสัตว์ และเห็นการตายของสัตว์เป็นทุกข์
    - ท่านย่อมสำรวมละเว้นในทยานอยากในทรัพย์ และเห็นการเบียดทรัพย์ทั้ง สินทรัพย์ และปัญญาทรัพย์ เป็นทุกข์
    - ท่านย่อมสำรวมละเล้นในความทยานในกาม และเห็นการเสพกาม เป็นทุกข์
    - ท่านย่อมสำรวมละเว้นในมุสาวาทา และเห็นการโกหก เพ้อเจ้อ ขู่คนให้หวาดกลัว เป็นทุกข์
    - ท่านยอมสำรวมละเล้นในที่อโคจร และเห็นสุรา ยาเมา สถานที่แห่งอบาย สถานที่แห่งความเพลิดเพลินลุ่มหลงธรรมชาติใดๆ เป็นทุกข์
    - ท่านไม่เคยละเว้นการออกมาเดินนำเมื่อยามกลุ่มชนมีปัญหา และจากไปด้วยดี มิได้หวังลาภ ยศ สรรเสริญ
    - ท่านย่อมไม่คงอยู่ในรูปสมณะ หรืออาศัยในรูปสมณะ อันต้องกล่าวสัจจะที่จะทำนิพพานให้แจ้ง
    - ท่านย่อมเห็นกิเลสเป็นกิเลส เป็นทุกข์ครบถ้วนทุกตัว ยับยั้งก่อนเกิดได้เฉพาะที่หนา อนุโลมได้เฉพาะที่เบาบาง แต่ไม่ใช่กระทำโดยไม่เห็น และไม่รับรู้ว่าเป็นทุกข์
    - ท่านย่อมพิจารณาในกิจกรรมของสัตว์ทั้งปวงอยู่เนืองนิตย์ ไม่วางเว้น เห็นสภาพทุกข์ และครุ่นคิดเหตุจูงใจและผลของกรรม ไม่ชื่นชม ไม่เพลิดเพลินกับการเกิด การดิ้นรน การสูญไปของสัตว์ใดๆ
    * ท่านย่อมไม่ชักชวน นำพากลุ่มชน ชุมชน ก้มกราบในสิ่งที่เหนือภูมิปัญญาของกลุ่มชน ชุมชนนั้น แต่จะแสดงความสุขุม สงบ ระงับเพื่อแสดงถึงภาวะพร้อมเป็นผู้นำ และแสดงกริยาที่ควรทำเป็นตัวอย่าง เพื่อใคร่ครวญ เพื่อพิจารณา เพื่อแบ่งแยก กันให้ห่าง กำจัดให้สิ้นซึ่งหนทางของความไม่รู้ด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด เท่าที่จะเห็น เท่าที่คิดได้ว่าเหมาะสม


    โอกาสบำเพ็ญ

    เมื่อยามสงบให้สงบแต่เพียงตัว เมื่อใดกลุ่มชน ชุมชน เริ่มจิตระรัวสั่นไหว ท่านจงก้าวออกมาเพื่อแสดงภาวะผู้นำ แสดงภาวะอริยชน เพื่อนำพาความสงบ ความสุข ความเจริญให้กลับคืนมาเท่านั้น ไม่ใช่การออกมาสร้างความหวาดกลัว หวาดระแวง ไม่ใช่ออกมาแสดงธรรมคำสั่งสอน มาประกาศก่อรูปบริษัทศาสนา ชมรม ชุมนุม เพราะท่านย่อมรู้ว่าความรู้ที่สะสมนั้นยังไม่พร้อมจะแสดง

    ..................


    ..................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2007
  5. illanzer

    illanzer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +840
    รับทราบ(ยืนตัวตรงรับคำสั่ง)
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    *** มรรค ๔ ธรรม ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ****
    <p>
    <p>เห็นตัวเองเป็นที่พึ่ง
    <p>
    <p>- " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ขอประมวลยกให้เห็นสักหน่อย

    ในทศชาติ อันเป็น 10 ชาติสุดท้ายของพระสัพพัญญู มีชาติใดฤาที่พระพุทธองค์ตรัสว่าชาตินั้นๆได้บรรลุมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 เป็นคำมั่น นอกเหนือนจากตรัสรับรองในว่าสุคติในสวรรคาลัยเป็นภูมิ

    ในตำนานปรำปราเกี่ยวกัยสามเณรแห่งอดีตโยนกนคร มีชาติใดฤาที่ได้กล่าวขานว่าได้บรรลุมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1

    โปรดพิจารณาถึงที่มาของคำสอนท่านเล่าจื้อที่สอนให้เคารพบูชาบุพพวิญญาณ นำมาซึ่งการจุติเทพ นำมาซึ่งจุติโพธิสัตว์

    ผู้ใฝ่คติวิญญาณ บูชาบรรพบุรุษ แลเทพองค์ใดๆ เมื่อสิ้นแล้วย่อมอยู่ในข่ายทิฏฐินั้น เมื่ออยู่ในภูมิใดๆก็ยังคงทิฏฐินั้น เมื่อมีใครไรๆประสบพบเจอ ย่อมแจ้งทิฏฐินั้นให้ทราบ ไม่นำพาออกไปไหน ผู้รับฟังเมื่อศรัทธาย่อมไม่ออกไปจากข่ายทิฏฐินั้น

    อริยะเจ้า อรหันต์ นิพพาน ล้วนต้องตกสู่กระแสแห่งการจบสิ้นอยู่เย็นเป็นที่สุด ไม่มีการดำรงค์คงสืบ ฤามีตอนใดที่พระพุทธองค์ตรัสแน่นหนาว่ามี

    หรือจะให้ วิญญาณอันไม่บริสุทธิ ไปปนกับคุณวิเศษอันไม่บริสุทธิ และให้ของไม่บริสุทธิทั้งสองไปปนกับนิพพานอันบริสุทธิ

    หรือจะให้ พระโพธิสัตว์ ปราถนา นิพพานญาณ แทน สัพพัญญุตาญาณ ธรรมอันไหนฤาที่ใช้ขนสัตว์

    ขอฝากพุทธภูมิพิจารณา แล ตักเตือน ทักท้วงแก่เราเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2007
  8. จิ้งจอกขาว

    จิ้งจอกขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +420
    ธรรมะทุกข้อ อุปสรรคทุกสิ่ง พระโพธิสัตว์ ต้องผจญ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ขอบพระคุณ คุณ wawa ที่ให้โอกาสสนทนา ชี้แจง แย้งให้คิด ในเมื่อทศชาดกเป็นทศชาติสุดท้ายหรือไม่นั้น เมื่อมีการแย้งแล้ว และไม่มีข้อพิจารณาอื่นหยิบยกอ้างอิง ย่อมขอถอนออกไป อันจะเป็นทำเนียมที่ดีในการสนทนา

    แต่เรื่องการมาเกิดจากนรกภูมิของพระเตมีย์นั้นเห็นจะสามารถหาหลักฐานได้ เมื่อค้นคว้าแล้ว ส่วนใหญ่กล่าวว่าจุติจากสวรรค์ แต่เรื่องนรกภูมินั้นเป็นเรื่อง ระลึก ได้ ไม่ได้ระบุว่าเป็นเพราะมาจาก นรก โดยตรง เรื่องนี้จึงไม่ชัด

    ส่วนเรื่องตก นรก นั้นก็มีกล่าวในพระสูตรปฏิฆะ สมัยเสวยชาติเป็นมาณพโชติปาละ เพราะกรรมในการไปกล่าวปรามาศพระกัสสปะพุทธเจ้าว่าหัวโล้น จึงทำให้ต้องตกนรกเพื่อชดใช้กรรมนั้น แต่ทั้งนี้ในสมัยนั้นเอง ก็ได้รับการทำนายจากพระกัสสปะพุทธเจ้าว่าจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเช่นกัน ดังนั้น เรื่องที่ว่า นิตยะโพธิสัตว์จะไม่เกิดในนรก เรื่องนี้จึงไม่ชัด
     
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อริยสัจจ 4 กับ นิพพาน

    อริยะสัจจ 4 เป็นหนทางที่มุ่งนำไปสู่ทางนิพพาน

    แต่นิพพาน กลับไม่ใช่ทางมุ่งกลับมาที่อริยะสัจจ 4


    เพราะนิพพาน ย่อมไม่มีอะไรเหลือ จึงไม่อาจนำกลับมา หรือคงดงรงค์อยู่ ในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ผลการดับทุกข์ และหนทางดับทุกข์ใดๆ เหลืออีก เพราะจบสิ้นแล้ว

    เหตุใดจึงมีการใช้คำว่า ใช้นิพพาน เป็นอารมณ์
    1. เพราะเข้าใจว่าความสงบ เป็นนิพพาน ผู้ติดในความสงบจึงกล่าวเป็นนิพพาน แล้วยกขึ้นกว่าวว่าคืออารมณ์
    2. เพราะเข้าใจว่าความสุข เป็นนิพพาน ผู้ติดในความสุขจึงกล่าวเป็นนิพพาน แล้วยกขึ้นกว่าวว่าคืออารมณ์
    3. เต๋า คือความว่าง ความว่างไม่ใช่เต๋า ธรรมนี้มีอยู่ก่อนที่ พุทธศาสนา ไปถึง เพื่อการไม่ขัดแย้งธรรม เพื่อการแสดงธรรม ย่อมนำมากล่าวนำ เหตุนี้ นิพพาน อันเป็นปรมัติเพื่อการสมมติเทียบเคียง เต๋า จึงกลมกลืน จึงกลายอรรถ เมื่อผนวกเข้ากับลัทธินับถือวิญญาณ(ตะวันออกของจีนไล่ไปทางคาบสมุทรเกาหลี ถึงญี่ปุ่น) โพธิสัตว์จึงเป็นวิญญาณครองอารมณ์นิพพาน


    *******
    สมมติว่า โพธิสัตว์ต้องถึงพระนิพพานในทุกๆชาติ เป็นคำจริง
    แต่ถ้ากล่าวว่า โพธิสัตว์ต้องไม่ถึงพระนิพพานในทุกๆชาติ เป็นคำจริง
    บุคคลที่สมมติว่า โพธิสัตว์ต้องถึงพระนิพพานในทุกๆชาติ เป็นคำจริงนั้นย่อมรู้สึกทนไม่ได้ เชื่อไม่ได้ ปลงไม่ได้

    *******
    สมมติว่า โพธิสัตว์พิจารณาแต่อริยสัจจ 4 ซึ่งจะนำไปสู่หนทางค้นพบพระนิพพานในกาลข้างหน้า เป็นคำจริง
    แต่ถ้ากล่าวว่า โพธิสัตว์พิจารณาแต่อริยสัจจ 4 จะไม่มีทางค้นพบพระนิพพานในกาลข้างหน้า เป็นคำจริง
    บุคคลที่สมมติว่า โพธิสัตว์พิจารณาแต่อริยสัจจ 4 จะไม่มีทางค้นพบพระนิพพานในกาลข้างหน้า ย่อมรู้สึกทนไม่ได้ เชื่อไม่ได้ ปลงไม่ได้


    *******
    สมมติว่า พระโพธิสัตว์ต้องหยุดที่พระนิพพาน เหตุใดจึงกล่าวแต่ ทศบารมี กลับไม่มี นิพพานบารมี อรหันตบารมี ยิ่งกล่าวว่าพระโพธิสัตว์เข้าพระนิพพานได้แล้วแต่พิจารณาถอยออกมา เหตุเพราะต้องการขนสัตว์ ก็แล้วทำไมต้องถอยออกมาเล่า ในเมื่อได้ภาวะนิพพาน(ตรัสรู้)แล้วย่อมขนสัตว์ได้เช่นกัน และนี้ควรหรือไม่ที่จะกล่าวว่า ที่ยังไม่ขนสัตว์ในเวลานั้นก็เพราะยังไม่ได้พระนิพพาน

    และไม่ว่าจะด้วยเหตุใด จักเห็นว่า นิพพาน ไม่ใช่บารมีที่ชี้วัดจำนวนของสัตว์ที่ขนพาข้ามวัฏฏะได้ แต่เป็นเพราะบารมีอื่นๆ และบารมีเหล่านั้นไม่ได้มีนิพพาน(สุญญตา)เป็นฐานแต่อย่างใด แต่มีอริยะสัจจ 4 เป็นฐานเด่นชัด กล่าวคือ บารมีต่างๆคำนึงถึงได้ด้วยการเห็นทุกข์ หนทางแห่งทุกข์ ผลการดับทุกข์ และทางดับทุกข์

    อีกกรณีหนึ่ง ความแตกต่างของ อรหันตสาวก ท่านเหล่านั้นมีวิชชา อภิญญา ญาณแตกต่างมากน้อยเข้มข้นกันเห็นมีอยู่ กล่าวได้ว่าเป็นเช่นนั้น แต่จะกล่าวได้หรือไม่ว่ามีเป็นเพราะมี นิพพาน แตกต่างกัน ย่อมไม่ใช่ เพราะนิพพานย่อมเหมือนกัน


    ฉะนั้นสิ่งที่แตกต่างคือส่วนใด และสิ่งใดคือสิ่งที่จะช่วยให้สมปราถนาของพุทธภูมิ


    อีกกรณีหนึ่ง ความปราถนาในนิพพาน ที่มีอยู่ในหลายๆท่านที่กล่าวปราถนาพุทธภูมิ เมื่อท่านตั้งความปราถนานั้นแล้ว ท่านได้ก่อทุกข์แก่ตัวเอง ท่านจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นถ้ามีใครมาขัดแย้งการปราถนานิพพานของท่าน ท่านย่อมขุ่นมัว สงสัย มีทิฏฐิและมานะ จักเห็นว่า นิพพาน จะเกิดขึ้นกับท่านผู้ที่ย้อมตนด้วยสังโยชน์อยู่ได้อย่างไร

    เมื่อท่านใช้ สติ ท่านจักไม่ขุ่นมัว ความชอบใจ ไม่ชอบใจ จักไม่เกิดให้ สมาธิสั่นไหว

    เมื่อท่านใช้ สมาธิ ท่านจักระงับทิฏฐิและมานะ

    เมื่อท่านใช้ ปัญญา ท่านจักไม่สงสัย และจะเข้าใจว่า ความปรถานานั้นเป็นหนทางแห่งทุกข์

    ในขณะที่ยังไม่รู้ ถ้าใช้ลดความ ศรัทธา ท่านจักวาง ความปราถนานิพพาน ลงได้ แล้วเข้าใจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคตามวาสนา วิบาก และกรรมในปัจจุบัน อันจักเป็นบารมี ส่งท่านถึง พระนิพพาน ในกาลข้างหน้า


    แต่เมื่อไหร่ที่ท่านพิจารณาอริยสัจจมากพอ ท่านย่อมสามารถน้อมไปหานิพพานได้ และถ้าท่านไม่ปราถนาจะคงความปราถนาพุทธภูมิแล้ว ก็ก้าวข้ามการพิจารณาอริยสัจจ หยุดอุปทานทั้งปวง ท่านก็จักอยู่เย็น ปล่อยให้สัญญา และอัตตาอยู่อย่างที่มันเป็นจนกว่าจะยุติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2007
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    *** สำคัญ ****

    รู้ ความจริง
    รู้ สัจจะธรรม แก่นสาร
    รู้ หนทางหลุดพ้น
    รู้ สัจจะ

    เห็น สัจจะธรรม แก่นสาร ถูกบดบัง
    เห็น หนทางหลุดพ้น ขาดหายไป
    เห็น ผู้คนเดินหลงทาง หลงขั้นตอนการปฏิบัติ
    เห็น ว่าตนต้องพึ่งตน

    ไม่เห็น ผู้ใดนำสัจจะธรรม ความจริง มาเปิดเผย
    จึงอธิษฐานสัจจะ เผยแพร่หลักสัจจะธรรม โลกุตตระธรรม สัจจะ สู่มวลมนุษย์
    เพื่อหวังนำพาให้สัตว์หลุดพ้น ตรงตามโลกุตตระธรรม

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    แด่ หนุมาน ผู้เลิศในสัจจะวาจา ผู้ประเสริฐด้วยสัจจวาจา

    สัจจวาจา นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ที่ควรน้อมใจปฏิบัติ

    ตัวกระทำ ที่ท่านกล่าวถึง ก็คือสิ่งที่สะสมของผลกรรม เมื่อทำดี เมื่อรักษาสัจจ ย่อมนำพาไปทางหลุดพ้น เหตุเพราะได้สะสมความดีไว้

    แต่อะไรคือสิ่งที่ไปส่งผลกันเล่า เป็นการได้รับสัจจวาจาจากเหล่าคนรอบข้าง กระทำตอบและนำพาไปสู่การหลุดพ้นกระนั้นหรือ หรือว่า ได้รับปัญญาเป็นของตอบแทนในการรักษาสัจจะ และนำพาไปสู่การหลุดพ้นกระนั้นหรือ ที่ถามเพราะไม่ใช่เห็นขัดแย้ง แต่อยากทวนถามถึง สิ่งที่ได้สะสม นั้นคืออะไร และอะไรที่ส่งผลให้หลุดพ้น


    เป็นที่ทราบชัดประการหนึ่งว่า โพธิสัตว์ ผู้ทรงคุณ สัพพัญญุตา จำต้องอาศัย จินตมัยปัญญา เป็นประธาน เป็นที่มาของสัมมาทิฏฐิ

    แม้นครั้ง โพธิสัตว์ จะบำเพ็ญกริยา สะสมบารมีในชาติที่เป็นกษัตริย์ ก็ต้องอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อการสู้รบ ฝ่าฟัน ปลดปล่อยทาส ขจัดภัย บำบัดราษฏร์ บำรุงสุข เพราะระหว่างที่มีศึก ติดพัน จะมานั่งสร้างภาวนามัยปัญญา คงกระทำไม่ได้ ย่อมต้องอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อการพ้นทุกข์

    แม้นครั้ง โพธิสัตว์ จะบำเพ็ญกริยา สะสมบารมีในชาติที่เป็นนกกระจาบ ก็ต้องอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อการฝ่าฟัน ขจัดภัย บำบัดราษฏร์ บำรุงสุข เพราะระหว่างที่ติดแหอยู่นั้น จะมานั่งสร้างภาวนามัยปัญญา คงกระทำไม่ได้ ย่อมต้องอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อการพ้นทุกข์

    แม้นครั้ง โพธิสัตว์ จะบำเพ็ญกริยา สะสมบารมีในทศชาติ ก็ล้วนอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อแสวงหาการหลุดพ้นซึ่งหนทางแห่งทุกข์ เพื่อฝ่าฟัน ขจัดภัย บำบัดราษฏร์ บำรุงสุข ล้วนแต่แสดงให้เห็นการอาศัย จินตมัยปัญญา เพื่อการพ้นทุกข์

    เหตุนี้ สิ่งที่ต้องสะสม (ตัวกระทำ) คือ การสะสม จินตมัยปัญญา นั่นเอง

    แล้ว จินตมัยปัญญา นี้สะสมได้ด้วยเหตุใด ด้วยลำพังแค่การรักษา สัจจะ กระนั้นหรือ


    แต่ทั้งนี้ เราไม่ได้ปฏิเสธว่า ภาวนามัยปัญญา คือหนทางตรง ในการค้นพบ สัจจธรรมสูงสุด เพียงแต่ ผู้ปราถนา พุทธภูมิ ย่อมเล็งเห็น วิสัยในการสะสมปัญญา เพื่อเป็น จินตมัยปัญญา เพื่อใช้ในการประกอบสัพพัญญุตาญาณ เมื่อครั้งจะสำเร็จ สัมมาสัมโพธิญาณ

    โดยทั่วไป กล่าวกันว่า จินตมัยปัญญา มีแต่พุทธองค์ ปุถุชน แลสาวก มีไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี เพียงแต่ปุถุชน แลสาวก อาจจะมีจินตมัยปัญญาที่ไม่ตรง ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ดังนั้น จินตมัยปัญญา ของปุถุชน แลสาวก ย่อมไม่อาจนำพาให้ค้นพบพระนิพพานได้

    แต่ โพธิสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ เป็น สัพพัญญู เป็น สัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ใช้ ภาวนามัยปัญญานำแต่ต้น ก็ไม่ใช่ พระองค์ เริ่มด้วยการ เที่ยวแสวงไปซึ่งเหล่าสำนัก เหล่าอาจารย์ เพื่อศึกษา แต่ก็ค้นพบว่า ยังล้วนไม่ใช่ หนทางดับทุกข์ ณ จุดนี้ ท่านใช้ภาวนามัยปัญญา ในการค้นพบว่า ยังไม่ใช่หนทางดับทุกข์กระนั้นหรือ หรือว่าใช้ จินตมัยปัญญา อันเป็น ปฏิภาณไหวพริบ จนนำไปสู่ การค้นพบ ภวานามัยปัญญา ในที่สุด และใช้ ภวานามัยปัญญา นั้นค้นพบ สัจจธรรม นิพพาน ในที่สุดอีกถอดหนึ่ง

    ถ้อยคำ อาจสับสนไปบ้าง เราเคาะวรรค เพื่อให้แยกอ่านเป็นกลุ่มคำ อาจไม่ตรงจริต อาจทำให้งง ก็ขออภัย และอีก ประการหนึ่ง เราแสวงหา วิธีการหลุดพ้น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อสรรพสิ่ง เท่าที่จะเป็นไปได้ การแสดงความคิด ที่ท่านเห็นเป็นความเห็น จึงอาจไม่สอดคล้อง พระไตรปิฏก แต่ก็ไม่ได้หมายถึง เราไม่เคารพ อย่าได้กล่าวว่าเรา สร้างสัทธรรมปฏิรูปเลย อย่าได้กล่าวว่าเราบดบังโลกุตตรธรรมเลย เพราะเราไม่ได้เจตนา เจตจำนงที่แท้แล้ว ไม่ใช่เพื่อสร้างสัทธรรมในเวลานี้ ในขณะที่พระธรรมขององค์ตถาคต ยังอยู่

    และเมื่อไหร่ที่เราแสดงความเห็น ออกเป็นการแสดงธรรม ย่อมเป็นสัทธรรมปฏิรูป เราก็ไม่ได้สงสัย

    แต่พุทธภูมิ ย่อมแสวงหาหนทางการหลุดพ้นให้ก่อเกิดในกมลจิตให้แนบแน่น จึงเป็นธรรมดาที่ต้องมีถ้อยคำที่คิดขึ้นเอง จะให้ท่องจำนำข้ามภพข้ามชาติคงไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้

    การแสดงความเห็นนี้ ไม่ได้แสดงเพื่อสาวก แต่แสดงเพื่อเหล่าพุทธภูมิ รับไว้พิจารณา หรือ แลกเปลี่ยนความเห็นกัน หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราไม่ได้มากล่าวธรรมเพื่อพาท่านหลุดพ้น แต่เรามากล่าวธรรมเพื่อหาหนทาง อันจะสะสม ไปเป็นบาท ไปเป็นพละ ให้ยิ่งๆขึ้น เพื่ออรรถประโยชน์ในกาลภาคหน้า ซึ่งไม่รู้ว่า จะมีหรือไม่ ถ้าประมาทพลาดพลั้งก็คงตกนรกไป แต่นั้น ไม่ใช่ปัญหา หรือ ทุกข์ของเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2007
  13. illanzer

    illanzer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +840
    แต่ โพธิสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ เป็น สัพพัญญู เป็น สัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ใช้ ภาวนามัยปัญญานำแต่ต้น ก็ไม่ใช่ พระองค์ เริ่มด้วยการ เที่ยวแสวงไปซึ่งเหล่าสำนัก เหล่าอาจารย์ เพื่อศึกษา แต่ก็ค้นพบว่า ยังล้วนไม่ใช่ หนทางดับทุกข์ ณ จุดนี้ ท่านใช้ภาวนามัยปัญญา ในการค้นพบว่า ยังไม่ใช่หนทางดับทุกข์กระนั้นหรือ หรือว่าใช้ จินตมัยปัญญา อันเป็น ปฏิภาณไหวพริบ จนนำไปสู่ การค้นพบ ภวานามัยปัญญา ในที่สุด และใช้ ภวานามัยปัญญา นั้นค้นพบ สัจจธรรม นิพพาน ในที่สุดอีกถอดหนึ่ง

    อนุโมทนา กับข้อความนี้ครับ ^^
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    สิ่งสำคัญ
    คือ ... การขจัดกิเลสทั้งปวงให้หมดสิ้น....เพื่อการหลุดพ้น
    การควักดวงตา ถวายเป็นพุทธบูชา
    จึงไม่ใช่...การขจัดกิเลสนิสัย
    เป็นการทำร้ายตนเอง

    เราไม่ควรเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
    เมื่อ ไม่มีลูกตา...การดำรงชีวิตจะยากลำบาก
    จะทำให้...ทั้งตนเองและคนรอบข้าง เดือดร้อนไปทั่ว

    หากดวงตา...ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในชีวิตแล้ว
    การเสียสละ...ให้ผู้อื่นไปใช้ประโยชน์ต่อไป จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จงใช้ สัจจะวาจา สร้างผลบุญ ผลกรรม สะสมกรรมดี

    จงกล่าว สัจจะ จะควักตาออกมาถวายเป็นพุทธบูชา ต่อไปจะไม่ใช้ลำพังเพียงตานอก จะตั้งสติเสมือนได้ควักตานอกออกไปแล้ว ตานอกที่มีแต่จะนำพาให้เห็นมายา เมื่อควักออกไปเสียแล้ว ก็เอาตาในออกมาใช้แทน ใช้ตาในเล็งเห็นความมีอยู่จริงของ สัทธรรม ขององค์พระพุทธเจ้า

    จงกล่าว สัจจะ จะตัดศรีษะถวายเป็นพุทธบูชา ต่อไปจะไม่ใช้ลำพังเพียงความคิด จะตั้งสติเสมือนได้ตัดศรีษะออกไปแล้ว ความคิดที่เสมือนศรีษะนั้น มีแต่จะนำพาให้คิดติดอยู่ในมโนสัญญาสังขาร เมื่อตัดความคิดออกไปเสียแล้ว ก็เอาปัญญาธรรมออกมาใช้แทน ใช้ปัญญาในการหยุดสงสัยในผลของการเจริญ สัทธรรม ขององค์พระพุทธเจ้า

    จงกล่าว สัจจะ จะเผาร่างกายถวายเป็นพุทธบูชา ต่อไปจะไม่ใช้ลำพังเพียงร่างกายภายนอก จะตั้งสติเสมือนได้เผาร่างกายนอกไปสิ้นแล้ว กายนอกที่เสมือนที่สะสมความทยานอยากนั้น มีแต่จะนำพาให้คิดติดอยู่ในกิเลสตัณหาราคะโมหะโทสะ เมื่อเสมือนเผาร่างกายไปเสียแล้ว ก็เอากายในออกมาใช้แทน ใช้กายในเผารนรูปนามสังขารทั้งปวงอันเป็นฐานของกิเลส เพื่อเจริญ สัทธรรม ขององค์พระพุทธเจ้าให้มีในกายในตน แผ่กระจายออกเป็นกายเนื้อทดแทนกายเดิม อันนำพาความผ่องใส่มาให้ จวบจน สิ้นอัตตาสังขาร ก็จะเหลือกายในให้เผาผลาญ ก็จะพบทางสิ้นเชื้อ


    อย่าปล่อยให้วาจา สัญญาเดิมๆ ขวางสัจจะแท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2007
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    *** หลักสัจจะธรรม นำการปฏิรูปให้เกิดสัจจะ ****

    เล่าปัง :
    แด่ หนุมาน ผู้เลิศในสัจจะวาจา ผู้ประเสริฐด้วยสัจจวาจา
    สัจจวาจา นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ที่ควรน้อมใจปฏิบัติ

    หนุมาน ผู้นำสาร :
    ขอบคุณมาก เยินยอจนตัวแทบลอย

    เล่าปัง :
    ตัวกระทำ ที่ท่านกล่าวถึง ก็คือสิ่งที่สะสมของผลกรรม เมื่อทำดี เมื่อรักษาสัจจ ย่อมนำพาไปทางหลุดพ้น เหตุเพราะได้สะสมความดีไว้

    แต่อะไรคือสิ่งที่ไปส่งผลกันเล่า เป็นการได้รับสัจจวาจาจากเหล่าคนรอบข้าง กระทำตอบและนำพาไปสู่การหลุดพ้นกระนั้นหรือ หรือว่า ได้รับปัญญาเป็นของตอบแทนในการรักษาสัจจะ และนำพาไปสู่การหลุดพ้นกระนั้นหรือ ที่ถามเพราะไม่ใช่เห็นขัดแย้ง แต่อยากทวนถามถึง สิ่งที่ได้สะสม นั้นคืออะไร และอะไรที่ส่งผลให้หลุดพ้น

    หนุมาน ผู้นำสาร :
    ลองพิจารณา
    เหตุ (ต้น) --------------------------------> ผล (ปลาย)
    การกระทำ --------------------------------> กรรม

    คำถาม คือ ตรงกลางคืออะไร ???
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พบเหมือนกัน คือ
     
  17. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    สัจจปฏิบัติก็ดี สัมมาทิฏฐิก็ดี การกระทำก็ดี ตัวกระทำก็ดี ผลกรรมก็ดี

    ยังทำแล้วนำไปสู่ ความสุข เป็นหลักใหญ่ ยิ่งให้สัจจะกระทำดี ก็ย่อมได้ผลดีกลับมาสะสมเป็นบารมี แต่การสะสมสุข สะสมบุญ นั้นยังพาไปได้แค่สุคติภูมิ อันยังไม่สิ้นซึ่งการเวียนว่ายตายเกิด ยังเป็นทุกข์ แม้ในสุคติภูมิก็เป็นทุกข์ล้วนๆ

    ธรรมะของพระตถาคตที่ไปนำสู่โลกุตระธรรมที่ว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับโลกุตระธรรมที่ท่านได้กรุณาชี้ให้เห็น เราไม่เห็นว่ามีฐานะเป็นได้

    อีกทั้งจะตั้งสัจจปฏิบัติดีเพียงใด มีสัมมาทิฏฐิกำกับอยู่ดีเพียงใด การกระทำดี ตัวกระทำดี ผลกรรมดีส่งผลอย่างไร ก็ไม่อาจสู้ ชาติ ชรา โรคา มรณะ ไปได้

    นอกจากนี้ก็ยังไม่อาจพ้นเหตุปัจจัยแวดล้อม จากอุตุ จากอาหาร จากเหล่าชน และหมู่สัตว์ ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้ ตัวกระทำ ของท่านไม่อาจกำหนดลงไปได้ว่าจะตอบแทนผลมาในรูปใด เวลาไหน จึงคงเป็นทุกข์

    หากแต่องค์ตถคตได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ชอบแล้ว ว่าการสิ้นตัณหา อุปทาน ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา พิจารณาด้วยอริยสัจจ 4 พิจารณาด้วยไตรลักษณ์ ถึงพร้อมด้วยไตรสิกขา ย่อมนำไปสู่การพบหนทางพ้นทุกข์ทั้งปวงนั้น

    ถ้าจะกล่าวถึงหนทางพ้นทุกข์ไปมากกว่านี้ เราคงขอสงวนคำ เพราะ สัทธรรม ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นตรัสไว้ดีแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2007
  18. อวทม45

    อวทม45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,832
    ตัวกระทำ คืออะไรผมก็ยังไม่เข้าใจไม่รู้ว่าคือกรรม หรือเปล่า กรอบความหมายมันไม่ชัด ความจริงถ้าธรรมที่นำมาสนทนามีภาษาสมมุติแบบเดียวกันกับไตรปิฎกน่าจะเป็นที่เข้าใจง่ายกว่านี้ ไม่ต้องมาตีความตั้งความหมายกันใหม่
    ผมว่าถ้าปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยความตั้งใจจริง(สัจจะ)ก็สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้แต่ก็ไม่ใช่สัจจะตัวเดียว
     
  19. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    *** โลกุตตระเข้าถึงได้ยาก สัจจะเข้าถึงได้ ****

    ท่านลองพิจารณาตนเองว่า...ตัวเรามีนิสัย มีกิเลสอะไรหลงเหลือบ้าง
    แล้วทดลอง "กำหนดขึ้นเป็น หัวข้อสัจจะ"
    ไม่ทำตามนิสัยกิเลสนั้น
    ท่านลองกำหนดเวลาเพียง...วันละหนึ่งชั่วโมง มีกำหนด ๓ เดือน
    ท่านจะพบว่า...เมื่อทำได้จริงตามสัจจะนี้
    นิสัยกิเลสข้อนั้น...ก็จะลดลงมาก จนหมดไปในที่สุด
    ไม่ทำเอง ทดลองปฏิบัติลงมือทำเอง...ก็จะไม่รู้


    หากท่านไม่เชื่อ สัจจะ ว่าเป็นผู้นำให้เราหลุดพ้น ....ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถช่วยอะไรท่านได้แล้ว
    ขอให้ท่านตั้งใจในสิ่งที่ท่านคิดว่าดีที่สุด ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
    ขอให้พิจารณาสิ่งที่พบเห็นให้ดีว่าจริงหรือไม่
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  20. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    สัจจะธรรม...คือ หลักเดียวที่สูงสุด
    สัจจะ...คือ ผู้นำการปฏิบัติทั้งหมด

    สัจจะ...ส่งผลให้เกิดการกระทำเที่ยง คือทำได้จริง
    จะทำอะไร ก็ให้กำหนดเป็นสัจจะ
    วันนี้กำหนดสัจจะว่า จะอุเบกขา
    วันนี้สัจจะว่า จะเมตตาสัตว์โลก
    จะทำอะไรก็ขอให้เป็นสัจจะ ทำจริง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...