สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • จ1.PNG
      จ1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      324.2 KB
      เปิดดู:
      1,601
    • จ2.PNG
      จ2.PNG
      ขนาดไฟล์:
      400.3 KB
      เปิดดู:
      1,485
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 สิงหาคม 2014
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • จ3.PNG
      จ3.PNG
      ขนาดไฟล์:
      397.7 KB
      เปิดดู:
      1,341
    • จ4.PNG
      จ4.PNG
      ขนาดไฟล์:
      461.9 KB
      เปิดดู:
      1,332
    • จ5.PNG
      จ5.PNG
      ขนาดไฟล์:
      102.4 KB
      เปิดดู:
      1,289
    • จ6.PNG
      จ6.PNG
      ขนาดไฟล์:
      92.5 KB
      เปิดดู:
      1,260
    • จ7.PNG
      จ7.PNG
      ขนาดไฟล์:
      423.7 KB
      เปิดดู:
      1,359
    • จ8.PNG
      จ8.PNG
      ขนาดไฟล์:
      466.9 KB
      เปิดดู:
      1,423
    • จ9.PNG
      จ9.PNG
      ขนาดไฟล์:
      520.3 KB
      เปิดดู:
      1,221
    • จ10.PNG
      จ10.PNG
      ขนาดไฟล์:
      433.8 KB
      เปิดดู:
      1,322
    • จ11.PNG
      จ11.PNG
      ขนาดไฟล์:
      143.6 KB
      เปิดดู:
      1,316
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2014
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y5432258-8.gif
      Y5432258-8.gif
      ขนาดไฟล์:
      56 KB
      เปิดดู:
      2,577
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    หลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร “คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้

    เรื่องพระวักกลินั้น เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า

    ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) ไม่ใช่ตาธรรมดา

    พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”
    พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ

    พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม

    พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้

    “การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

    มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์

    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒

    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="63%" align=center><TBODY><TR><TD>“อหํ สุคต เต มาตา</TD><TD>ตุวํ ธีร ปิตา มม</TD></TR><TR><TD>สทฺธมฺมสุขโท นาถ</TD><TD>ตยา ชาตมฺหิ โคตม.</TD></TR><TR><TD>สํวทฺธิโตยํ สุคต</TD><TD>รูปกาโย มยา ตว</TD></TR><TR><TD>อานนฺทิโย ธมฺมกาโย</TD><TD>มม สํวทฺธิโต ตยา.</TD></TR><TR><TD>มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ </TD><TD>ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา</TD></TR><TR><TD>ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ</TD><TD>ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.</TD></TR><TR><TD>พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ</TD><TD>อนโณ ตฺวํ มหามุเน.” </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
    อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔

    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า



    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...” ​

    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐





    (๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า

    หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้

    "ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ...........สติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกาย.............<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ให้เพ่งตรงกลางดวงปฐมมรรค เมื่อถูกส่วน
    ก็จะเห็นดวงศีล ในกลางดวงศีลเห็นดวงสมาธิ ในกลางดวง
    สมาธิเห็นดวงปัญญา ในกลางดวงปัญญาเห็นดวงวิมุตติ
    ในกลางดวงวิมุตติเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อได้ครบทั้ง
    5 ดวง ในกลางวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็นรูปคล้ายตัวผู้ปฏิบัติ
    เองนั่งอยู่ ในดวงกายนี้เรียกว่ากายมนุษย์ละเอียด เป็นกายที่
    เห็นได้ในความฝัน ถ้าเพ่งที่กลางกายมนุษย์ ก็จะมีดวงอีก 5
    ดวง คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    แล้วก็มีกายทิพย์เกิดขึ้น ตั้งแต่กายทิพย์นี้เป็นต้นไป จะมีกาย
    ประเภทเดียวกันเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกเป็นกายสบายหรือ
    กายอดีต กายปัจจุบันเป็นกายละเอียด เมื่อเพ่งที่รูปกายเหล่า
    นี้ จะมีดวงอีก 5 ดวง เช่นนี้ทุกกาย ที่กลางกายทิพย์จะมีกาย
    รูปพรหม กลางกายรูปพรหม มีกายอรูปพรหม กลางกายอรูป
    พรหม มีกายธรรม

    พอปฏิบัติมาได้ถึงตอนนี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นสติ
    ปัฏฐาน 4 อย่างครบถ้วน

    การเห็นกายในกาย ได้แก่ การเห็นกายต่างๆดังได้กล่าว
    มาแล้ว กายเหล่านี้เป็นกายหยาบ กายละเอียด เป็นการเห็น
    กายหยาบละเอียด

    การเห็นเวทนาในเวทนา ได้แก่ การเห็นดวงในดวงขุ่น และ
    ดวงไม่ใส ไม่ขุ่น ถ้าสุขก็ใส ถ้าทุกข์ก็ขุ่น ถ้าไม่สุขไม่ทุกข์
    ก็เป็นสีตะกั่วตัด จะว่าดำก็อมขาว จะว่าขาวก็อมดำ
    ปรากฏการณ์นี้ จะเห็นได้ด้วยตากายมนุษย์ละเอียด

    การเห็นจิตในจิต ได้กล่าวมาแล้วว่า จิตนั้นลอยอยู่ในเบาะ
    น้ำเลี้ยงหัวใจ การเห็นจิตในจิต ก็คือ การเห็นจิตของกาย
    มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ที่เปลี่ยน
    ไป ตามสีของน้ำเลี้ยงหัวใจ

    ในเวลาเรียนอภิธรรมตอนวิถีจิต อาจารย์มักเขียนทาง
    เดินของจิตเป็นวงกลม ตามหางกันเป็นแถว ๆ ด้วยท่าทางอัน
    ทะมัดทะแมง มอง ๆ ดูคล้ายกับว่าอาจารย์กำลังสอนวิธี
    เล่นงูกินหาง ทำให้สำคัญไปว่า จิตคงเดินเช่นนั้น แต่ความ
    จริงแล้ว จิตเกิดขึ้นในจิตเอง คล้ายน้ำพุ


    การเห็นธรรมในธรรม ก่อนจะได้กายมนุษย์ กายทิพย์ และ
    กายอื่นๆ แต่ละกายจะมีดวงธรรม ขนาดไข่แดงของไก่นำมา
    ก่อน แล้วกายจึงจะเกิด การเห็นดวงธรรมหรือดวงขันธ์ 5
    ที่ทำให้เป็นกายต่างๆนี้แหละ คือการเห็นธรรมในธรรม จะรู้ว่า
    ดวงนั้นเป็นกุศล อกุศล อพยากฤต ก็คือสีของดวงนั้น
    ทำนองเดียวกันกับ การเห็นเวทนาในเวทนา เมื่อปฏิบัติได้จน
    เห็นกายทิพย์ ผู้ปฏิบัติจะมีอภิญญาขั้นต่ำ สามารถเห็นโลก
    ทิพย์บนพื้นพิภพนี้ได้ คือ สามารถเห็นพวกอมนุษย์ แต่ไม่
    สามารถทำจิตให้ลอยเหนือพื้นดินได้ อย่างสูงได้เพียงทำจิต
    ให้กระโดดไปอยู่บนตึก 10 ชั้น 20 ชั้น อย่างในนิยายจีน
    เท่านั้น ทั้งนี้เพราะกิเลสยังหนา ดวงจิตจึงหนัก ถ้าปฏิบัติ
    ได้ถึงกายธรรม ก็สามารถจะไปเที่ยวนรก สวรรค์ หรือ ชั้น
    พรหม ได้

    มีผู้กล่าวว่า การเห็นเทวดา พรหม นรก สวรรค์ เป็น
    ภาพลวง หรือได้เห็นภาพในโลกมนุษย์ แล้วติดตาไปปรากฏ
    เป็นนิมิตขึ้น ถ้าเป็นนักปฏิบัติเพียงได้สมาธิชั้นจตุตถฌาน จะ
    ไม่กล้ากล่าวอย่างนี้เลย เพราะถึง แม้ปรากฏการณ์ในนรก
    สวรรค์ และความเป็นไปของเทวดา พรหม จะได้มีผู้นำมา
    ใช้ประโยชน์ในการสร้างวิจิตรศิลป์ หรือสถาปัตยกรรมบ้างแล้ว
    ก็ตาม ก็ยังไม่อาจนำมาได้หมด ทั้งในการเห็นนรกสวรรค์
    เทวดา พรหม นักปฏิบัติก็ไม่ได้กำหนดรายละเอียด และการ
    เคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น ทั้งบางทีสิ่งเหล่านั้น ก็เกิดขึ้น
    เอง โดยไม่ได้อธิษฐาน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    6 ปีแล้วค่ะยังไม่ไปใหนเลยค่ะ แต่ก็จะพยายามค่ะขอบคุณมากค่ะภาพองค์พระศูนย์กลางกายฐานที่7
     
  7. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    สาธุ ขอบพระคุณค่ะ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525

    ที่ว่า 6 ปี ยังไม่ไปไหนเลย ....


    คุณเริ่มต้นอย่างไรครับ

    ฝึกเอง

    หรือ มีครูบาอาจารย์ที่ไหน ที่หมั่นปรึกษา ไต่สวน สอบถาม




    - ทำบ่อยแค่ไหนครับ

    หลับตา ลืมตา มีช่วงเวลาที่ทำประจำหรือไม่


    - ณ ปัจจุบัน มีเวลาช่วงไหนในวันหนึ่งๆ อย่างน้อย 30 นาที ที่จะทำจริงจังได้ครับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2014
  9. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    -ฝึกเองค่ะ. ช่วงในระหว่างวัน. ทํางาน ขับรถ ทํากับข้าว. เจอปัญหาก็จะสัมมาอรหังบ่อยๆค่ะ
    -ช่วงเช้าตื่นนอนอย่างน้อย 30นาทีค่ะ และก่อนนอน30นาทีอย่างน้อยค่ะ ฟุ้งมากค่ะ.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ






    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    ..........มนุษย์สมบัติ..........

    [​IMG]



    หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร) มักแนะนำศิษย์ให้พยายามทำบุญ
    ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ให้รู้จักเลือกผู้ที่จะทำบุญด้วย
    หลวงพ่อท่านสอนให้ทุกคนพยายามรักษามนุษย์สมบัติ

    ท่านอธิบายว่า คนเรานั้นจะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้
    ต้องมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท มิตรสหาย มีภรรยา
    บุตรบริวาร อย่างที่เราเรียกกันว่า มีพรรคมีพวก คนที่จะมี
    พรรคมีพวกดีได้นั้น ต้องประกอบกรรมดีร่วมกันมาแล้ว ท่านจึง
    สอนว่า ถ้าเห็นคนดี ๆ เขาทำบุญบริจาคทานกันละก็ให้พยายาม
    ไปร่วมกับเขา ไม่จำเป็นต้องร่วมด้วยเงินก็ได้ เพราะคนบางคน
    เขาก็มีทรัพย์สิน เงินทองเหลือเฟืออยู่แล้ว เขาไม่ต้องการเงิน
    แต่เขาต้องการให้มีคนมาช่วย เราก็ไปช่วยด้วยแรง เพื่อว่าใน
    ภพชาติต่อไป จะได้มีพรรคมีพวกที่เป็นคนดี

    การจะมีมนุษย์สมบัตินั้น ก็เป็นด้วยเหตุ 2 ประการคือ

    1.ปุพฺเพกตปุญญตา การทำบุญร่วมกันมาในอดีตชาติ

    2.และการร่วมบุญกันใหม่ การได้สังสรรค์ร่วมแรงร่วมใจใน
    ภพชาติปัจจุบัน

    มนุษย์สมบัตินั้นเมื่อมีแล้ว ก็ต้องรู้จักรักษาให้ยืนยงต่อ
    ไป ต้องรักษาไว้ด้วยสังคหวัตถุ 4 หมายถึง ธรรมอันเป็น
    เหตุเครื่องสงเคราะห์กัน 4 ประการ ได้แก่

    ทาน คือ การแบ่งปันทรัพย์สิน สิ่งของต่าง ๆ การเอื้อเฟื้อ
    เผื่อแผ่ ต่อกัน

    ปิยวาจา คือ การพูดจาไพเราะ อ่อนหวานด้วยความจริงใจ
    ปราศจากโทษ

    อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันและกัน

    สมานัตตา คือ ความเป็นผู้เสมอต้น เสมอปลาย ความไม่
    ถือตัว การวางตนเหมาะสมแก่ฐานะ

    นอกจากนี้หลวงพ่อยังสอนให้เป็น ผู้เสียสละ และ รู้จัก
    อดทน สังคหวัตถุ 4 นี้เป็นสิ่งสำคัญมากในสังคมมนุษย์

    บุคคลใด ถึงพร้อมด้วยธรรม 4 ประการนี้
    ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพ ยำเกรงของผู้คนทั่วไป
    บุคคลนั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้รักษา มนุษย์สมบัติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    [​IMG]


    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ



    คัดมาบางส่วนจาก
    กัณฑ์ที่ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ




    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภาพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

    วิชชาที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ ๑ วิปัสสนาวิชชา ๒ มโนมยิทธิวิชชา ๓ อิทธิวิธิวิชชา แต่ถ้านับรวมตลอดถึงอภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชาเข้าด้วยกันแล้วรวมกันเป็น ๘ คือ ๔ ทิพพจักขุวิชชา ๕ ทิพพโสตวิชชา ๖ ปรจิตตวิชา ๗ ปุพเพนิวาสวิชชา ๘ อาสวักขยวิชชา

    ส่วนจรณะ นั้น มี ๑๕ คือ ๑ ศีลสังวร ๒ อินทรียสังวร ๓ โภชเน มัตตัญญุตา ๔ ชาคริยานุโยค ๕ สัทธา ๖ สติ ๗ หิริ ๘ โอตตัปปะ ๙ พาหุสัจจะ ๑๐ อุปักกโม ๑๑ ปัญญา กับรูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕

    วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน "วิปัสสนา" คำนี้ แปลตามศัพท์ เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่าเห็นต่างๆ เห็นอะไร? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร? แจ้งโดยสามัญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจดจ่ออยู่ที่ศูนย์ดวงปฐมมรรค เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌาน และอรูปฌาน ก็ยังอยู่ในกระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่เรียกกันว่า ฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยทางสมถะเป็นรากฐานก่อนจึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้
    การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคอยู่ตรงศูนย์ คือ กึ่งกลางกายภายในตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับจากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วนรูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไป กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วน วอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น อาตาปี สัมปชาโน สติมา ประกอบความเพียรมั่นรู้อยู่เสมอไม่เผลอ เพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้นก็ถอดส่งไปยังที่ต่างๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับเห็นทั้งตื่นๆ การนอนคนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้ว จะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไรทำได้ตามใจชอบ พวกฤาษีที่ได้บำเพ็ญฌานเขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้นสมถะนั้นเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤาษี กล่าวคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบสก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไป จนในที่สุดพระองค์ได้บรรลุวิปัสสนาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจึงมองเห็นสามัญลักษณะ เห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่ คือ โลกออกมาได้แล้ว

    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยฌานธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหมและอรูปพรหมเหล่านั้นเพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาน จึงผิดกัน สภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่พระองค์รู้เห็น แต่ไม่ใช่รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น

    การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่นพระยสะกับพวกไปพบซากศพและช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่างๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่าง สี สัณฐานก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน สีก็ดำต่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโก หดสั้นเล็กลงทุกทีๆ แล้วแขนขาหลุดจากกัน จนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมดก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกันล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็นซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้ไปพบพระพุทธเจ้าจึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เห็นด้วยตามนุษย์ ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัย เพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น การเห็นด้วยตาทิพย์ตารูปพรหม และอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ รูปจะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่นร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูปเพราะเหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูป นี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูปเป็นต้น แต่ว่าจักยังไม่นำมาแสดงในที่นี้การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา อะไรสักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไปตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของฝาด เช่น เปลือกสนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าฟองน้ำ ดูให้ดีจะเห็นในฟองน้ำนั้นมีเม็ดเล็กๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกัน เรียกว่า ฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้นพอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก ๔ กองนั้นก็ทำนองเดียวกันเห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้วเกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร? อุปาทาน นั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่ประปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสถามว่าเมื่อมันมีอาการแปรผันไป เป็นธรรมดาแก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้วเบญจขันธ์นี้จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม? ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ตอบว่าเป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน? ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    หลักฐานธรรมกายในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา





    คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏเป็นหลักฐานในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหลายแห่ง เท่าที่ปรากฏค้นพบคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง ในที่นี้จำนำมาแสดงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ต่างๆ พอสังเขป


    หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก
    ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย
    มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ


    ๑. ที.ปา อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒

    ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"

    "ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ๒. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

    "สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"

    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"


    ๓. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า

    "...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา...

    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"


    ๔. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

    "...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

    "บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"


    หลักฐานชั้นอรรถกถา
    ๑. วินย. อ. สมนฺตปาสาทิกา เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๑๖-๑๑๗
    ๒. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี พฺรหฺมชาลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔
    ๓. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี อคฺคญฺญสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐
    ๔. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔๒-๓๔๓(อรรถกถาวักกลิสูตร)
    ๕. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี จกฺกวตฺติสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๒๒-๒๒๓
    ๖. ขุ.อ. ปรมตฺถโชติกา มงฺคลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๕
    ๗. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี พาหิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๐, ๙๑
    ๘. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี โสณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
    ๙. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี นิทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๓
    ๑๐. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี ปญฺจปุพฺพนิมิตฺตสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๙๑
    ๑๑. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี อคฺคปฺปสาทสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๐-๓๒๑
    ๑๒. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๔
    ๑๓. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙
    ๑๔. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถทีปนี อุปสีวสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๔๔๓
    ๑๕. ขุ.วิมาณ.อ. ปรมตฺถทีปนี รชฺชุมาลาวิมานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๖
    ๑๖. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี กงฺขาเรวตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๑
    ๑๗. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สิริวฑฺฒเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๖๗
    ๑๘. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี นาคิตฺเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๘๕
    ๑๙. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เมตฺตชิตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๐๔
    ๒๐. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เสนกตฺเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๙
    ๒๑. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สรภงฺคเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๒. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เขนฺตาเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๕
    ๒๓. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๔. ขุ.มหานิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา ติสฺสเมตฺเตยฺยสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๖๓
    ๒๕. ขุ.จูฬนิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา อุปสีวมาณวกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๑
    ๒๖. ขุ.อป.อ. วิสุทฺธชนวิลาสินี ปจฺเจกพุทฺธาปทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๕
    ๒๗. ขุ.พุทฺธ.อ. มธุรตฺถวิลาสินี รตนจงฺกมนกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๗๔
    ๒๘. ขุ.จริยา.อ. ปรมตฺถทีปนี ปกิณณกกถา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๔


    หลักฐานชั้นฎีกา
    ๑. วินย. ฎีกา. ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๑๕๖-๑๕๗
    ๒. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๖๓
    ๓. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๓๘๗-๓๘๘
    ๔. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๔๓๙
    ๕. วินย.ฎีกา. ทุติยปาราชิก วินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓
    ๖. วินย.ฎีกา. โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓
    ๗. ม.ฎี. ลีนตฺถปฺปกาสินี มชฺฌิม-อุปริปณฺณาสฎีก��� ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐


    หลักฐานจากคัมภีร์และหนังสืออื่นๆ
    ๑. วิสุทธิมรรค
    (๑) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ พุทฺธานุสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๓๐
    (๒) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ มรณสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๕๕-๒๕๖

    ๒. วิสุทธิมรรคมหาฎีกา
    (๑) วิสุทฺธิ. ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนา อนุสสตินิเทศ (พุทธานุสติ) ภาค ๒ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๔-๔๙๗
    (๒) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถญฺชุสา อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (มรณสติ) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๒๐-๒๒
    (๓) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๗-๔๙๘

    ๓. คัมภีร์วิสุทธิมรรคโบราณ
    แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ หน้า ๒๘๒

    "...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) และพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ทัศ ประเสริฐด้วย"พระธรรมกาย" อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."

    ๔. คัมภีร์มิลินทปัญหา
    เรื่องพุทธนิทัสสนปัญหา หน้า ๑๑๓

    ๕. หนังสือพระปฐมสมโพธิกถา
    พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนมารพันธปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙

    ๖. หนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ
    "...จึงตั้งจิตต์พิจารณาดู "ธรรมกาย"ในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"

    "พระโยคาวจรผู้รู้ว่า "ธรรมกาย" ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึง "ธรรมกาย" เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของ "ธรรมกาย" นั้นเป็นอมตะ..."

    ๗. คัมภีร์ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตร
    "บุคคลใดไม่มีความสงสัยว่า ตถาคตเจ้าได้หลุดพ้นจากิเลสทั้งปวงแล้ว และ "ธรรมกาย" นั้นย่อมไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย คงที่แน่นอน สงบตลอดกาล บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยพุทธคุณทั้งปวง จะนับจะประมาณมิได้ ประหนึ่งเม็ดทราบในท้องพระแม่คงคาฉะนั้น สมบูรณ์ไปด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาของคนทั้งปวง "ธรรมกาย" ของพระตถาคตเจ้า เมื่อยังไม่พ้นจากกิเลสย่อมถูกกล่าวถึงในนามของตถาคตครรภะ"

    ๘. คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง
    "ธรรมกาย" เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็น "ธรรมกาย" ที่กลมใส บริสุทธิ์"

    "...มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา

    หลักฐานจากศิลาจารึก
    ๑. ศิลาจารึกพระธรรมกาย
    ...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ... ...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ

    คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ "พระธรรมกาย" มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ...
    พ.ศ. ๒๐๙๒ ภาษาไทย-บาลี อักษร ขอมสุโขทัย บัญชี/ทะเบียนวัตถุ/พล.๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
    ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

    ๒. ศิลาจารึกที่เมืองพิมาย
    นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย) ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมก

    คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย "ธรรมกาย" และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้"
    เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรขอม มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการถอดความและแปลแล้ว จัดพิมพ์ขึ้นเป็นตัวหนังสือเรื่อง "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ)

    ๓. ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค
    "สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:"

    คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย " "พระธรรมกาย" อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"
    เป็นจารึกภาษาสันสกฤต

    ------------------------------------------------------------

    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"
    (ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔)

    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มีธรรมกายมาก"
    (ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐)

    "พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่"
    (ขุททกนิกาย เถรคาถา (๒๖/๓๖๕/๓๔๐))

    "พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จอุบัติด้วยรูปกายที่สวนลุมพินี, เสด็จอุบัติด้วยพระธรรมกายที่ควงต้นโพธิ์."
    (อรรถกถาปฐมสมันตปาสาทิกา)

    "มีพระธรรมกายที่สถิตอยู่ภายในรูปกาย ที่สำเร็จมาจากรัตนะอันประเสริฐ อันทรงคุณานุภาพ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่บริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวง"
    (ฎีกาของวิสุทธิมรรคชื่อ ปรมัตถมัญชุสา ฉบับ มกุฏ. ๘/๘)


    ตรองดูเถิดท่านผู้มีกุศลปัญญา ธรรมกายเป็นพระนามของตถาคต เพราะตถาคตเข้าถึงธรรมกายด้วยการปฏิบัติ จึงบัญญัติว่า ธรรมกาย เป็นนามหนึ่งของพระตถาคตโดยแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    .................................[​IMG]

    การบริกรรมนิมิต




    คือ การนึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    เพื่อให้เป็นที่เกาะยึดของจิต หรือความคิดในขณะนั้น โดยมี
    วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการทำงานของจิต หรือความคิดให้เกิด
    ความตั้งมั่นโดยไม่สัดส่าย หรือกวัดแกว่งไปยึดเกาะในสิ่ง
    อื่นๆ การนึกถึงบริกรรมนิมิต จึงต้องไม่ส่งผลให้เกิดความ
    หมายได้มากกว่า 1 ความหมาย เพราะโดยหลักการของการ
    ทำใจให้สงบระงับ ตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ความคิดหรือจิต
    ของผู้ปฏิบัติ จะต้องถูกฝึกฝนให้เกาะเกี่ยว และผูกพัน อยู่กับ
    อารมณ์ของบริกรรมนิมิต ได้อย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ
    จนเกิดความเคยชิน ดังนั้น ถ้าจิตหรือความคิดของผู้ปฏิบัติ ถูก
    ฝึกฝนให้นึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่สามารถจดจำได้เป็น
    อย่างดีแล้ว จิตหรือความคิดนั้น ย่อมสามารถถูกชักนำให้เกิด
    ความสงบได้โดยง่าย

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระเดชพระคุณพระมงคลเทพ
    มุนี (สด จันทสโร) ผู้ก่อตั้งการปฏิบัติธรรมตามแนววิชชา
    ธรรมกาย จึงได้กำหนดให้ใช้ดวงแก้วที่มี ความสะอาด
    บริสุทธิ์ ไม่มีรอยตำหนิใดๆ เป็นวัตถุกสิณ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจ
    ให้ผู้ศึกษา สามารถพิจารณาจดจำลักษณะ ที่โดดเด่นของ
    ความสว่างภายในดวงแก้ว ที่มีความกลมรอบตัว เป็นอารมณ์
    บริกรรมนิมิต คือ เป็นที่ยึดเกาะของความคิด หรือจิตในระหว่าง
    การปฏิบัติ ทั้งนี้ดวงแก้วที่กำหนดให้ใช้เป็นบริกรรมนิมิตนี้ จะ
    ใช้ขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดของดวงตาดำ
    ของบุคคลโดยทั่วไป เพราะจดจำได้ยาก และไม่ควรมีขนาด
    ใหญ่กว่าฟองไข่แดงของไก่ คือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
    ประมาณ 2 นิ้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ขนาดใดเป็นนิมิต
    ตัวอย่างแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนขนาด เพราะเท่ากับเป็นการเริ่มต้น
    ใหม่ ในทางกลับกัน การนึกถึงดวงแก้วที่มีขนาดเท่าเดิมทุก
    ครั้ง ย่อมสามารถฝึกฝนความคิดหรือจิตของผู้ปฏิบัติ ให้ยึด
    เกาะและผูกพันอยู่กับอารมณ์ของบริกรรมนิมิต ได้อย่างต่อ
    เนื่องกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งหมายถึงโอกาสที่จะเกิดความสงบ
    ย่อมมีมากขึ้นนั่นเอง



    การใช้ดวงแก้วแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อเป็นเครื่องจูงใจใน
    การปฏิบัติ ย่อมมีความเหมาะสมด้วยเหตุผลสำคัญ 2
    ประการ คือ

    1. ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปทรง ไม่ว่ากรณีใดๆ
    เพราะดวงแก้วมีความกลมเท่ากันทุกจุด ถึงแม้จะพิจารณาจาก
    ด้านหนึ่งด้านใด หรือมุมหนึ่งมุมใด ย่อมมีลักษณะกลมเหมือน
    กันทุกครั้งไป ไม่เกิดความหมายอย่างอื่น นอกจากความกลม
    เพียงอย่างเดียว จึงเกิดความเหมาะสม เมื่อนำมากำหนดเป็น
    เครื่องจูงใจ เพื่อให้เกิดความสงบ เพราะลักษณะของความ
    กลม ไม่สามารถสร้างความขัดแย้งใดๆ ให้เกิดขึ้นกับความคิด
    ของผู้ปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะปฏิบัติได้อยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม แต่
    ถ้าใช้วัตถุอย่างอื่นเป็นเครื่องจูงใจในการปฏิบัติ เช่น องค์พระ
    พุทธรูป อาจเกิดข้อขัดแย้งกับความคิดของผู้ปฏิบัติ ได้มาก
    มายหลายประการ พระพุทธรูปนั้นมีหลายปาง หลายลักษณะ
    และหลายอิริยาบถ ย่อมเกิดความแตกต่างขึ้นได้หลายๆ กรณี
    เช่น เมื่อมองตรงๆ จากเศียรพระพุทธรูปลงมา ผู้ปฏิบัติมักเกิด
    ข้อสงสัยว่า รูปร่างและลักษณะที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร
    เกศพระพุทธรูปนั้นจะมีลักษณะเปลวเพลิง หรือ บัวตูม เส้น
    เกศานั้นควรม้วนไปในลักษณะใด หรือแม้กระทั่งการห่มบิดไป
    ทางซ้ายหรือทางขวา ล้วนสร้างความสับสนได้ง่าย เป็นต้น
    พระพุทธรูปหรือวัตถุรูปทรงอื่นๆ จึงไม่เหมาะสมต่อการนำมา
    กำหนด เป็นเครื่องจูงใจ เพื่อสร้างความสงบ

    2. วัตถุที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัตถุทึบ
    แสง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นลักษณะภายในทรงกลมนั้นได้
    จึงเป็นลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความน่าสนใจ หรือชวนมองเพื่อ
    จดจำ แต่ดวงแก้วนั้นเป็นวัตถุโปร่งใส ที่แสงสามารถผ่านได้ทั้ง
    หมด เมื่อมีแสงจากภายนอกมาตกกระทบ ดังนั้น มีความแตก
    ต่างจากวัตถุทรงกลมทึบแสงที่มีขนาดเดียวกัน ภาพของดวง
    แก้วที่มีความสว่างภายในจึงจัดได้ว่า มีความแปลกที่โดด
    เด่นกว่าภาพวัตถุอย่างอื่น ที่เกิดจากการมองในลักษณะเดียว
    กัน ผู้ปฏิบัติจึงสามารถจดจำดวงแก้วได้มากขึ้น เมื่อ
    พิจารณาจากลักษณะดังกล่าว

    แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการจดจำลักษณะที่
    เด่น ของภาพดวงแก้วที่ได้กล่าวมานี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นจากการ
    ฝึกฝนเพียงอย่างเดียว โดยนั่งมองแล้วพิจารณาด้วยความตั้งใจ
    เพื่อจดจำ ซึ่งหลังจากสามารถจดจำได้เป็นอย่างดีแล้ว ใน
    ระหว่างการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะต้องนึกถึงลักษณะของดวง
    แก้วเท่าที่ตนเองจดจำได้เท่านั้น ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นกับ ความ
    ตั้งใจในระหว่างการนั่งมองเพื่อฝึกเพิ่มความจำ ดังนั้น ถ้าผู้
    ปฏิบัติไม่สามารถนึกถึงดวงแก้วได้ ในระหว่างการปฏิบัติ ก็
    แสดงว่าความจำนั้นมีน้อย ต้องเพิ่มการฝึกฝน โดยการนั่ง
    มองดูดวงแก้วนั้นให้มากขึ้นไปอีก ซึ่งโดยปกติแล้วต้องฝึกฝน
    ทุกวัน เพราะสภาพการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ของผู้ปฏิบัติแต่ละ
    บุคคลนั้นย่อมแตกต่างกัน การรับสภาพอารมณ์ จากความ
    วุ่นวายในรูปแบบต่างๆของการทำงานในแต่ละวัน ย่อมส่งผล
    ให้สภาพใจของผู้ปฏิบัติขุ่นมัว ไม่แจ่มใส คิดฟุ้งซ่าน ซึ่งแน่
    นอน ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อความคิดของผู้ปฏิบัติ ทำ
    ให้ไม่สามารถดึงเอาความจำนั้น มาใช้ประโยชน์ได้ตามความ
    ต้องการ ลักษณะการใช้ชีวิต ที่ไม่พยายามควบคุมหรือบังคับ
    การใช้ความคิดของตนเองแต่ในสิ่งที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมเป็น
    อุปสรรคขัดขวางความสงบของตนเองได้เช่นกัน

    การฝึกปฏิบัติเพื่ออบรมใจให้เกิดความสงบ จึงมิใช่เป็น
    เรื่องที่ง่าย ที่จะสามารถเห็นผลได้ในทันทีทันใด หรือในระยะ
    เวลาที่ต้องการ เพราะสภาพใจของบุคคลโดยทั่วไปนั้น ขาด
    ความตั้งมั่นมาเป็นเวลานาน จนอาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่เกิดจนถึง
    เวลาที่ตนเองเข้าสู่การปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งคงไม่น้อย
    กว่า 20-30 ปี โดยเฉลี่ย ลักษณะเช่นนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็น
    ว่า ใจนั้นมีความเคยชินต่อความวุ่นวายมาโดยตลอด การ
    ฝึกฝนเพื่อให้เกิดความสงบ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
    ในแต่ละวัน ย่อมไม่เพียงพออย่างแน่นอน ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วย
    วิธีการใดก็ตาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 สิงหาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525


    .................................[​IMG]

    การบริกรรมนิมิต




    คือ การนึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    เพื่อให้เป็นที่เกาะยึดของจิต หรือความคิดในขณะนั้น โดยมี
    วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการทำงานของจิต หรือความคิดให้เกิด
    ความตั้งมั่นโดยไม่สัดส่าย หรือกวัดแกว่งไปยึดเกาะในสิ่ง
    อื่นๆ การนึกถึงบริกรรมนิมิต จึงต้องไม่ส่งผลให้เกิดความ
    หมายได้มากกว่า 1 ความหมาย เพราะโดยหลักการของการ
    ทำใจให้สงบระงับ ตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ความคิดหรือจิต
    ของผู้ปฏิบัติ จะต้องถูกฝึกฝนให้เกาะเกี่ยว และผูกพัน อยู่กับ
    อารมณ์ของบริกรรมนิมิต ได้อย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ
    จนเกิดความเคยชิน ดังนั้น ถ้าจิตหรือความคิดของผู้ปฏิบัติ ถูก
    ฝึกฝนให้นึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่สามารถจดจำได้เป็น
    อย่างดีแล้ว จิตหรือความคิดนั้น ย่อมสามารถถูกชักนำให้เกิด
    ความสงบได้โดยง่าย

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระเดชพระคุณพระมงคลเทพ
    มุนี (สด จันทสโร) ผู้ก่อตั้งการปฏิบัติธรรมตามแนววิชชา
    ธรรมกาย จึงได้กำหนดให้ใช้ดวงแก้วที่มี ความสะอาด
    บริสุทธิ์ ไม่มีรอยตำหนิใดๆ เป็นวัตถุกสิณ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจ
    ให้ผู้ศึกษา สามารถพิจารณาจดจำลักษณะ ที่โดดเด่นของ
    ความสว่างภายในดวงแก้ว ที่มีความกลมรอบตัว เป็นอารมณ์
    บริกรรมนิมิต คือ เป็นที่ยึดเกาะของความคิด หรือจิตในระหว่าง
    การปฏิบัติ ทั้งนี้ดวงแก้วที่กำหนดให้ใช้เป็นบริกรรมนิมิตนี้ จะ
    ใช้ขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดของดวงตาดำ
    ของบุคคลโดยทั่วไป เพราะจดจำได้ยาก และไม่ควรมีขนาด
    ใหญ่กว่าฟองไข่แดงของไก่ คือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
    ประมาณ 2 นิ้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ขนาดใดเป็นนิมิต
    ตัวอย่างแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนขนาด เพราะเท่ากับเป็นการเริ่มต้น
    ใหม่ ในทางกลับกัน การนึกถึงดวงแก้วที่มีขนาดเท่าเดิมทุก
    ครั้ง ย่อมสามารถฝึกฝนความคิดหรือจิตของผู้ปฏิบัติ ให้ยึด
    เกาะและผูกพันอยู่กับอารมณ์ของบริกรรมนิมิต ได้อย่างต่อ
    เนื่องกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งหมายถึงโอกาสที่จะเกิดความสงบ
    ย่อมมีมากขึ้นนั่นเอง



    การใช้ดวงแก้วแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อเป็นเครื่องจูงใจใน
    การปฏิบัติ ย่อมมีความเหมาะสมด้วยเหตุผลสำคัญ 2
    ประการ คือ

    1. ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปทรง ไม่ว่ากรณีใดๆ
    เพราะดวงแก้วมีความกลมเท่ากันทุกจุด ถึงแม้จะพิจารณาจาก
    ด้านหนึ่งด้านใด หรือมุมหนึ่งมุมใด ย่อมมีลักษณะกลมเหมือน
    กันทุกครั้งไป ไม่เกิดความหมายอย่างอื่น นอกจากความกลม
    เพียงอย่างเดียว จึงเกิดความเหมาะสม เมื่อนำมากำหนดเป็น
    เครื่องจูงใจ เพื่อให้เกิดความสงบ เพราะลักษณะของความ
    กลม ไม่สามารถสร้างความขัดแย้งใดๆ ให้เกิดขึ้นกับความคิด
    ของผู้ปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะปฏิบัติได้อยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม แต่
    ถ้าใช้วัตถุอย่างอื่นเป็นเครื่องจูงใจในการปฏิบัติ เช่น องค์พระ
    พุทธรูป อาจเกิดข้อขัดแย้งกับความคิดของผู้ปฏิบัติ ได้มาก
    มายหลายประการ พระพุทธรูปนั้นมีหลายปาง หลายลักษณะ
    และหลายอิริยาบถ ย่อมเกิดความแตกต่างขึ้นได้หลายๆ กรณี
    เช่น เมื่อมองตรงๆ จากเศียรพระพุทธรูปลงมา ผู้ปฏิบัติมักเกิด
    ข้อสงสัยว่า รูปร่างและลักษณะที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร
    เกศพระพุทธรูปนั้นจะมีลักษณะเปลวเพลิง หรือ บัวตูม เส้น
    เกศานั้นควรม้วนไปในลักษณะใด หรือแม้กระทั่งการห่มบิดไป
    ทางซ้ายหรือทางขวา ล้วนสร้างความสับสนได้ง่าย เป็นต้น
    พระพุทธรูปหรือวัตถุรูปทรงอื่นๆ จึงไม่เหมาะสมต่อการนำมา
    กำหนด เป็นเครื่องจูงใจ เพื่อสร้างความสงบ

    2. วัตถุที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัตถุทึบ
    แสง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นลักษณะภายในทรงกลมนั้นได้
    จึงเป็นลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความน่าสนใจ หรือชวนมองเพื่อ
    จดจำ แต่ดวงแก้วนั้นเป็นวัตถุโปร่งใส ที่แสงสามารถผ่านได้ทั้ง
    หมด เมื่อมีแสงจากภายนอกมาตกกระทบ ดังนั้น มีความแตก
    ต่างจากวัตถุทรงกลมทึบแสงที่มีขนาดเดียวกัน ภาพของดวง
    แก้วที่มีความสว่างภายในจึงจัดได้ว่า มีความแปลกที่โดด
    เด่นกว่าภาพวัตถุอย่างอื่น ที่เกิดจากการมองในลักษณะเดียว
    กัน ผู้ปฏิบัติจึงสามารถจดจำดวงแก้วได้มากขึ้น เมื่อ
    พิจารณาจากลักษณะดังกล่าว

    แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการจดจำลักษณะที่
    เด่น ของภาพดวงแก้วที่ได้กล่าวมานี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นจากการ
    ฝึกฝนเพียงอย่างเดียว โดยนั่งมองแล้วพิจารณาด้วยความตั้งใจ
    เพื่อจดจำ ซึ่งหลังจากสามารถจดจำได้เป็นอย่างดีแล้ว ใน
    ระหว่างการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะต้องนึกถึงลักษณะของดวง
    แก้วเท่าที่ตนเองจดจำได้เท่านั้น ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นกับ ความ
    ตั้งใจในระหว่างการนั่งมองเพื่อฝึกเพิ่มความจำ ดังนั้น ถ้าผู้
    ปฏิบัติไม่สามารถนึกถึงดวงแก้วได้ ในระหว่างการปฏิบัติ ก็
    แสดงว่าความจำนั้นมีน้อย ต้องเพิ่มการฝึกฝน โดยการนั่ง
    มองดูดวงแก้วนั้นให้มากขึ้นไปอีก ซึ่งโดยปกติแล้วต้องฝึกฝน
    ทุกวัน เพราะสภาพการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ของผู้ปฏิบัติแต่ละ
    บุคคลนั้นย่อมแตกต่างกัน การรับสภาพอารมณ์ จากความ
    วุ่นวายในรูปแบบต่างๆของการทำงานในแต่ละวัน ย่อมส่งผล
    ให้สภาพใจของผู้ปฏิบัติขุ่นมัว ไม่แจ่มใส คิดฟุ้งซ่าน ซึ่งแน่
    นอน ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อความคิดของผู้ปฏิบัติ ทำ
    ให้ไม่สามารถดึงเอาความจำนั้น มาใช้ประโยชน์ได้ตามความ
    ต้องการ ลักษณะการใช้ชีวิต ที่ไม่พยายามควบคุมหรือบังคับ
    การใช้ความคิดของตนเองแต่ในสิ่งที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมเป็น
    อุปสรรคขัดขวางความสงบของตนเองได้เช่นกัน

    การฝึกปฏิบัติเพื่ออบรมใจให้เกิดความสงบ จึงมิใช่เป็น
    เรื่องที่ง่าย ที่จะสามารถเห็นผลได้ในทันทีทันใด หรือในระยะ
    เวลาที่ต้องการ เพราะสภาพใจของบุคคลโดยทั่วไปนั้น ขาด
    ความตั้งมั่นมาเป็นเวลานาน จนอาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่เกิดจนถึง
    เวลาที่ตนเองเข้าสู่การปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งคงไม่น้อย
    กว่า 20-30 ปี โดยเฉลี่ย ลักษณะเช่นนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็น
    ว่า ใจนั้นมีความเคยชินต่อความวุ่นวายมาโดยตลอด การ
    ฝึกฝนเพื่อให้เกิดความสงบ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
    ในแต่ละวัน ย่อมไม่เพียงพออย่างแน่นอน ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วย
    วิธีการใดก็ตาม
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    การบริกรรมภาวนา


    คือ อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่ง ที่พระเดช
    พระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ผู้ก่อตั้งวิชชา
    ธรรมกาย ได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มงานให้แก่จิตหรือความ
    คิด ในขณะที่กำลังนึกถึงอารมณ์ของบริกรรมนิมิตอยู่ บริกรรม
    ภาวนาจึงมีส่วนช่วยให้ความคิดของผู้ปฏิบัติสามารถยึดจับ
    อารมณ์ของบริกรรมนิมิตได้มั่นคงมากขึ้น เพราะหลังจากผู้
    ปฏิบัติสามารถนึกถึงอารมณ์ของบริกรรมนิมิต คือ ดวงแก้ว เพื่อ
    ให้เป็นที่ยึดที่เกาะของความคิดได้ในเบื้องต้นแล้ว ก็ยังไม่ได้
    หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะสามารถละ หรือปล่อยวางอารมณ์
    อันเป็นกิเลสต่างๆลงได้ในทันที เพราะลำพังเพียงบริกรรมนิมิต
    อย่างเดียว ย่อมไม่มีอำนาจเพียงพอ ที่จะเหนี่ยวรั้ง หรือ ต่อสู้
    กับการสะสมของปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายจนนับ
    จำนวนไม่ได้ ภายในจิตใจของผู้ที่ยังไม่มีความสงบเป็น
    อารมณ์ของตนเอง จำต้องอาศัยบริกรรมภาวนาควบคู่ไปพร้อม
    กัน โดยการนึกท่องคำว่า "สัมมาอะระหัง" ติดต่อกันไปซ้ำๆ
    บ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ และความเคยชินที่มากพอ ความ
    คิดของผู้ปฏิบัติก็อาจจะคลายตัว จากความผูกพัน และ ยึด
    เหนี่ยวกับอารมณ์อันเป็นกิเลสต่างๆลงได้บ้าง ซึ่งอาจต้องใช้
    เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป โดยปฏิบัติติดต่อ
    กันทุกวัน

    หลังจากที่ผู้ปฏิบัติ ได้ฝึกฝนการปฏิบัติ มาเป็นระยะ
    เวลาที่ต่อเนื่องกันนานๆ จะพบว่า การใช้บริกรรมภาวนาควบคู่
    ไปกับบริกรรมนิมิตนั้น มีประโยชน์ต่อการควบคุมการทำงาน
    ของจิต หรือความคิด ในขณะที่มีความฟุ้งซ่านมากน้อยแตก
    ต่างกัน เพราะเมื่อมีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมาก ความคิดส่วนหนึ่ง
    จะถูกความฟุ้งซ่านแย่งการทำงานไป คงเหลือความคิดเพียง
    ส่วนน้อย ซึ่งอาจไม่มีกำลังมากพอที่จะทำงานเพื่อต่อสู้กับ
    อำนาจของกิเลสในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านมาก ผู้
    ปฏิบัติควรรีบแก้ไขด้วยการนึกท่องคำว่า สัมมาอะระหัง ให้ถี่
    และเร็ว เพื่อแย่งชิงความคิดส่วนที่ถูกความฟุ้งซ่านดึงไปให้คืน
    กลับมา ผู้ปฏิบัติจะสามารถดึงความคิดกลับมาได้มากน้อยเพียง
    ใด ขึ้นอยู่กับการมีสติรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ในขณะนั้นๆ ซึ่ง
    เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน และอาศัยระยะเวลาพอสมควรด้วยความ
    ตั้งใจ ในทางกลับกัน ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถนึกถึงอารมณ์
    ของบริกรรมนิมิตได้อย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจไม่
    จำเป็นต้องใช้บริกรรมภาวนาให้ถี่และเร็ว คงใช้บริกรรมภาวนา
    ให้ช้าลง หรือ ไม่ต้องใช้เลยก็ได้ บริกรรมภาวนาจึงมีบทบาท
    เป็นอุบายวิธีเสริมการทำงานของบริกรรมนิมิตเท่านั้น ซึ่งเป็น
    หน้าที่โดยตรงของผู้ปฏิบัติที่จะต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่า
    ขณะใดควรใช้ และขณะใดไม่ต้องใช้ หรืออาจกล่าวได้อีกอย่าง
    หนึ่งว่า บริกรรมภาวนานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ตลอดเวลาของ
    การปฏิบัติ แต่การเลือกใช้อย่างเหมาะสม จะให้ประโยชน์ที่ดี
    กว่าอย่างแน่นอน
     
  17. Ratree0424

    Ratree0424 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2014
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +158
    สาธุ ขอบพระคุณค่ะ ในความเมตตา อยาเกไปปฏิธรรมแต่สามีเป็นต่างชาติเขาไม่เข้าใจค่ะและลูกชายปิด
    เทรอมหน้าร้อเนดือนสิงหาคม อาศัยอยู่ต่างประเทศค่ะ ที่นี่มีวัดไทยค่ะได้แต่ไปทําบุญค่ะ ถ้าเปึนเวลาากลางคืนแล้ว ห้ามออกนอกบ้านนะค่ะ จะพยายามหาเวลาส่วนตัวปฏิบัติให้มากขึ้นค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    นอกจากร่วมบุญใหญ่เช่นบุญกฐิน ที่คุณปรารถนาจะทำแล้ว
    หาโอกาสร่วมบุญสร้างสะพาน บุญทำถนนหนทาง บุญนำไฟฟ้าหรือแสงสว่างเข้าวัด ที่สำคัญคือ ให้ขอขมาต่อบุพการีทุกภพชาติในสิ่งที่เคยล่วงเกิน
    ที่ระลึกได้ และระลึกไม่ได้ ทุกกรณี ตั้งใจเด็ดขาดว่า ไม่ทำผิดกับท่านอีกโดยเด็ดขาด (สามารถตั้งจิตขอขมาก่อ่นภาวนาหรือ่ต่อหน้าพระพุทธรูปในวัดได้ครับ กรณี่บางท่านท่านไม่อยู่แล้ว) คำว่าบุพการี นี่หมายถึงพ่อ แม่ ผู้มีบุญคุณทุกท่าน และขอขมาพระรัตนตรัยด้วยครับ

    เรื่องการภาวนา เดี๋ยวค่อยคุยกันต่อท่หลัง


    ขออภัยหากผิดพลาดทุกกรณี โมทนาสาธุครับ
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    โมทนากับบุญกุศลที่คุณทำ และตั้งใจทำต่อไป
    อย่าท้อนะครับ มีเหตุบางอย่าง ก็ค่อยๆปรับแก้ไป
    ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แม้อยู่ห่างไกลก็ประเสริฐแล้วครับ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,525
    จากอิสลาม เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด-----(จีรภา เศวตนันท์)

    เดิมทีข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมาก่อน ไม่เคยศรัทธา ไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิ ก็คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรียกว่า ถ้าเอ่ยกันถึงคำว่า “พุทธ” จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบเอาเสียจริงๆ

    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเคยได้รับคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน มีแต่เพียงคำสอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ตายไปนานแล้ว ใครจะรู้ได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นการกราบไหว้บูชารูปปั้นนั้น มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเอง แล้วก็โมเมเอาว่านี่แหละคือพระพุทธเจ้า บูชากันไปบูชากันมา ดีไม่ดีกลายเป็นพวกผีไม่มีญาติเข้าไปสิง จะกลับให้โทษเสียอีก หรือถ้าบูชาไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้คนในครอบครัวมีอันเป็นไป

    แล้วเรื่องการทำสมาธิอีกอย่าง อย่าให้นั่งเด็ดขาด จะทำให้เป็นบ้าไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อนั่งๆ ไป จะต้องเห็นผีสางต่างๆ นานา ที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวเช่นนี้เพราะรู้ว่าเด็กๆ ทุกคนย่อมกลัวผีเป็นธรรมดา เรียกว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เขาจะต้องต่อต้านทุกเรื่องไป

    ที่ว่าไม่ได้นับถือพุทธ คือบิดาเป็นคริสตัง มารดาเป็นมุสลิม แต่บิดาเสียไปในขณะที่มารดาตั้งท้องข้าพเจ้าได้ 2-3 เดือน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนับถืออิสลามตามแม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด ในครอบครัวชาวมุสลิมเขาจะเคร่งครัดในศาสนามาก การวางตัวในสังคมก็มีขีดจำกัดไปเสียทุกอย่าง แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้สามีเป็นชาวพุทธ แถมยังชอบและสนใจในเรื่องปฏิบัติธรรมเสียอีก

    วันหนึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ซื้อหนังสือที่กล่าวถึง “ธรรมกาย” ของหลวงพ่อสด ซึ่งมีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่าน อ่านแล้วก็คุยกันตามประสาสามี-ภรรยา เรามีความเห็นว่า เท่าที่ได้อ่านและถามๆ คนอื่นดู ก็รู้สึกว่า ธรรมกายนั้นถ้าจะปฏิบัติไม่ใช่ของง่ายๆ เคยมีคนเขาบอกว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) เขามีสอนอยู่ จะชวนข้าพเจ้าไป ก็บอกแล้วว่าไม่ชอบวิชานี้ เราไม่ไป เขาก็ [จึง] ไม่ไป เป็นอันจบ

    หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้ฝันว่า หลวงปู่ทวดท่านมาชวนว่า ให้จับมือท่านไว้ จะพาไปพบ“หลวงพ่อสด” ที่พระนิพพาน ในฝันว่าลอยไปอย่างสบายเลย คำแรกที่หลวงพ่อสดท่านพูดกับข้าพเจ้าก็คือ “เราชื่อสด จะมาฝึกธรรมกายไหม ?” ในฝันก็ตอบท่านไปว่า “ไม่ฝึก” เพราะเคยอ่านหนังสือเลยรู้สึกยาก ท่านก็ไม่พูดอะไร ทำหน้าเฉยๆ เมื่อตื่นขึ้นก็เล่าให้สามีฟัง เขารีบบอกทันทีว่าเป็นนิมิตที่ดี ในที่สุดก็ขัดคำชวนที่จะไปวัดสระเกศไม่ได้ เรื่องวัดเรื่องวาก็ไม่เคยจะรู้ธรรมเนียมเท่าไรนัก รับศีลก็ไม่เป็น ต้องเอาหนังสือของวัดมาดูเวลาที่เขารับศีล วุ่นวายอยู่เป็นเดือน แม้แต่ปัจจุบัน การสวดมนต์ทำวัตรก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรนัก อาศัยฟังบ่อยๆ ก็ชักชินหู

    การฝึกปฏิบัติธรรมในวันแรก ก็แยกกลุ่ม วิทยากรเขาแนะนำให้กำหนดดวงแก้วกลมใส ประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ เริ่มจากช่องจมูกซ้าย ว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” แล้วเลื่อนดวงแก้วไปตามฐานต่างๆ จนถึงฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ให้จรดใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงแก้วกลมใสนั้น แล้วกำหนดจุดเล็กใสขึ้นที่ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส เขาให้ทำอะไรก็ทำตามไป ไม่ได้คิดอะไร ครั้นเมื่อนิ่งถูกส่วนเข้า วิชชาก็เริ่มเดิน* [คำว่า “เดิน” ในที่นี้ หมายถึง “เจริญ” กล่าวคือ เจริญภาวนาหรือเจริญวิชชา] จากดวงปฐมมรรคเข้าสู่กายธรรม กายในกาย ณ ภายใน เริ่มโตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ตายแล้ว อะไรกันนี่ ! จิตใจเริ่มสับสน เมื่อใจไม่จรดศูนย์ วิชชาก็หยุดเดิน* เมื่อคลายจากสมาธิ วิทยากรถามว่า เห็นดวงแก้วแจ่มใสไหม ? เลยตอบว่า “แจ่มใสดีค่ะ"

    อาทิตย์ต่อมาก็ได้ 18 กาย กับพระวิทยากร จึงรู้ว่า เป็นอย่างที่เราทำได้ถึงในคราวก่อน เลยเสียท่าไปแล้ว เมื่อพระท่านสอนเสร็จ ก็มีการซักถามกันพอสมควร ว่าทำไมกายพระคือเรานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ท่านก็ให้ความกระจ่างดี จึงเริ่มเข้าใจขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ชักเริ่มสนุก แต่ยังคิดไม่ถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อไปอีก เพียงแต่พระวิทยากรท่านว่า ต่อไปนี้อย่าให้เสียท่าอีกนะ ให้ปล่อยใจหยุดนิ่งไปตามญาณวิถี ในที่สุดก็ได้ต่อวิชชาชั้นสูงกับหลวงพ่อเสริมชัย แต่ก่อนที่จะได้ฝึกกับท่าน ได้ทำสมาธิ เดิน 18 กาย ซ้อนสับทับทวีที่บ้าน ก่อนจะคลายจากสมาธิ ก็หยุดตรึกนิ่งไปที่จุดสุดท้ายของการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็น ตามที่พระวิทยากรท่านสอน ก็มีเสียงก้องกังวานขึ้นว่า “วันข้างหน้าจะต้องพบกับอาจารย์ที่มีสายสัมพันธ์กันในอดีต เขาผู้นี้จะรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง และจะเป็นผู้ให้วิชชาทั้งหมดแก่เรา"

    ต่อมาจึงได้รับการฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงป๋า [หมายถึง พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ซึ่งผู้เขียนมีความเคารพเสมือนบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางธรรม] ในการฝึกวิชชาชั้นสูง นับตั้งแต่เริ่มพิสดารกาย เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ คำสอนต่างๆ ของหลวงป๋าในวิชชาชั้นสูงนั้นไม่เคยได้ยินมาก่อน ดังนั้นเมื่อเจริญภาวนาเสร็จแต่ละครั้ง ต้องคอยถามว่าจุดนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นใช่ไหม ? ตามปกติเป็นคนไม่ค่อยกล้า แต่ก็กลัวจะทำผิดจากวิชชาของท่าน จึงจำเป็นต้องรายงานผลการปฏิบัติให้ท่านทราบตลอดเวลา ประกอบกับหลวงป๋าท่านมีเมตตา เอาใจใส่กับลูกศิษย์ ในที่สุดก็เข้าถึงต้นธาตุต้นธรรม ... เราทำผิดท่านก็ไม่เคยว่า ยิ่งทำให้เรามีกำลังใจและเกิดความอบอุ่น

    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงป๋าท่านเรียกมานั่งข้างหน้าเพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติ ... ก็พอดีศาลาข้างๆ มีงานศพเป็นคนจีน หูเราก็บังเอิญได้ยินเป็นเสียงสวดมนต์ ไปแวบคิดว่าสวดอย่างนี้เขาเรียกว่าสวดกงเต็กหรือเปล่า ? เสียงหลวงป๋าพูดทันที “ให้มานั่งสมาธิ ไม่ใช่มาคิดนอกเรื่อง” ไม่ใช่ครั้งนี้ที่ท่านคอยเตือน ตลอดเวลาที่เจริญภาวนากับท่าน จะได้ยินคำเตือนเสมอ เมื่อจิตไม่ตกศูนย์ นี่แสดงว่าตลอดเวลาท่านจะคอยประคับประคองจิตของเราให้หยุดให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องของวิชชา ท่านไม่เคยหวงใคร รับได้เท่าไร ตามสภาพภูมิธรรม ท่านก็เปิดให้หมด

    ในที่สุดเราก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานในพระนิพพาน เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วนของต้นๆ ... ได้รู้ซึ้งถึงพลังและอานุภาพของธรรมกาย โดยการมุ่งเข้าสู่เขตธาตุเขตธรรมต่อๆ ไปเป็นทับทวี โดยไม่ถอยหลังกลับ ... หลวงพ่อสดก็ผุดขึ้นพร้อมกับเสียงก้องกังวานมาทันทีว่า “ตนนั้นต้องทำให้วิชชาธรรมกายให้เป็นวิชชาที่ไม่ตาย ความหมายก็คือ ให้ทำวิชชาเป็นอยู่ตลอดเวลา และต้องเผยแพร่ต่อๆ ไปด้วย ข้อสำคัญ ต้องรวมธาตุธรรมของศาสนาทุกศาสนา ทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกองค์ ทุกวงศ์ มากลั่น และละลายธาตุธรรมนั้น ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์จนหมดธาตุธรรมภาคดำและกลางๆ และให้เป็นแต่ธรรมกายที่เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ไม่มีคำว่า สี สาย นิกาย ฯลฯ ต่อไป ตั้งแต่มนุษย์โลกขึ้นไปจนถึงจักรวาลในจักรวาลต่อๆ ไป แต่จงจำไว้ จำทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิชชารบหรือการสะสางธาตุธรรม ฯลฯ จะต้องใช้เมตตาพรหมวิหารเป็นที่ตั้ง อย่าทำด้วยความรุนแรง (ด้วยกิเลส) และขาดสติ แล้วจะประสบผลสำเร็จ"

    ดังนั้นเมื่อต้องทำวิชชารบกับมารทีไร ถ้าจิตคิดว่าต้องเอาชนะให้ได้ เสียงของหลวงพ่อสดจะดังก้องขึ้นมาทันทีว่า“จงใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง ทำเช่นนั้นไม่ถูก” จิตที่กล้าแข็งก็เริ่มอ่อนโยนลงทันที ใจก็คิดว่า การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ด้วยความอาฆาต ก็น่าแปลก ฝ่ายมารเขาจะเริ่มถอยวิชชาของเขาออกไปทีละน้อย แต่เราต้องคิดเสมอว่าต้องไม่ประมาท โดยเราต้องทำวิชชาให้นำหน้าเขาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะถูกภาคมารเขาสอดเข้ามาในสุดละเอียดของเราได้

    ฝึกเดินวิชชาอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็มีการอบรมพระกัมมัฏฐานที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในเดือนธันวาคม หลวงป๋าก็ชวนให้ไปที่ดำเนินสะดวก เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ไปยืนอยู่ข้างๆ ศาลาอเนกประสงค์ หันหน้าไปทางซ้ายมือ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่รอบเกาะ รู้สึกว่าลมเย็นสบายดี จึงยืนทำวิชชาเข้าสุดละเอียดไปเรื่อยๆ เมื่อหยุดตรึกนิ่งก็เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมาจากกลางบ่อนั้น จึงสอบถามคนที่นั่นว่า ตรงนั้นเขาจะสร้างอะไรหรือ ? ต่อไปบริเวณเกาะนั้นจะเป็นวิหารธรรมกาย ต่อไปเมื่อเป็นวัด จะยกฐานะขึ้นไปอุโบสถ พอรู้เช่นนั้น ความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกเกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุไรเหมือนกัน

    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ (รุ่นที่ 11) คราวนั้นหลวงป๋าท่านเมตตาอนุญาตให้เป็นวิทยากรสอนโยมเป็นครั้งแรก พูดก็ไม่เป็น ยังเขินๆ อยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร รู้สึกกลัวไปเสียหมด ทีกลัวเพราะว่า กลัวจะพูดไม่เข้าใจ แล้วก็กลัวเขาจะว่า สอนเขาแล้วตัวเองรู้หรือเปล่าว่าเขาเห็นจริงหรือไม่ หันไปหันมา ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเข้าไปในธาตุธรรมของหลวงพ่อสด สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นท่านเลย ก็น่าแปลก ความประหม่าหายไปหมด กลับมีพลังอะไรไม่รู้เกิดขึ้น คือมีความคิดว่าจะต้องทำตัวเราให้ใส สักครู่เป็นการตั้งสติไปในตัว พอเริ่มสอน ระหว่างที่พูดก็เอาธาตุธรรมของแต่ละคนมาซ้อนในที่สุดละเอียดของเรา ตอนนั้นมีลูกศิษย์อยู่ 4-5 คนเห็นจะได้ ก็เห็นทันทีว่าแต่ละคนเขาทำได้แค่ไหน สอนเสร็จคลายจากสมาธิ ก็ยังไม่เชื่อตัวเองอีก จึงทดสอบตัวเอง โดยการสอบถามทีละคนตามสภาพภูมิธรรมของแต่ละคน ปรากฏว่าถูกต้องหมด ก็เกรงว่า นี่เราทำอะไรโดยพลการหรือเปล่าหนอ ? จึงรีบกราบเรียนหลวงป๋า ท่านกลับไม่ว่าอะไร แถมยังแนะนำเคล็ดลับวิชชาครูเพิ่มให้อีก แล้วยังสอนให้เดินเครื่องธาตุเครื่องธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ผู้ที่ทำวิชชาฝืดๆ เพื่อที่เขาจะได้เดินวิชชาอย่างแจ่มใสโดยตลอดอีกด้วย ความรู้ในเรื่องวิชชาเริ่มได้รับจากท่านเป็นระยะๆ อย่างไม่เคยหวงวิชชาเลย บุญคุณอันนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าจะบรรยายออกมาด้วยคำพูดได้

    ทีนี้ ขอย้อนกล่าวถึงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกครั้งที่มีการอบรมเยาวชนก็ดี อบรมพระก็ดี จะเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม อรูปพรหม เต็มท้องฟ้าไปหมด เรียกว่า สว่างไสวไปทั่วทั้งสถาบันเลย เขาคงมาเป็นกำลังใจอนุโมทนากับเหล่าพุทธบริษัทที่มาอบรมกันตลอดเวลา สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นมีพญานาคองค์มหึมาคอยอำนวยความสะดวกให้ คือพอเริ่มนั่งสมาธิทีไร จะเป็นการสอนหรือทำวิชชาก็ดี เขาจะมาขดเป็นอาสนะเหมือนปางนาคปรกให้เราสบายดีอีกด้วย นี่ที่สถาบันฯ นะ ต่อพอกลับกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมตามมาด้วยหรอก น่าเสียดาย เพราะเวลาเขาให้เรานั่ง รู้สึกสบายบอกไม่ถูก จึงกราบเรียนเล่าให้หลวงป๋าฟัง ท่านบอกว่าเป็นของประจำอยู่ที่สถาบัน ช่วยดูแลสถาบันฯ ของเรา ก็ไม่น่าแปลกอะไรนี่ เพราะตลอดเวลาที่ทำวิชชากับท่าน จะเห็นประจำอยู่แล้ว ว่าพลังและอำนาจของบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ของท่านมหาศาลขนาดไหน ใครอยากรู้ลองแอบดูเอาเอง ถ้าจิตเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดและเป็นสายธาตุธรรมเดียวกันคือสายขาว ก็จะเห็นตามที่เป็นจริงได้ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของวิชชา แต่อย่าลืมนะ ก่อนจะทำอะไรควรนึกขอขมาท่านเสียก่อนด้วย เพราะครูบาอาจารย์เป็นของสูง

    เมื่อตัวเองนี้ได้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น เช่นนี้แล้ว ก็รู้สึกเป็นห่วงท่านทั้งหลายที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเลย เพราะทุกลมหายใจเข้าออกนั้นมีค่าเสียเหลือเกิน มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีลอย่างน้อยศีล 5 เราไม่บกพร่อง ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกายก็ไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น ที่ว่ายากนั่นก็เพราะเราไม่หยุดจริงนั่งเอง ถ้าจิตของเราหยุดนิ่งจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้นจะรู้ได้ทันทีว่า วิชชาไม่มีสิ้นสุด คือเราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดขององค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้เรื่อยๆ ถ้าท่านทำได้จะรู้สึกว่าการเจริญภาวนานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติทั้งฝ่ายพระและฝ่ายมารในตัวเรานี้แหละได้ดี อย่างที่ท่านไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย เป็นธรรมวิจยะ ให้สามารถแยกธาตุธรรมภาคพระ (ธรรมขาว) ภาคมาร (ธรรมดำ) ภายในตัวเราเองได้ แล้วเก็บธาตุธรรมภาคมาร (ธรรมดำ) เสีย ให้เหลือแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของฝ่ายพระ (ธรรมขาว) เป็นเราได้ มีผลให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ ตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบแต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงละธรรมดำเสีย พึงยังธรรมขาวให้เจริญ [สํ.มหา.19/28] เพราะว่าการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนฝ่ายพระหรือธรรมขาวนั้น ให้เป็นสุขด้วยความสงบดีนัก.

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 สิงหาคม 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...