สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ....................................

    ภาพวิดิโอ ลักษณะแตะใจเข้ากลางดวงฯ กลางของกลาง หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มขยายว่างออกไป ดวงใหม่จะขยายขึ้นมาจากศูนย์กลาง

    --------------------------

    บันทึกการเจริญวิชชาฯรูปแบบหนึ่ง ของกลุ่มศิษย์คณะหนึ่ง บันทึกเพื่อมิให้สูญหาย

    -------------------------

    การคำนวณวิชชาพระปริตร

    ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย
    ขอความเจริญในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จงบังเกิดมีแก่ท่านสาธุชนทุกท่าน
    พระปริตรใดๆ อันเราสวดแล้วเพื่อประโยชน์แก่มงคลแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    และอานุภาพแห่งพระปริตรนั้นๆ ขอความสวัสดีจงมีแด่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
    จงเป็นผู้ไม่มีภัย ไม่มีทุกข์ ไม่มีอุปัทวะแห่งกรรมทั้งหลายอันหาโทษมิได้
    อนึ่งกรรมอันมีโทษอย่ามาพ้องพานสัตว์เหล่านั้น
    ขอคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อันแสดงมรรคาแก่สัตว์ผู้มีโสตวิญญาณธาตุ เพื่อความหมดจดแก่สัตว์
    จงดำรงอยู่ในโลกจวบสิ้นกาลนานเทอญ

    ต่อแต่นี้ไปให้ท่านสาธุชนทั้งหลาย นั่งขัดสมาธิกันนั่งเอาเท้าขวาวางทับเท้าซ้าย
    เอามือขวาวางทับมือซ้าย ให้ปลายนิ้วชี้มือด้านขวาจรดหัวแม่มือด้านซ้าย
    แล้วตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น ตั้งใจของเราให้ดีกลั่นใจของเราให้ใส
    นึกศูนย์กลางกายของเราให้ใสบริสุทธิ์ นึกให้สว่าง และน้อมใจของเราไปตั้งไว้
    ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือขึ้นมาประมาณ 2 นิ้ว ตั้งใจของเราให้แน่วแน่
    ตั้งใจของเราให้มั่นคง ต่อแต่นี้เป็นต้นไปเป็นการเดินวิชชาธรรมกายพระปริตร
    กลั่นกาย กลั่นธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ พร้อมทั้งภาคผู้เลี้ยงรัตนะ 7
    จักรพรรดิ์ที่หล่อเลี้ยงทุก ๆ กาย และเหล่ากายสิทธิ์ทั้งหมด
    ที่ใช้ร่วมในการเดินวิชชา ให้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งปลายธาตุ กลางธาตุ
    ต้นธาตุพระนิพพาน ทุกดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา
    ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสนะ ตลอดสุดหยาบสุดละเอียด
    เถา ชุด ชั้น ตอน รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นับเป็นหนึ่งกาย
    แล้วทับทวีต่อไปจนนับอสงไขยไม่ถ้วน ตลอดธาตุ ตลอดธรรม
    เครื่องธาตุ เครื่องธรรม คำนวณเป็นหนึ่งแล้วทับทวีเข้าไปอีก ทั้งผู้สอด ผู้ส่ง
    ผู้บังคับ ผู้ปกครองย่อย ผู้ปกครองใหญ่ เซฟทะเล เหตุทะเล
    จนตลอดทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกวงศ์ ทุกองค์
    สุดหยาบ สุดละเอียด นับอสงขัยชั้นตอนเข้าไปไม่ถ้วน

    ผ่านเหตุ 19 เข้าไปนับชั้นตอนไม่ถ้วน จนเข้าถึงธาตุธรรมล้วน ผังล้วน
    ทับทวีให้เป็นวิชชาเป็น หนักเข้าไปอีกเป็นธาตุเป็น ธรรมเป็น ผังเป็นกายเป็น
    เข้าไปถึงธาตุเดิม ผังเดิม กายเดิม จนถึงต้นธาตุที่แก่ไกล
    จนเข้าไปสุดต้นไม่มีต้นต่อไป ซ้อนเข้าไปในเครื่องรวมใหญ่ในที่สุดรู้ สุดญาณ
    สุดรู้ของตรัสรู้ ในนิโรธของต้นธาตุ แล้วเดินทับทวีเข้าไปให้ถึงหัวใจเครื่อง
    เข้าไปให้ถึงอาญาสิทธิเฉียบขาดของหัวใจเครื่อง ให้สนิทเป็นอันเดียวกับเรา

    การที่จะซ้อนเข้าไปถึง อาญาสิทธิเฉียบขาดของหัวใจเครื่องได้นั้น
    จิตจะประกอบไปด้วยมรรคผล สะอาดด้วยธรรมที่เป็นกุศล ที่คลาดเคลื่อน
    จะนำอำนาจสิทธิความสำเร็จมาใช้ให้เกิดความศักดิ์สิทธิของวิชชาได้
    ถ้าเดินกลั่นกายกลั่นธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ จิตวิญญาณของตนยังไม่สะอาดพอ
    ก็จะถูกมารร้อยไส้ปนเป็นอยู่ในจิต มีความเป็นมิจฉาทิฐิ
    ใจยังประกอบด้วยอกุศล ยังไม่บริสุทธิด้วยศีล สมาธิ และปัญญาแล้ว
    ห้ามเดินวิชชานี้เด็ดขาดเพราะเครื่องจะทำการเซฟ ย่อยแยกธาตุธรรมทันที

    เมื่อซ้อนสนิทเป็นอันเดียวกับหัวใจเครื่องได้แล้ว
    ในกลางว่างกำเนิดของหัวใจเครื่อง ก็จะมีดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ
    ดวงปัญญา ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสนะ กลางดวงวิมุติญาณทัสนะเรา
    ก็จะพบองค์ต้นธาตุต้นธรรม ทั้งอายตนะล้วนทั้งลับ ทั้งเปิดเผย เราก็ซ้อนเข้าไป
    ในสุดรู้สุดญาณของพระองค์ จนถึงเครื่องรวมใหญ่ของพระนิพพาน
    เราจะเห็นถึงกายร้อยรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ขีณาสพเจ้าทั้งหลาย
    พร้อมทั้งภาคผู้เลี้ยงจักรพรรดิ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต
    ว่ามิได้แยกออกจากกันเลย มิได้คลาดเคลื่อนออกจากกันเลย
    รู้ญาณก็เป็นหนึ่งเดียวกันหมด ตลอดจนธาตุธรรม บารมี รัศมี
    กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ความตรัสรู้
    และทุกสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกันหมด นี่เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดี จงมีแด่เราธาตุธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    เราก็เดินนิโรธในสมาบัติ สมาบัติในนิโรธ จากหยาบไปหาละเอียด
    ผ่านเหตุ 19 เข้าไปนับอสงขัยชั้นตอนเข้าไปไม่ถ้วน จนถึงอมฤตธรรม
    อันเป็นธรรมที่ประกอบขึ้น ให้เป็นพระนิพพานและอายาตนะนิพพาน
    อันจะหาสิ่งใดเสมอเหมือนพระนิพพานไม่มี เมื่อรู้ญาณของเรา
    สลักเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับอมฤตธรรมนั้น ให้เป็นหนังธรรม เนื้อธรรม
    กระดูกธรรม และพลิกรู้ พลิกญาณ เข้าไปในกลางรู้กลางญาณ ของเรา
    เดินนิโรธสมาบัติในรู้ในญาณเข้าไปอีก จนเกิดปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    ของมรรคผลที่แท้จริง ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียวขึ้นมา
    นี่เป็นสมาธิธรรมที่สะอาด บริสุทธิ์ หมดจด
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
    อันจะหาสมาธิใดมาเสมอเหมือนมิได้ นี่เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    เมื่อเดินถึงมรรคจิต มรรคปัญญาแล้ว เราก็ต่อมรรคผลเข้าไปอีก
    คือเดินเข้าไปสู่โคตรภู โสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหัตต์
    ทั้งหยาบทั้งละเอียด ในกลางว่างของมรรคผลที่สุดละเอียดของมรรคผล
    ที่เราเดินต่อเข้ามานี้ ก็จะมีดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุติ
    ดวงวิมุติญาณทัสนะ ที่ประกอบขึ้นให้เป็นมรรคผลนิพพาน
    เราก็สลักเข้าไปในกลางว่าง ของมรรคผลเข้าไปสุดละเอียด
    จนถึงหัวแก๊สเซฟทะเล เหตุทะเล วิชชามรรคผลจึงจะพบหัวใจเครื่อง
    ที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์ความเฉียบขาดของหัวใจเครื่อง
    นี่แหละที่ส่งผลให้เกิดบุญศักดิ์สิทธิ์ความสำเร็จในปัจจุบัน

    ผู้ใดได้ถวายทานแก่พระอริยะบุคคล ย่อมได้บุญใหญ่ อานิสงส์ใหญ่
    เพราะเครื่องนี้เป็นผู้ประกอบเหตุแล้วก็ซ้อนเดินเข้าไปในกลางหัวใจเครื่อง
    เข้าไปถึงธาตุธรรมที่ประกอบขึ้น ให้เป็นหัวใจเครื่อง
    เป็นธาตุธรรมของมรรคผลล้วน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ล้วนๆ
    แล้วเอาธาตุธรรมเป็นสมาบัติ ธรรมเป็นกสิน
    แล้วเดินสมาบัติในกสิน ชำระมณทินแห่งองค์กสินให้บริสุทธิ์
    กำลังของสมาบัติแนบแน่นแล้วให้กำลังของสมาบัติและองค์กสินนี้
    เป็นเครื่องต่อรู้ต่อญาณเข้าไปอีกเข้าไปในเครื่องธาตุเครื่องธรรม
    เขตธาตุ เขตธรรม ของวิชชามรรคผล ทรงเป็นบุปเพนิวาสานุสติญาณ
    จุโตปาตญาณ สู่หัวใจเซฟทะเล เหตุทะเล
    เป็นสถานที่เก็บเหตุแห่งการทำบุญศักดิ์สิทธิ์
    ผู้ใดบำเพ็ญบุญบารมีไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    พระอรหันต์ขีณาสพเจ้าทั้งหลาย บุคคลใดนานมาแล้วสักเท่าไร
    มีอานิสงส์มากนักสักเท่าไร กี่อสงไขยกัป เราก็เดินซ้อนเครื่องรวมใหญ่
    ในเครื่องรวมใหญ่รวมซ้อนเอาบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้น
    เข้ามาเป็นจุดเดียวกันทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต แล้วอนุโมทนาบุญบารมี
    ทั้งหลายเหล่านั้นกลั่นให้เป็นบุญศักดิ์สิทธิ์ นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระสงฆ์
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    เมื่อสุดละเอียดแล้วซ้อนในยากออกมาให้เห็นตลอดคือการสแกนเนอร์
    ภพน้อย ภพใหญ่ ภพลับ ภพเปิดเผย นิพพาน ภพสาม ภพโลกันต์ ขันธ์โลก
    โลกทั้งหมดมีมากน้อยเท่าไร เซฟ ปราสาท เขตธาตุ เขตธรรม
    ตลอดจนแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลทั้ง 10 ทิศ
    ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ผู้ปกครองในเครื่องรวมย่อย
    ผู้ปกครองในเครื่องรวมใหญ่ จักรวาลผู้หล่อเลี้ยงรักษาเหล่ากายสิทธิทั้งหลาย
    ทั้งภพสาม อรูปภพ มนุษย์ เปรต อสูรกาย สัตว์โลกของเหล่าประเทศชาติ
    ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เมฆ หมอก ลม ฤดูกาล หนาว ร้อน ไม่หนาว ไม่ร้อน
    ท้องฟ้า แสงสว่าง เหตุว่าง ดวงปกครองทั้งหมดเครื่องไขขึ้นไขลง
    ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเจริญ ความเสื่อมถอยต่างๆ
    เดินเครื่องให้รวมเป็นจุดเดียวกันแล้วกลั่นแยกธาตุธรรม เก็บวินาศด้วยธาตุ 6
    ตั้งเซฟไว้รอบตัวกลั่นให้สะอาดชัดใส เข้าไปเป็นลำดับ ด้วยเหตุแห่งอริยสัจ 4
    เข้าสู่เครื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นอาการของธาตุธรรมทั้งหมดว่า
    ประกอบด้วย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด กระด้าง และนุ่มนวล

    ศูนย์หน้าธาตุน้ำมีกำลังเครื่อง 32 อสงไขย
    ขวาธาตุดินมีกำลังเครื่อง 8 อสงไขย
    หลังธาตุไฟมีกำลังเครื่อง 16 อสงไขย
    ซ้ายธาตุลมมีกำลังเครื่อง 4 อสงไขย
    กลางอากาศธาตุมีกำลังเครื่อง 48 อสงไขย
    รวมเป็น 108 อสงไขย

    วิญญาณธาตุมีกำลังเครื่องประมาณมิได้ นี่คือส่วนของธาตุธรรมเป็น
    ในส่วนของธาตุธรรมตายนั้น ในธาตุธรรมตายมีธาตุธรรมเป็น
    ตลอดสุดหยาบ สุดละเอียด เราต้องเดินธาตุธรรมเป็น ธาตุธรรมตายทั้งหมด
    กลั่นผ่านเข้าไปในอริยสัจ 4 ค้นหาให้พบว่าเขาส่งกัปป์วินาศ เหตุวิบัติ
    บาปศักดิ์สิทธิ์ เข้ามาไว้ในที่ใด เขาส่งธาตุธรรมเข้ามาร้อยไส้
    ปนเป็นไว้ ณ จุดตำแหน่งใด ส่งวิชามารสกัดขัดขวาง
    สายบุญ สายสมบัติ คุณสมบัติ ตลอดจน บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์
    บุญศักดิ์สิทธิ์ อำนาจสิทธิ สิทธิเฉียบขาด
    ทั้งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
    ค้นหาให้พบเก็บกินละลายให้หมดให้สะอาดชัดใส ด้วยวิชามรรคผล
    ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระสงฆ์
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    ธาตุธรรมทั้งหมดตกศูนย์ เข้าสู่ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    ประกอบขึ้นเป็นดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุติ
    และดวงวิมุติญาณทัสนะ เข้าสู่โสดาปัติมรรค โสดาปัติผล
    แล้วเอาญาณของพระโสดาเจริญอริยสัจ 4 ทำมรรคผลเข้าไปอีกเข้าไป
    ทำลายสังโยชน์ 3 ในธาตุในธรรมของอากาศโลก ขันธโลก โลกจนตกศูนย์
    เกิดเป็นกายพระสกิทาคามีทั้งหยาบทั้งละเอียด
    เอาญาณพระสกิทาคามีเจริญอริยสัจ 4 ทำมรรคผลเข้าไปอีกเข้าไป
    ทำลายกามราคา ปฏิฆะในธาตุในธรรมของอากาศโลก ขันธโลก โลกจนตกศูนย์
    เกิดเป็นกายพระอนาคามีทั้งหยาบ ทั้งละเอียด แล้วเอาญาณของพระอนาคามี
    เจริญอริยสัจ 4 ทำมรรคผลเข้าไปอีกเข้าไปทำลาย รูปราคะ อรูปราคะ
    มานะ อุทจะ อวิชชา ในธาตุในธรรมของอากาศโลก ขันธโลก
    สัตว์โลก จนตกศูนย์ เกิดเป็นกายพระอรหัตน์ทั้งหยาบทั้งละเอียด

    นี่เป็นการเจริญมรรคผลเพื่อยกธาตุธรรมของฝ่ายบุญของเราให้สูงขึ้น
    เป็นการตั้งธาตุธรรมใหม่ด้วยวิชชามรรคผล ทับทวีเข้าไปเรื่อยๆ
    จนศาสนจักร อาณาจักร พุทธจักร ของเราพ้นจากเหตุวิบัติ
    บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคา พยาธิต่างๆ
    ภัยเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง ภัยจากมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้
    นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระสงฆ์
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    แล้วก็ต่อแว่น ต่อกล้อง ต่อญาณ ต่อนิโรธ ต่อมรรคผลนิพพานเข้าไปอีก
    จนสะอาดเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ผังล้วน กายล้วน เป็นฝ่ายบุญล้วนๆ
    เอาธาตุธรรมที่สะอาดล้วนๆ นี้ประกอบเข้าในเครื่องธาตุ เครื่องธรรม
    หล่อเลี้ยงด้วยบุญศักดิ์สิทธิ์ เดินเครื่องทับทวี
    ประกอบเครื่องเป็นดวงปฐมมรรค ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา
    ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสนะ ของประเทศชาติ ศาสนา
    ของกามภพ รูปภพ อรูปภพ มนุษย์ เปรต อสูรกาย
    สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เมฆ หมอก ลม ฝน หนาว ร้อน
    ไม่หนาว ไม่ร้อน ฤดูกาลต่างๆ ท้องฟ้า แสงสว่าง เหตุว่าง ดวงปกครอง
    ในเครื่องไขขึ้น ไขลง ตลอดทั้งภพน้อยภพใหญ่ นิพพาน ภพสาม โลกันต์
    เซฟ ปราสาท เครื่องเขตธาตุ เขตธรรม ตลอดทั้งแสนโกฎิจักรวาล อนันตจักรวาล
    ทั้งอากาศโลก ขันธโลก สัตว์โลก ทั้งผู้สอด ผู้สั่ง ผู้ส่ง ผู้บังคับ ผู้ปกครองย่อย
    ผู้ปกครองใหญ่ เครื่องหัวใจเซฟทะเล เหตุทะเลทั้งหมด

    แล้วต่อมรรคผลพิศดารมรรคผลเข้าไปอีก ต่อแว่น ต่อกล้อง ต่อญาณ ต่อนิโรธ
    เข้าไปอีก ทับทวีซ้ำๆ เข้าไปจนเป็นวิชชาเป็น เป็นธาตุเป็น ธรรมเป็น
    ผังเป็น กายเป็น ทับทวีเข้าไปจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ
    ธาตุเดิม ธรรมเดิม ผังเดิม กายเดิม ต้นธาตุที่แก่ๆ
    แล้วซ้อนทับทวีเข้าไปในต้นธาตุในต้น ในต้น จนไม่มีต้นต่อไป
    ซ้อนเข้าไปในเครื่องอาญาสิทธิเฉียบขาด ขององค์ต้นธาตุพระศาสนา
    ศูนย์เครื่องรวมใหญ่ของพระนิพพาน ดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา
    ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสนะ เข้าสู่เครื่องปกครองธาตุธรรม
    ทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ อาราธนาพระองค์ ให้ทรงความศักดิ์สิทธิ์
    หล่อเลี้ยง เป็นอยู่ มาหล่อเลี้ยง รักษา ไม่ซ้ำธาตุ ซ้ำธรรม
    ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นรบ เป็นตรวจงาน
    ผ่านเข้าเหตุ 19 ทับทวีให้สิ้นสุดจนสะอาดชัดใส เครื่องธาตุ เครื่องธรรม
    ทั้งหมดเร็วแรงเต็มที่ นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระพุทธเจ้า
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรม ทั้งหลาย ทั้งปวง

    แล้วส่งกำลัง ของพระธรรมขันธ์ทั้ง 84,000 นี้ผ่านตลอดทั้งผู้สอด ผู้ส่ง
    ผู้บังคับ ผู้ปกครองย่อย ผู้ปกครองใหญ่ อากาศโลก ขันธโลก สัตว์โลกทั้งหลาย
    คำนวณรวมเป็นหนึ่งเดียวกันหมดให้สะอาดชัดใส เหมือนกันหมด
    นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระธรรม
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง

    แล้วทับทวีต่อไปไม่หยุดจนเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ปราณียธาตุ ปราณียธรรม
    เป็นธาตุธรรมที่สะอาดหมดจด ปราณีตของพระนิพพาน
    ทั้งพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่เป็นรัตนะอันปราณีตในพระสงฆ์
    ด้วยความสัจนี้ขอความสวัสดีจงมีแด่เหล่าธาตุธรรม ทั้งหลาย ทั้งปวง

    ด้วยอานุภาพ แห่งการเจริญวิชชาธรรมกายพระปริตรนี้
    ขอความสวัสดีจงมีแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย
    ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ไม่มีอุปัทว
    เห็นกรรมทั้งหลายอันหาโทษมิได้ อนึ่งกรรมอันมีโทษ
    อย่ามาพ้องพานสัตว์เหล่านั้น ขอความศักดิ์สิทธิ์แห่งวิชามีอานุภาพ ...........
    ดุจพระอาทิตย์ประชุมกัน 7 ดวง ขึ้นมาในโลกาวินาศ
    มีอานุภาพเหมือนมุ่งเหล็กสามารถป้องกันภัยจากเทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
    มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย มีอานุภาพให้พ้นจากกัปป์วินาศ จากโรคาพยาธิ
    สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้น
    สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง แม้เซลที่ตายก็จะฟื้นคืนชีพ
    อาวุธต่างๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ และสามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
    ด้วยอำนาจแห่งสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย

    ให้ท่านสาธุชนทั้งหลายน้อมใจเข้าศูนย์กลางกาย นึกศูนย์กลางกายให้สะอาด
    ให้สว่าง ให้บริสุทธิ์ กลั่นใจของเราให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ น้อมใจของเรา
    ตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย ให้น้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้า
    ให้น้อมใจนึกถึงพระธรรม ให้น้อมใจนึกถึงพระสงฆ์
    น้อมใจนึกถึงบารมีธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี
    พร้อมทั้งบุญกุศลที่ท่านทั้งหลายได้มาประพฤติ มาปฏิบัติ
    น้อมเข้าไปในศูนย์กลางกายของเรากลั่นให้ใสสะอาดบริสุทธิ์
    บุญที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา เป็นบุญศักดิ์สิทธิ์
    บุญที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาเปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึก
    วันนี้เราได้มาสร้างบุญศักดิ์สิทธิ์ สร้างแก้วสารพัดนึกให้เกิดขึ้นในจิตใจของตน
    เมื่อเรามีบุญศักดิ์สิทธิ์ มีแก้วสารพัดนึกอยู่ในตัวเอง
    ต่อแต่นี้ไปเราจะได้ตั้งจิตอธิษฐาน
    ตั้งความปรารถนาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลพร้อมกัน

    ข้าพเจ้าขอน้อมบุญบารมีที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้กระทำแล้วในวันนี้
    ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
    ให้คุณครูอุปัชฌา อาจารย์ คุณมารดา บิดา เจ้าที่นายทาง
    เทวดาอารักษ์ ศัตรู หมู่มาร ญาติพี่น้องและท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ
    ข้าราชบริพารทั้งหลาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งสิ้นเถิด
    รวมทั้งตัวของข้าพเจ้าเองด้วย ขอให้พ้นจากภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ
    กิเลส อวิชชา เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
    (ขอให้ได้ศึกษาสมถะกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน และวิชชาธรรมกายได้สำเร็จ)
    ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้
    ให้ได้แต่มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
    ให้ได้เกิดในฤกษ์สร้างบารมี ในตระกูลสัมมาทิฐิแต่ฝ่ายเดียว
    ให้ได้อำนาจสิทธิ ความสำเร็จกิจทุกประการ

    ท้ายที่สุดนี้ขออาราธนาคุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์
    บารมีธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ อานุภาพของวิชชาธรรมกาย
    พร้อมทั้งบุญกุศลที่เราทั้งหลายได้มาบำเพ็ญให้เป็นไปแล้วในวันนี้
    จงมารวมกันเป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นพลวะ เป็นปัจจัย
    ส่งผลดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย
    ตลอดจนครอบครัวและสัมพันธชน จงเป็นผู้เจริญรุ่งเรือง
    ในพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    (เป็นผู้เข้าถึงซึ่งวิชชาธรรมกาย ผู้ใดเข้าถึงแล้วก็ขอให้เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป)
    แล้วจงเจริญด้วยอายุ ขอให้มีอายุยืนยาวนาน
    วรรณะ ขอให้มีผิวพรรณผุดผ่องใส
    สุขะ ขอให้มีความสุขกายสบายใจ
    พละ ก็ขอให้พลานามัยแข็งแรง
    ปฏิภาณ ก็ขอให้มีปัญญารู้แจ้งทั้งทางโลกและทางธรรม
    คิดสิ่งหนึ่งประการใดอันเป็นไปในทางที่ชอบประกอบแล้วโดยธรรม
    ขอให้มีความสำเร็จในสิ่งนั้นๆ จงทุกประการโดยถ้วนหน้าทุกท่านทุกคนเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เจริญสมาบัติ เพื่อให้จิตมีสภาวะเหมาะสม แล้วพิจารณาอริยสัจจ์4

    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย

    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล

    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก
    -------------------------------------




    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี


    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน

    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง

    มา



    อีกวิธีหนึ่ง

    เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรค
    ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส
    แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน

    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส

    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน



    แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน ล้วเอาตาธรรมกายที่

    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น

    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา

    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ

    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา

    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน

    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง

    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง

    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง

    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน

    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา

    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ

    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ

    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน

    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม

    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา

    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน

    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต

    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน

    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว

    ไปมากนัก



    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม

    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย


    แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ
    มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น
    ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก

    เท่าไข่แดงของไก่



    -ดวงเกิด มีสีขาวใส

    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า

    ใหญ่ก็แก่มาก

    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด

    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า

    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์

    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ

    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย

    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที



    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง

    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย

    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด



    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง

    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด

    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ

    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม

    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา



    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์

    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ

    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง

    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย

    ไปฉะนั้น



    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล

    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด

    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก



    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่

    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์

    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง

    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร

    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด

    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้

    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ



    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน

    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ

    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ

    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน



    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง

    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ

    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น

    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ

    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน

    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ

    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ

    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา

    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้

    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ

    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า

    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา



    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้
    จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย
    ประการหนึ่งเท่านั้น



    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)



    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้
    เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เจริญสมาบัติ(รูปฌาณ4) พิจารณาอริยสัจ4 เข้ามรรคผล

    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด

    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป




    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด

    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก

    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด


    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน

    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3

    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น



    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก


    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ


    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา

    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป



    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา


    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12

    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรมพระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท


    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.12/448, 450/482-483, 485)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ

    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้

    "ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.2528, หน้า 37-38.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้

    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย "ตา" หรือ "ญาณ" พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า

    "อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ" (อ้างแล้ว. หน้า 38-39)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง

    และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี "อนุสัย" ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง 8 อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย

    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม" นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย

    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า "พระนิพพานธาตุ" อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า "ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ" ด้วยประการฉะนี้

    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ 4 ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด

    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้

    1.กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกาย 1 "ดวงศีล" 1 ธาตุละเอียดของ "ทุกขสัจ" 1 "สมุทัย" (ตัณหา) 1 และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) 1 อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ "ใจ" ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น "ทุคคติภพ" พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น "ทุกข์" ไม่เป็น "สันติสุข" และ
    2.ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "มนุษยธรรม" กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "เทวธรรม" คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พรหมธรรม" คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พุทธธรรม" ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป "ธรรมกาย" ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี "สันติสุข"
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน

    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้




    [​IMG]






    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กันยายน 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ...........ทานในรัตนะทั้ง6 จากคำสอนหลวงปู่สด.................

    [​IMG]






    วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน ถูกทักขิไณยบุคคล ผู้มี
    ธรรมกายมากด้วยกัน บุญกุศลจึงยิ่งใหญ่ไพศาลไหลมาสู่
    สันดานของเจ้าภาพ ติดอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่กลางดวงนั้น ฯ

    ถ้าบุคคลทำบุญได้อย่างนี้แล้ว ให้เอาใจไปจรดอยู่ศูนย์
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุ
    ซ้าย กลางกั๊กนั้น ให้เอาใจจรดให้ถูกต้องตรงกลางดวงนั้น เมื่อ
    ต้องทุกข์ภัยอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ระลึกถึงดวงบุญที่ตนได้
    กระทำไว้ อย่าไประลึกนึกถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดวงบุญของตน ฯ

    เมื่อเราบริจาคทานและตามระลึกถึงบุญอย่างนี้แล้ว ภัย
    อันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดทำอะไรไม่ได้จะประกอบกิจการ
    งานอย่างใด ก็เกิดลาภและสักการะยิ่งใหญ่ไพศาลก็เพราะนึกถึง
    บุญนั้น บุญย่อมนำผลสมบัติมาให้ในปัจจุบันนี้เชียว ฯ


    ทานในพระปรมัตถ์ ๖ คือมีอายตนะ ๖
    คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์


    ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความ
    ยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดีกันอยู่
    อย่างนี้ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้
    ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีใน รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ธรรมารมณ์ อย่างนี้เหมือนกัน ความยินดี เหล่านี้ หากถอน
    อารมณ์ออกเสียได้ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้พิจารณาว่านี้เป็น
    อารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์
    เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้
    หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์ เป็นทาน ย่อมมีกุศล
    ใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่ง
    ใหญ่ทางปรมัตถ์ ฯ

    รู้จักพระรัตนตรัย

    เราเป็นพุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นคฤหัสน์หรือ
    บรรพชิตก็ตาม ต้องรู้จักพระรัตนตรัยนี้ ถ้าไม่รู้จักรัตนตรัยทั้ง
    สามนี้แล้ว การนับถือศาสนาปฏิบัติในศาสนาเอาตัวรอดไม่ได้
    ถ้าได้เข้าถึงพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แล้วก็แก้
    โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆให้หายได้บ้าง ทำอะไรได้ผลอันศักดิ์สิทธิ์
    บ้าง นั่นก็เพราะคุณของรัตนตรัยที่มีอยู่ในตัวเรา แต่หากใช้ไม่
    เป็นก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน ถ้าใช้เป็นทำเป็นถูกส่วนเข้าแล้วเห็น
    ปรากฏ จริงแต่ว่าเป็นชั้น ๆ เข้าไป ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของ
    ยากลำบากอยู่ จะว่ายากก็ไม่ยากจนเกินไป จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย
    จนเกินไป หรือว่าไม่ยากไม่ง่ายนั้นก็ถูก คือ ไม่ยากสำหรับคนที่
    ทำได้ ปฏิบัติได้ ไม่ง่ายสำหรับคนที่ทำไม่เป็นปฏิบัติไม่ถูก คน
    ทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่เป็นก็บอกว่ายาก แต่คนทำได้ ปฏิบัติถูกก็
    บอกว่าง่าย เพราะฉะนั้นจึงว่าไม่ยากไม่ง่าย ไม่ยากแก่คนทำ
    ได้ ไม่ง่ายแก่คนที่ทำไม่ได้ หลักนี้เป็นของสำคัญนัก เพราะเป็น
    ชั้น ๆ เข้าไปให้รู้จักกายเหล่านี้เสียก่อน ให้รู้จักพระรัตนตรัยเสีย
    ก่อน ถ้าไม่รู้จักพระรัตนตรัยเสียก่อนแล้วเอาหลักไม่ได้ ถึงจะฟัง
    ธรรมฟังเทศน์ไปสักเท่าใด ก็จับจุดเอาหลักไม่ได้

    พระรัตนตรัยนั้นอยู่ในตัวของเรานี่เอง อยู่ตรงไหน อยากจะ
    พบ ตัวของเรามีศูนย์กลางอยู่คือ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย
    สมมติว่าเราขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่ง จากหน้าท้องตรงสะดือทะลุ
    หลัง และอีกเส้นหนึ่งจาก กึ่งกลางสีข้าง ขวาทะลุซ้าย ถึงตรง
    กลางกั๊ก ที่ด้ายกลุ่มนั้นจด จุดที่กลางได้ กลุ่มสองเส้นจดกันนั้น
    แหละเรียกว่า กลางกั๊ก ตรงกลางกั๊กนั้นถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็น
    กายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ให้เอาใจไปหยุด
    อยู่ตรงกลางกายมนุษย์นั้น ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ที่ตรงนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีแห่งเดียว
    ก่อนมนุษย์จะมาเกิด หญิงก็ดี ชายก็ดี ต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น
    จึงเกิดได้ ถ้าไม่หยุด ไม่นิ่ง เกิดไม่ได้ พอหยุดถูกส่วนเข้า เกิด
    ได้ทันที ตรงนั้นแหละ เป็นที่หยุดและเป็นที่เกิด ที่ตาย พอใจ
    หยุดถูกส่วนเข้า ก็เกิดและตาย ตรงนั้นเป็นที่เกิด ที่ดับ แห่ง
    เดียว ไม่ใช่แต่ที่เกิด ที่ดับเท่านั้น ตรงกลางนั้นเวลาจะนอน
    หลับ ใจก็ตรงไปหยุดอยู่ที่ตรงกลางนั้น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าก็
    หลับ ถ้าไม่ถูกส่วนตรงนั้นก็ไม่หลับอีกเหมือนกัน หลับตรงไหน
    ตื่นขึ้นก็ตรงนั้น ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ในบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที
    หลับ ที่ตื่น แห่งเดียว อย่าได้เอาใจไปไว้ที่อื่น ให้เอาใจไปจรด
    ไว้ตรงนั้น จึงจะถูกต้อง พอใจหยุดถูกที่เท่านั้น เราจะรู้สึกตัวที
    เดียวว่า ช่างเป็นสุขอะไรอย่างนี้หนอ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC044355.jpg
      DSC044355.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.4 KB
      เปิดดู:
      668
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    .............พรหมวิหารสี่ กับ วิชชาธรรมกาย..............

    เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร 4
    การเจริญพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์

    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

    อนึ่ง พรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ

    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น 2 ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ "ด่าง" เป็น "กลาง" ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ

    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย

    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้

    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน "ขันติธรรม" และ "พรหมวิหารธรรม" อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 โดยทั่วไป และอานิสงส์




    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร

    คำว่า "เมตตา" นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ 4 เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก

    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด

    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง 4 เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง

    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ 3 (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย

    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.23/224/480) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว

    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ 11 ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นสุข 1 ย่อมตื่นเป็นสุข 1 ย่อมไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย 1 เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ 1 จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 1 สีหน้าย่อมผ่องใส 1 เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก 1

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการนี้แล." (อํ.เอกาทสก.24/222/370-371)

    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร
    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น

    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหารให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร
    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร




    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นจากโทสะเสียก่อน แล้วให้ตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนปรารถนาแต่ความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์เพียงใด ผู้อื่นก็ปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทั้งสิ้น ในการพิจารณาและตั้งความปรารถนาไปยังผู้อื่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังจิตใจอันแข็งกระด้างอยู่ ให้เริ่มตั้งความปรารถนาแผ่พรหมวิหารไปยังผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนาไปยังผู้ที่ตนชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว ก็จงตั้งความปรารถนา แผ่พรหมวิหารธรรมนี้ไปยังผู้ที่มีเวรต่อกัน ให้จิตใจอ่อนโยนดีกับบุคคลและสัตว์ทุกหมู่เหล่า จึงจะได้ผลดี


    มีข้อสังเกตว่า หากชำนาญมากเข้า ก็สามารถเจริญภาวนาได้รวดเร็ว ความรู้สึกในบุคคลหรือสัตว์ที่รัก ที่ชัง หรือที่มีเวรต่อกัน ก็จะจางลง ความรู้สึกดังกล่าวยิ่งจางลงได้มากเพียงใด ย่อมแสดงว่าการเจริญพรหมวิหารธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ระดับสมาธิก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายกว่าเดิม นิวรณธรรมก็จะพลอยลดน้อยลง ระดับสติปัญญาและภูมิธรรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามลำดับ



    กล่าวโดยสรุป อานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์สูงเป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว (อํ.นวก.23/224/480) ทั้งนี้ก็เพราะการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นก็เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียน โกรธพยาบาทจองเวร หรืออิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน ให้มีความรักใคร่ ปรองดอง เอื้ออารี เผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้รู้จักสงบจิตใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ

    จุดมุ่งหมายเบื้องสูงยิ่งขึ้นไปอีก ก็เพื่อให้ผู้เจริญพรหมวิหารธรรมได้บำเพ็ญเมตตาและอุเบกขาบารมีให้เต็มส่วน ถึงอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่จะสามารถช่วยให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้จิตใจของผู้เจริญคุณธรรมนี้ สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ธรรมข้อพยาบาท และระงับความคิดที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ คุณธรรมข้อนี้ยังเป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือความริษยาและความผูกโกรธ หรือพยาบาทจองเวรได้ดีอีกด้วย

    จิตใจที่สงบระงับจากนิวรณธรรมนั้น ย่อมสามารถรับการฝึกหัดให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงได้ง่าย จึงเป็นพื้นฐานสำคัญแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง และรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้สะดวก

    เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหารนั้น มีอานิสงส์แก่ผู้เจริญให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้สำเร็จขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นต้นของปฐมฌาน และให้สามารถพัฒนาต่อไป ถึงทุติยฌาน และตติยฌาน ได้ตามลำดับ ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารนั้น มีอานุภาพให้ผู้เจริญ ได้ถึงจตุตถฌาน โดยจตุกนัย หรือถึงปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยทีเดียว

    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 3 ระดับกล่าวคือ

    1.พรหมโดยสมมติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เป็นพรหมของบุตร เป็นต้น แต่ในทางธรรมปฏิบัตินั้น ได้แก่ มนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ และทิพย์ละเอียด ซึ่งทรงพรหมวิหารธรรม

    2.พรหมโดยอุบัติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็หมายเอาผู้ที่ได้กำเนิดหรือถือคติเป็นพรหมในพรหมโลก ด้วยพรหมธรรมและผลจากการเจริญภาวนาสมาธิ โดยที่ก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากฌานในระดับใดระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติ ได้แก่ รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางทิพย์และมนุษย์, กับอรูปพรหมหยาบ และอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของพรหม อันเป็นผลจากการเจริญพรหมวิหารและภาวนาสมาธิ อีกนัยหนึ่ง สามารถจะเข้าถึงได้โดยทางธรรมปฏิบัติในปัจจุบันชาติ

    3.พรหมโดยวิสุทธิ อีกหนึ่ง ในทางปริยัติ หมายเอาพระอริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกพระพุทธเจ้า ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์จากอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว ส่วนในทางธรรมปฏิบัติ ก็ได้แก่ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของกายโลกิยะทั้ง 8 กายข้างต้น เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์นั่นเอง เพราะกายนี้เป็นกายที่สะอาดบริสุทธิ์และทรงพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะที่จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมใสสะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่ง แล้วเข้าถึงได้ หรือเป็นกายธรรมพระอรหัตที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว

    ดังพระพุทธดำรัสว่า "วาเสฏฐะและภารัทวาชะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต." (ที.ปา.11/55/92)

    นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้เจริญหรือผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้นยังแตกต่างกันด้วยภูมิธรรม และภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการแผ่พรหมวิหารก็ย่อมจะมีอานุภาพที่ไม่เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้นว่า พระนิพพานคือพระธรรมกายที่ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมทรงพรหมวิหารธรรม และแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อย่างกว้างขวางสุดประมาณ และมีอานุภาพสูงที่สุดยิ่งกว่าธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    และส่วนธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล หากแต่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ก็ย่อมทรงพรหมวิหารและแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสัตว์ทั้งหลาย ได้ดีกว่าผู้ที่ยังเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคลอยู่

    ธรรมกายที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดเลย หากแต่ได้พยายามเจริญภาวนาพิจารณาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรมตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีความเข้าใจในทุกข์, ในเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย, ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า นิโรธ, และในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แจ่มแจ้งเพียงใด ก็ย่อมจะเจริญและทรงพรหมวิหารได้มาก และสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น

    ด้วยเหตุนี้ การเจริญและแผ่พรหมวิหาร ในขณะที่จิตทรงสมาธิและได้เจริญปัญญาภายหลังจากการพิจารณาอริยสัจแล้ว จึงมีอานุภาพมากคือมีผลต่อผู้อื่นมาก และมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญภาวนาเองมาก

    -----------------------------------------------------------

    วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ระดับฌาน

    ลำดับนี้จะแนะนำวิธีการเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานแก่ผู้ที่ถึงธรรมกาย


    ซึ่งได้ฝึกหัดเจริญฌานสมาบัติแล้วต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกายก็ให้น้อมใจตามไปได้ แต่ขอให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสนั่นไว้เสมอ ก็จะได้ผลดีกว่าการเพียงแต่สวดบทแผ่พรหมวิหาร โดยที่ใจมิได้รวมหยุดเป็นสมาธิถูกศูนย์ถูกส่วน ณ ที่ศูนย์กลางกายจึงขอให้ทุกท่านจงตั้งใจเจริญภาวนา แผ่พรหมวิหารธรรมต่อไป

    ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามรวมใจหยุดในหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางเครื่องหมายที่นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ พยายามนึกให้เห็นใสละเอียด ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน แล้วก็คอยน้อมใจตามคำแนะนำต่อไป

    ส่วนผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด แล้วพิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติ พร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลมและปฏิโลมหลายๆ เที่ยว เพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ใสละเอียด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ เที่ยวสุดท้ายให้เจริญฌานสมาบัติโดยอนุโลม เพียงรูปฌาน 4 พิจารณาสัจจะทั้ง 4 ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และธรรมกายทำนิโรธดับสมุทัย โดยพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัต ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จนเป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ใสบริสุทธิ์

    แล้วน้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกาย ให้ใจของธรรมกายเพ่งลงไปที่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะมีองค์ฌาน (เหมือนแผ่นกระจกใส) ปรากฏขึ้นรองรับหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็นปฐมฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล ให้ข่ายของญาณหว่านล้อมธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ เข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ให้อายตนะภายใน ที่ตั้งความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้, ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ ของทุกกายตรงกันกับของเราหมด แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดเมตตาพรหมวิหารและคุณของเมตตาพรหมวิหารว่า ตัวเราเองปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติ, มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาในความสุขเช่นนั้นเหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อน จากการเบียดเบียนหรือเวรภัยใดๆ ผู้อื่นก็ไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อนเช่นกัน เมื่อจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ที่จะให้อยู่ดีมีสุขด้วยกันแล้ว ก็แผ่ฌานและเมตตาพรหมวิหาร ด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัตินั้น จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเรา ไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายให้หมดทั่วทั้งจักรวาล ให้ใสละเอียดหมด

    แล้วพิสดารกายทิพย์ในกายทิพย์ ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ในทิพย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายทิพย์ในทิพย์ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของกายธรรมก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง ศูนย์กลางกายทิพย์ในทิพย์ จนใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนละวิตกวิจารได้ คงแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่ปรากฏขึ้นรองรับทุกกาย นี้เป็นทุติยฌาน ก็ให้ข่ายของญาณพระธรรมกายขยายกว้างออกไปจนเต็มจักรวาลอีก หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดกรุณาธรรมและคุณของกรุณาพรหมวิหารว่า เราประจักษ์ในทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งของตัวเราเองด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานในสังขารธรรมทั้งหลาย จึงเป็นทุกข์ ด้วยความเกิด แก่ เจ็บ และตาย, เป็นทุกข์เพราะความที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และต้องประสบเข้ากับสิ่งที่ตนเกลียดชัง, เป็นทุกข์ด้วยความไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ จะมี จะเป็น, หรือเป็นทุกข์ที่ต้องได้รับผลจากอกุศลกรรม ได้แก่ เหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการได้กำเนิดทุคคติ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น และแม้แต่จะกำลังได้เสวยผลจากกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และ วิปากวัฏฏะ แล้ว ก็ไม่วายที่จะต้องเสื่อมจากความสุขและสมบัติที่เคยได้รับ

    ตนเองปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านั้นเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยกรุณาพรหมวิหาร คือความสงสาร ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเองด้วยได้พ้นทุกข์เหล่านี้ไปเสีย ดังนี้แล้ว ก็แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารจากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราเอง ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เร่งประกอบความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น กระทำนิโรธให้แจ้ง และเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายด้วยปัญญาอันเห็นชอบเถิด ให้แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์และละเอียดอ่อนนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดหมดทั่วทั้งจักรวาล

    แล้วพิสดารกายรูปพรหมในรูปพรหม ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายรูปพรหมในรูปพรหมปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม ในรูปพรหม จนใสละเอียดหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตจนละปีติได้ คงแต่สุขกับเอกัคคตา ก็จะปรากฏองค์ฌานใหม่บังเกิดขึ้นรองรับทุกกาย ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น ตติยฌาน แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายมายังศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วพิจารณาโทษของการขาดมุทิตา และคุณของการมีมุทิตาพรหมวิหารว่า เราปรารถนาที่จะไม่เสื่อมจากสุขสมบัติและคุณสมบัติอย่างไร และปรารถนาในความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น จากผลของทาน ศีล ภาวนา ขึ้นไปเป็นผลของ ศีล สมาธิ และปัญญา, อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต และมรรคปัญญา, ธรรมโคตรภู, พระโสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล, พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็น พระอรหัตมรรค พระอรหัตตผล หรือถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อนเปี่ยมด้วยมุทิตาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและมุทิตาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่ใสละเอียดบริสุทธิ์ จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย ให้ใสละเอียดไปทั้งหมด

    แล้วพิสดารกายอรูปพรหมในอรูปพรหมต่อไป ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายอรูปพรหมในอรูปพรหม ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดนิ่งกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม ใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนสุขหมดไป คงแต่เอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่เกิดขึ้นรองรับทุกกาย เพ่งให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น จตุตถฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนสุดจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายสุดละเอียดต่อไปอีก พิจารณาโทษของการขาดอุเบกขาพรหมวิหาร และคุณของการมีอุเบกขาพรหมวิหารว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับผลกรรมเอง เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยอุเบกขาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและอุเบกขาพรหมวิหารนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดทั่วกันหมดทั้งจักรวาล

    นี้เป็นวิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌาน เป็นการเจริญภาวนาที่มีผลมากแก่ผู้อื่น และมีอานิสงส์มากแก่ผู้เจริญภาวนา แม้ผู้เจริญภาวนาที่มีสมาธิในระดับที่ต่ำอยู่ ก็สามารถน้อมใจเจริญภาวนาตามนี้ได้ แต่ต้องรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางนิมิตที่ตรึกนึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมก็ได้ แล้วพยายามเพ่งพิจารณาตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน นึกให้เห็นนิมิตนั้นใสละเอียด แล้วก็แผ่ความใสละเอียดนั้นไปให้กว้างที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ อย่างนี้ก็เป็นผลมาก และมีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสักแต่กล่าวคำแผ่พรหมวิหารออกไป โดยที่ส่งใจไปจรดที่อื่นมากมายนัก

    การเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานนี้ มีอานิสงส์และอานุภาพมาก เมื่อกระทำจนชำนาญมากเข้า ก็จะสามารถแผ่พรหมวิหารนี้ไปยังสรรพสัตว์ในจักรวาลอื่น โดยอธิษฐานจิตซ้อนเข้ามาในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ให้ศูนย์กลางตรงกันหมด ทับทวีทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ...................................
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เชิญโหลดไฟล์เสียง "สัมมาอะระหัง".....หลวงปู่สด (หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    หลวงพ่อวัดปากน้ำฯท่านกล่าวว่า “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป” หมายถึงอะไร ?

    
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?



    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์ ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่ เป็นวิกขัมภนวิมุตติ นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3 และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้ จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลือ พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์” ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้ กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด และในส่วนธรรมในธรรมนั้น ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้ ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12 แล้วก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง) พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร” วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น เหมือนมะขามล่อน ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่ เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้ หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ” คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้ และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ) และยั่งยืน (ธุวํ) มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้ เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ) ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้? ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน? ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3 นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก ไม่เรียกว่าภพ เพราะไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน” ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้” นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้ ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค” ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่ สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ คำของหลวงพ่อ แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง” ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 เพราะฉะนั้น เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์ “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้ ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้ จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ส่วนหยาบจะตกศูนย์ ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน ด้วยอาการอย่างนี้ ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์ ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ ตรงนั้น จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง ส่วนหยาบเป็นมรรค ส่วนละเอียดเป็นผล มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จึงถึงมรรคผลนิพพาน ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง

    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์ ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน? เป็นอยู่ที่กลางของกลาง ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน ก็กลางของกลางตรงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น ตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้ แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์ ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้ ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้ ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้ จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค” เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย” นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระ
    พุทธศาสนา
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถ้ามนุษย์มีกรรมเก่าจริง ทำอย่างไรจะลบล้างกรรมเก่าได้

    
    ถ้ามนุษย์มีกรรมเก่าจริง ทำอย่างไรจึงจะลบล้างกรรมเก่าได้ ?

    ----------------------------------------------------

    ตอบ:


    การลบล้างกรรมเก่านั้นไม่ได้

    เพียงแต่ว่าทำอย่างไรจะให้กรรมดีให้ผล ก็ทำกรรมดีให้มันหนักๆ ไป มากๆ เข้า เมื่อมากเข้ากรรมดีกระทำให้หนัก ก็เป็นครุกรรม ทำให้เป็นอาจิณกรรมคือทำให้เป็นนิสัยเรื่อยๆ กรรมนี้ก็ย่อมมีโอกาสให้ผลก่อนกรรมอื่น กรรมไม่ดีนั้นเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อกำลังไล่ตามเรา จะกัดเรา ถ้าเรามัวยืนกะเป๋อเหรออยู่ แน่ละ เดี๋ยวเดียวมันก็มาทัน หรือปะเหมาะกลับทำกรรมชั่วไปอีก ก็เท่ากับหันหลังกลับ วิ่งเข้าไปหาสุนัขไล่เนื้อ เป็นอย่างไร ได้รับผลเร็วเลย แต่ถ้าเราวิ่งหนีไปข้างหน้าตามกำลังเพียงใด ก็เท่ากับทำกรรมดีส่วนหนึ่ง มันก็มีผลว่าอาจจะพ้นหรือไม่พ้น แต่ถ้าเราทำกรรมดีสุดดี หรือดียิ่งดีขึ้น เช่นทั้ง ศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา เสมือนหนึ่งขี่จักรยาน แล้วก็ขี่รถยนต์ แล้วก็ขี่จรวด ไอ้สุนัขไล่เนื้อก็ตามไม่ทัน เป็นของธรรมดา เรียกว่าเมื่อทำกรรมดีมากๆ เข้า กรรมดีก็ชิงให้ผลก่อน กรรมชั่วจึงตามไม่ทัน หนักๆ เข้า สุนัขไล่เนื้อก็หอบแฮ่กๆ ลิ้นห้อย เรื่องล้างกรรมนั้นล้างไม่ได้ กรรมนั้นยังอยู่ แต่ถ้าทำกรรมดีมากๆ ก็ได้รับผลจากกรรมดีก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    สมัยพุทธกาล ผู้ไม่มีความรู้นักธรรมบาลี ได้ปฏิบัติธรรมกัอย่างไร

    
    ในสมัยพุทธกาล ผู้ไม่มีความรู้นักธรรม เปรียญธรรม ได้ปฏิบัติธรรมอย่างไร ?

    ---------------------------------------------------------
    ตอบ:


    ในสมัยพุทธกาล ไม่ใช่ว่าไม่ศึกษา ปริยัตินี่ศึกษาประมาณ 5 ปี โดยเท่าที่ฟังดู เฉลี่ยโดยมาก เข้ามาบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้ว จะอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าโดยตรง หรือในสมัยหลังๆ จะอยู่ในสำนักพระมหาเถระอื่นๆก็แล้วแต่ สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ แรกๆ ก็ให้บวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา ถัดมาก็ติสรณคมนูปสัมปทา ถัดมาก็บวชอย่างองค์สงฆ์ อนุญาตให้สงฆ์เป็นผู้บวชมีพระอุปัชฌาย์

    เมื่ออยู่ในสำนักพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์อยู่ประมาณ 5 พรรษา ศึกษาภาคปริยัติ และเมื่อได้ระยะเวลาพอสมควร พากันออกไปอยู่ป่าลึกๆ จึงขอกัมมัฏฐานจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้นในสมัยพุทธกาล จึงเรียนทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ อย่าสงสัยเลย แต่ไม่มีการให้ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร พัดยศ เรียกเปรียญ 1 2 3 ประโยค ไม่มี เรียนเพื่อรู้ เหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำ เรียนจน เทศน์ออกมาบาลีคำหนึ่ง ไทยคำหนึ่ง และผลของการปฏิบัติออกมาได้อย่างไรอีกคำหนึ่ง ให้ไปอ่านดู จะมี 3 อย่างนี้ไล่กันหมด

    หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียนเพื่อรู้ ท่านเทศน์ออกมาพร้อมทั้งพระบาลี แปลเป็นภาษาไทย และแสดงผลของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร

    เพราะฉะนั้น ในสมัยพุทธกาล อย่านึกว่าไม่เรียนปริยัติ เข้าป่าหมด ไม่จริง แต่มีบางท่านอาจจะเรียนน้อย เอาแต่กัมมัฏฐานหลักๆ แล้วไป อย่างเช่น พระจักขุบาล เป็นเศรษฐีมีเงิน ทิ้งทรัพย์สมบัติให้น้องชายตัวเองไปบวช เพราะรู้สึกว่าตัวเองแก่แล้ว น้องชายร้องห่มร้องไห้ ไม่อยากให้ไปบวช พี่ชายไม่เชื่อ เพราะแก่แล้ว กลัวตายเปล่า นี้สรุปง่ายๆ

    เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตัวเองก็ไปด้วย ไปนั่งอยู่ไกล พระพุทธเจ้าเลยสอนเรื่องศีล เรื่องอานิสงส์ของศีล สอนเรื่องทานกุศล อานิสงส์ของทาน ให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ว่าเสวยสุขอย่างไร พอเคลิบเคลิ้ม จึงตลบกลับเรื่องอริยสัจ 4 สภาวธรรมที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเข้าอริยสัจ 4 ชอบใจนัก ขอบวช บวชเสร็จ เรียนอยู่ระยะหนึ่ง ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ธุระในพระพุทธศาสนานี้มีอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าว่า มีเรียนปริยัติอย่างหนึ่ง เรียนปฏิบัตินี้อย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นปฏิเวธ พระจักขุบาลว่าปริยัตินี้ ข้าพระองค์เห็นจะไม่ไหว เพราะแก่แล้ว เห็นจะต้องเรียนภาคปฏิบัติ จะปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ขอพระองค์ทรงบอกพระกัมมัฏฐานให้ด้วย พระพุทธองค์ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงพระอรหัต ทรงบอกตามอัธยาศัยและอินทรีย์ของผู้นั้น คือปัญญินทรีย์ บรรลุด้วยปัญญา และอัธยาศัยเป็นคนมัธยัสถ์ ถ้าพูดภาษาธรรมดาก็คนสมถะ

    หลังจากได้กัมมัฏฐาน พระจักขุบาลพาเพื่อน 60 รูปออกไปไกล เข้าป่า ท่านถามพรรคพวกท่านว่า ท่านทั้งหลาย เราจะอยู่กันในอิริยาบถเท่าไร พรรคพวกภิกษุอื่นบอกว่าจะอยู่ในอิริยาบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน พระภิกษุรูปอื่นถามพระจักขุบาล ท่านตอบว่า ผมจะอยู่ในอิริยาบถ 3 คือ เดิน ยืน นั่ง นอนไม่มี เดินตลอดคืน นอนไม่มี ประกอบด้วยวิริยินทรีย์แก่กล้า และเดินจนตาแตก ตาแตกพอดีที่บรรลุพระอรหัตผล

    เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะแก่ ปัญญาจะทึบ อะไรๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และให้พึงเข้าใจว่า ในสมัยพุทธกาลต้องเรียนทั้งพระธรรมพระวินัย ไม่ใช่ไม่เรียน ในยุคนี้ สังเกตดู อาจจะเรียนพระธรรมหนักดี แต่พระวินัยไม่ทราบว่าเรียนแล้วหนักแค่ไหน อันนี้กระผมฝากไว้ด้วย เรียนนักธรรม ตรี โท เอก ก็สอบได้อยู่ แต่คำว่าสิกขา เรียนให้รู้ ให้ละเอียดลออ และต้องปฏิบัติด้วย อบรมด้วย ทั้งอบรม ทั้งสั่งสอน ทั้งแนะนำ ไตรสิกขา

    เพราะฉะนั้น สรุปว่า ในสมัยพุทธกาลมีเรียน แต่ไม่ได้เรียกว่าประโยค 1 2 3 เรื่อง ป.ธ. เรื่องของการเรียนแปลบาลี เป็นภาษาซึ่งทรงไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ แต่ในสมัยโบราณ เรียนเพื่อรู้พระธรรมพระวินัย ในยุคปัจจุบัน ควรจะเรียนทั้งแปลบาลีและทั้งเพื่อรู้พระธรรมพระวินัย ตรงนี้แหละครับ คือหัวใจของการที่พระพุทธศาสนาของเราจะตั้งมั่น ต้องเรียนเพื่อรู้ รู้ด้วยการเข้าใจและปฏิบัติ มิใช่รู้ท่องจำเอาเฉยๆ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?

    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?

    -------------------------------------------------





    ตอบ:


    เมื่อใดที่ท่านปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมใส และรวมใจไว้ที่กลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่ง กลางดวงธรรมใสนั้น ท่านจะเห็นช่องว่างเล็กๆ ขนาดประมาณเท่ารูเข็มหรือเล็กกว่า ขึ้นอยู่กับระดับการรวมใจของท่าน ยิ่งระดับสูงช่องว่างนั้นก็ยิ่งเล็ก ตรงกลางช่องว่างนั้น มีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นเส้นเล็กๆ ที่บางที่สุด บางมากจริงๆ และใส ให้รวมใจหยุดนิ่งที่กลางของกลาง อย่าสร้างภาพใดๆ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดๆ เพื่อทำใจให้เป็นกลาง แล้วอธิษฐานจิตไปตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น เมื่อใจหยุดนิ่งศูนย์กลางก็จะขยายออก ท่านก็จะเห็นชีวิตของท่านระหว่าง 5-10 ปีข้างหน้า เป็นกายที่แก่นั้น แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้นเข้าไป ก็จะสามารถเห็นกายที่แก่มากขึ้น จนกระทั่งเห็นการตายของสังขารร่างกายของท่านเอง

    อาตมาแน่ใจว่าผู้ใดทำใจให้บริสุทธิ์และเป็นกลางอย่างนี้ หรือผู้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าเขาจะตายเมื่อไรและอย่างไร เมื่อเห็นการตายของสังขารร่างกายของตนเอง ก็สามารถใช้ประสบการณ์นี้เป็นมรณสติได้

    และแม้ว่าเรารู้วันที่เราจะตายแน่นอน และจะตายด้วยอาการอย่างไร เรายังจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรมทั้งหลายได้ และจะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของเราเองว่า กายและใจหรือขันธ์ 5 ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    ตราบเท่าที่ท่านยังมีตัณหา ท่านก็ยังจะมีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ในโลกมนุษย์ ทิพย์ พรหม หรืออรูปพรหม ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม แต่ธรรมกายนั้นหามีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมไม่ เพราะเป็นกายบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เกิดภพชาติอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อาตมาใคร่จะแนะนำท่านว่า เมื่อท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นพระภิกษุ ไม่ควรบอกหรือโอ้อวดแก่ผู้ใด เพราะเป็นการผิดพระวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งสำหรับตน จึงใคร่จะเน้นว่า ตราบใดที่เรายังไม่ใช่พระอรหันต์ สิ่งที่เรารู้เห็นเหล่านี้ก็ยังไม่แน่นอน 100% ดังนั้นการพิจารณาเช่นนี้จะต้องทำตลอดเวลา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งสำหรับตน (มิใช่เพื่อการโอ้อวดแก่ใคร)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?

    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?


    ----------------------------------------------

    ตอบ:


    ก็รวมใจของท่านไว้ที่กลางของกลางดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด เพื่อทำใจของท่านให้เป็นกลาง สังเกตช่องว่างที่กลางจุดเล็กใสนั้น ก็จะเห็นสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็อธิษฐานให้เห็นชีวิตในอดีตของท่านเอง ย้อนหลังไปสัก 10 ปี หยุดนิ่งที่กลางของกลางจนกระทั่งใจของท่านสงบเต็มที่ จุดศูนย์กลางนั้นก็จะขยายตัว ว่างออก ก็จะเห็นอัตตภาพของเองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมใจของท่านหยุดนิ่งเข้าไปที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้น นึกอธิษฐานย้อนเข้าไปเห็นอัตตภาพในอดีต จนกระทั่งเห็นอัตภาพของท่านเอง ถึงขณะที่แรกเกิด ท่านสามารถพิจารณาย้อนเข้าไปอีกจนถึงเมื่อท่านอยู่ในมดลูกของมารดา เข้าไปที่ศูนย์กลางของทารกนั้น นึกให้เห็นอดีตชาติก่อนชาตินี้ เมื่อเห็นแล้วให้สังเกตว่าท่านเป็นใคร อยู่ที่ไหน เป็นชาติๆ ไปในอดีต จนถึงนับชาติไม่ถ้วนได้

    เมื่อใดท่านเห็นอดีตชาติเหล่านี้ ท่านจงพิจารณาขันธ์ 5 ทั้งหมด รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเหล่านี้ว่าล้วนตกอยู่ภายใต้สามัญญลักษณะ ได้แก่ความเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง ต้อง เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การทำดี (เกิดจากบุญกุศล) หรือการทำชั่ว (เกิดจากกิเลส หรือตัณหา) นี้เป็นเหตุให้บุคคลไปเกิดในโลกที่มีความสุข หรือความทุกข์ตามกรรม ผู้ใดยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ ด้วยตัณหาและอุปาทานแล้วประกอบกรรมชั่ว กล่าวคือ พูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว ก็จะไปเกิดในโลกที่มีความทุกข์ ในขณะที่ผู้มีชีวิตเป็นบุญกุศล กระทำแต่คุณความดี กรรมดีก็จะส่งผลให้ได้รับความสุขความเจริญในชีวิต กรรมอาจให้ผลเป็นความทุกข์และความสุข แม้ในชาติปัจจุบันและต่อๆ ไปถึงสัมปรายภพคือภพหน้า สุดท้ายท่านก็จะตระหนักว่า แต่ละชาติที่ท่านได้พิจารณาเห็นแล้วนั้น แม้ชีวิตในภพชาติปัจจุบัน แท้จริงล้วนเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาทั้งสิ้น และไม่มีอะไรคงที่ให้สามารถยึดถือได้ตลอดไปเลย

    เมื่อพิจารณาไตรลักษณ์คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของทุกสิ่งแล้ว จึงอธิษฐานกลับมาสู่ปัจจุบัน แล้วชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยจรดใจนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางของกลางกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ซึ่งขณะนี้ใสสว่างและบริสุทธิ์กว่าเดิม จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายที่ใสบริสุทธิ์ที่สุด นี้จะเป็นผลให้เบื่อหน่ายคลายถอนจากความยึดถือจากขันธ์ 5 ทั้งหมด แล้วท่านจะมีใจเป็นกลาง เป็นอิสระพ้นจากอารมณ์สุข-ทุกข์อย่างชาวโลก เป็นใจที่สงบสันติสุขอย่างมาก

    ธรรมกายที่ละเอียดบริสุทธิ์ที่สุดจะไปปรากฏในนิพพาน เป็นที่ซึ่งธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพ ที่ขันธ์ 5 ดับไปแล้วสถิตอยู่ ท่านจะเห็นธรรมกายที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ แวดล้อมด้วยธรรมกายที่บรรลุ พระอรหัตตผลแล้วของพระอรหันต์สาวกที่ประทับอยู่บนองค์ฌาน เวียนรอบ ห่างกันชั่วกึ่งองค์ฌาน นับไม่ถ้วน ไม่ใช่แต่เท่านี้ ท่านยังจะเห็นพระพุทธเจ้าในอดีต ทั้งที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ที่แวดล้อมด้วยพระอรหันต์สาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ พระองค์เดียวโดดๆ (ไม่มีพระอรหันต์สาวก) อีกนับไม่ถ้วน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ใจ จิต วิญญาณ

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • จ3.PNG
      จ3.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      961
    • จ2.PNG
      จ2.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,107
    • จ1.PNG
      จ1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,380
    • จ4.1.PNG
      จ4.1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      464.8 KB
      เปิดดู:
      942
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]



    [​IMG]






    โดยทั่วไป มักเข้าใจว่าจิตคือวิญญาณ และวิญญาณ
    ก็คือจิต ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง จิตคือตัวคิด วิญญาณ
    คือตัวรู้ ไม่เหมือนกัน ทั้งจิตและวิญญาณตามความเข้าใจ
    ของสามัญชนนั้น วิชชาธรรมกายเรียกว่า “ดวงใจ” อันที่จริง
    แล้วควรเรียกว่า “หัวใจ” แต่คำว่า “หัวใจ” ก็พากันเข้าใจว่า
    คืออวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิต ไปสู่ร่างกายเสียแล้ว จึงจำ
    เป็นต้องใช้คำว่า “ดวงใจ” ในที่นี้

    ในปัจจุบันนี้ มีปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ในวงการ
    ต่างๆว่า ดวงใจหรือจิตอยู่ที่ไหน วงการแพทย์เห็นว่า จิตอยู่
    ที่มันสมอง สำนักวัดมหาธาตุและวงการอภิธรรม เข้าใจ
    ว่า จิตอยู่ที่ถุงน้ำเลี้ยงหัวใจภายในหัวใจ สำนักวัดปากน้ำว่า
    จิตอยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ที่ตรงกลางกาย คือตรงกับสะดือ
    เข้าไปข้างใน

    ความเห็นของ วงการแพทย์และของสำนักวัด
    มหาธาตุ กับวงการอภิธรรมเป็นความเห็นที่นำความมหัศจรรย์
    ของจักรวาลแห่งจิต ไปปนกับความมหัศจรรย์ของระบบ
    สรีรศาสตร์ เช่นเดียวกับการสังเกตเห็นว่า เขื่อนหรือทำนบ
    สามารถกั้นคลื่นและกระแสน้ำได้ ก็เลยเหมาเอาว่า ผ้าหรือ
    หนังสามารถกั้นคลื่นวิทยุได้ ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น มัน
    สมองเป็นเสมือนเครื่องรับกระแสจิต จากจักรวาลจิต แล้วส่งต่อ
    ไปยังระบบต่างๆของร่างกาย สำหรับความเห็นของวัด
    มหาธาตุและสำนักอภิธรรม ไม่มีอะไรดีไปกว่า นำผลปฏิบัติ
    แบบไตรลักษณ์มาค้าน กล่าวคือถ้าจิตอยู่ที่หัวใจหรือสมอง
    ทำไมญาณวิถีเกิดขึ้นในอนุโลมญาณ จึงพุ่งจากตรงสะดือไป
    ยังกลางกระหม่อม

    ศูนย์กลางของตัวเรานี้ อยู่กลางลำตัวตรงสะดือเข้า
    ไปข้างใน ที่นั่นมีเครื่องหมายเป็นดวงกลมๆ ขนาดเท่าดวง
    จันทร์ มีสภาพคล้ายปรมาณูของธาตุจับกลุ่มรวมตัวกัน วิชชา
    ธรรมกายเรียกดวงนี้ว่า “ดวงเห็น” มีหน้าที่เป็น"กาย"

    ในเนื้อของดวงเห็นนี้ กลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรก
    ซึมอยู่เป็นดวงกลม รอบตัว มีขนาดเท่ากับเบ้าตา เรียก
    ว่า “ดวงจำ” คือเห็นแล้วก็จำได้ หรือทำหน้าที่เป็น“ใจ”

    ตรงกลางดวงจำมีช่องว่าง และมีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่ม
    หนึ่ง ลอยอยู่เป็นดวงกลม ขนาดเท่าดวงตาดำข้างนอก เรียก
    ว่า“ดวงคิด” แม่ธาตุตรงกลางปรมาณูดวงคิดนี้คือ“จิต”

    ในเนื้อของดวงคิด มีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรกซึม
    อยู่เป็นดวงกลม มีขนาดเท่าดวงตาดำข้างในเรียกว่า “ดวงรู้”

    แม่ธาตุตรงกลางดวงรู้คือ “วิญญาณ” เราจะรู้อะไร
    ก็ต้องได้เห็น เมื่อเห็นแล้วก็จำ แล้วก็คิด แล้วจึงจะรู้ ดวงเห็น
    จึงเป็นแม่ธาตุของดวงรู้ คุณสมบัติของเห็น จำ คิด รู้
    ทั้งสี่อย่างนี้ ผสมผสานรวมกันเป็นหนึ่ง เรียกว่า“ดวงใจ”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ อะไร?

    ตรงช่องว่างกลางดวงจำ มีกลุ่มปรมาณูธาตุน้ำหล่อ

    เลี้ยงอยู่ ดวงคิดหรือจิต ลอยอยู่ในน้ำนั้นอีกที กลุ่มปรมาณู

    ธาตุน้ำนี้เรียกกันทั่วไปว่า “น้ำเลี้ยงหัวใจ” ซึ่งที่ถูกนั้น ควรเรียก

    ว่าน้ำเลี้ยงจิต ปรมาณูธาตุน้ำนี้มีประมาณ 1 ซองมือ หรือ 1

    อุ้งมือ น้ำเลี้ยงหัวใจนี้เอง เป็นสิ่งเดียวที่ได้รับสืบเนื่องกันมา

    จากบรรพบุรุษของตน เมื่อใดจิตสงบไม่ซุกซน ไม่มีอกุศล น้ำ

    เลี้ยงก็ใสสะอาด ถ้าผู้ใดใจประกอบด้วยราคะ น้ำเลี้ยงใจก็จะ

    มีสีแดง ถ้ามีโทสะ น้ำก็มีสีน้ำเงินแก่ ถ้ามีโมหะ น้ำเลี้ยงใจก็

    ขุ่นมัวเป็นสีเทา เมื่อน้ำเลี้ยงใจนี้เปลี่ยนไป ดวงใจทั้งดวงก็มี

    สีเปลี่ยนตามไปด้วย ฉะนั้นเมื่อเห็นดวงใจก็เห็นสีของดวงใจ

    ทันที



    คนที่มีจิตฟุ้งซ่านหรือนอนไม่เหลับ ดวงจิตจะลอยอยู่

    เหนือระดับน้ำ ถ้าลอยมากๆก็อาจเสียสติ อย่างที่เรียกว่า

    ประสาทหลอนหรือบ้าเอะอะไปเลย หรืออย่างเบาะๆก็เป็นคน

    ใจลอย คนที่ตื่นอยู่ตามปกติ ดวงจิตจะลอยอยู่ในน้ำครึ่ง

    หนึ่ง เหนือน้ำครึ่งหนึ่ง ถ้าจมเสมอน้ำเลี้ยงก็เป็นจิตของคน

    หลับ ถ้าจมมากเกินไป เจ้าของก็มีสติไม่ดีเช่นกัน เรียก

    ว่า “บ้าซึม” การแก้โรคจิตโดยใช้ธรรมโอสถ ก็คือ การทำ

    ให้จิตลอยอยู่ตามปกติ เข้าใจว่าทางแพทย์ก็คงถือหลักเดียว

    กันนี้ กล่าวคือ ถ้าบ้าเอะอะก็ให้ยานอนหลับและยาบำรุง

    ประสาท ถ้าบ้าซึมก็ให้ยากระตุ้นประสาทหรือทำช็อก



    ดวงปฐมมรรคอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 6 นี้ คือ ศูนย์

    รวมของ ส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าศูนย์รวมนี้มัวหมอง ก็

    แสดงว่าธาตุต่างๆในร่างกายผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ จะมีการ

    เจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้น ศูนย์รวมนี้เองที่เรียกว่าขันธโลก หรือขันธ์ 5



    ดวงอากาศธาตุภายในดวงปฐมมรรค ก็คือ อากาศโลก

    อันเป็นศูนย์บังคับอากาศตามช่องว่างต่างๆในร่างกาย เช่น

    ช่องท้อง ช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น



    เมื่อเราเจริญสมาธิ กล่าวคือ ทำเห็นจำคิดรู้ให้เป็น

    หนึ่ง แล้วเอาตัว“หนึ่ง”นี้ จี้ไปตรงกลางดวงปฐมมรรคเห็นจำ

    คิดรู้ หรือเนื้อหนังของเห็นจำคิดรู้นี้เองคือสัตว์โลก ผู้ปฏิบัติ

    กรรมฐานจะต้องรู้ขันธโลก สัตว์โลก อากาศโลกนี้ให้ชัดเจน

    จึงจะใช้ได้



    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ขันธ์ 5 หรือดวงปฐมมรรค คือผล

    ของการ ปรุงแต่งของบาปบุญ ที่ติดตัวเรามาแต่เกิดนั้นเอง

    ดวงปฐมมรรคนี้ก็คือธาตุธรรม ธาตุได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ

    อากาศ และวิญญาณ เมื่อมีธาตุแล้ว ก็ต้องมีธรรมเป็นที่

    อาศัย ถ้าไม่มีธรรม ธาตุก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกัน

    และกัน




    การเข้าถึงธาตุธรรมได้แก่การดึงจิตที่ลอยไปยังที่

    ต่างๆ กลับยังที่ตั้งเดิมตรงศูนย์กลางกาย ให้หยุดอยู่ที่นั่น







    โดยทำนองเดียวกับ การส่งใจไปจดหรือคิดถึงคนนี้คนโน้น หรือ

    จดสิ่งนั้นสิ่งโน้น ตามความซุกซนของใจ เมื่อใจจดธรรมอัน

    เป็นอาหาร หรือที่รองรับของใจได้ถูกส่วน เลิกซุกซนแล้ว ใจ

    ก็หยุด ธาตุธรรมหรือดวงปฐมมรรคก็ปรากฏให้เห็น


    เมื่อหยุด ดวงเดิมจะตกมายังศูนย์ที่หก ปรุงแต่งด้วยธาตุ+ธรรม

    แล้วลอยเด่นเป็นดวงใหม่ปรากฏ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่7 นั่นเอง


    --------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...