เรื่องเด่น พระพุทธชินราช :หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 มีนาคม 2017.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    17362815_1993133304247588_7517063218845849905_n.jpg


    ผู้ถาม : "ทีนี้เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธชินราชนี่ พุทธลักษณะสวยสดงดงามนี่หมายถึงว่า พระพุทธชินราชนี่เป็นพุทธลักษณะคล้าย ๆ สมเด็จฯ องค์ปฐมหรือพระพุทธกัสสปครับ....?"
    หลวงพ่อ : ความจริงเรือนแก้วนี่เขาสมมุติขึ้นมานะ แทนรัศมี ต้องไปถามพระเจ้าพรหมฯ

    ผู้ถาม : "พระเจ้าพรหมมหาราชหรือครับ...?"
    หลวงพ่อ : ใช่ "ความจริงพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกนี่พระเจ้าพรหมมหาราชสร้าง พระเจ้าลือไทมาซ่อมทีหลัง"

    ผู้ถาม : "สมัยโน้นหรือครับ...?
    หลวงพ่อ : ใช่ ๆๆๆ คือว่าเวลานั้นท่านชื่อ "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก" เราเรียกพระเจ้าพรหมฯ นั่นเป็นชื่อเดิม ชื่อที่เป็นพระราชาชื่อ พระเจ้าศรีธรรมปิฎก สร้าง และต่อมาสมัยสุโขทัยนี่ซ่อม ไม่ใช่สร้างนะ แต่เวลานั้นประวัติศาสตร์ไม่ได้เขียนไว้นี่ มันรุ่นก่อนประวัติศาสตร์
    ที่คณะพิษณุโลกชุดที่เขานำพระบรมธาตุมาให้น่ะ ของเก่าเขาเยอะ พระเก่า ๆ เยอะ เขาลือกันว่าเจดีย์องค์นั้นที่พังไปแล้ว พระเจ้าพรหมฯ เอาของไปฝังไว้ที่นั่น พระบรมธาตุ เขาลือกันนะ มิใช่เขาลือ เขารู้ข่าวลือ ฟังต่อ ๆ มา และแกก็จะไปขุด พอเริ่มจะขุดเจ้าเสียงครึ่กครั่ก ๆ ตูมตาม ๆ ๆ เสียงในแผ่นดินนะ พอเขาจุดธูปบอกว่าจะขุดไปถวายหลวงพ่อ เสียงทั้งหมดเงียบและขุดได้ ได้พระเก่ามาตั้งเยอะ

    ผู้ถาม : "พระที่ขุดได้หมายถึงพระพุทธรูปหรือว่า....?"
    หลวงพ่อ : พระพุทธรูป พระพุทธรูปด้วยและก็พระบรมธาตุด้วย

    ผู้ถาม :"ทีนี้ถ้าจะคิดถึงอายุองค์พระพุทธชินราชที่ว่าสร้างสมัยพระเจ้าพรหมฯ ก็เท่าไหร่ล่ะนี่ครับ"
    หลวงพ่อ : ก็ไม่กี่ปี

    ผู้ถาม : พระเจ้าพรหมฯ ก่อนประวัติศาสตร์นี่นะครับ"
    หลวงพ่อ : นั่นแหละไม่กี่ปี ไม่เกิน ๑,๒๐๐ ปี

    ผู้ถาม : "ทีนี้มีปัญหาอยู่ว่าพุทธลักษณะเหมือน องค์ที่หล่อองค์ไหนก็แล้วแต่ "พุทธลักษณะสู้องค์นี้ไม่ได้เลย" พระพักตร์สวยมาก สาเหตุนี่มาจากอะไรครับ....?"
    หลวงพ่อ : พระพักความจริงเรามองไม่เห็นหรอกนะ เห็นแต่พระหน้า พระพักนี่อยู่ที่ก้น (หัวเราะ) เวลาเขาพักกันน่ะนั่งพัก เขาบอกว่าเทวดาร่วมสร้าง เทเท่าไหร่ ๆ สร้างก็ไม่มีการทรงตัว ไม่เป็นที่พอใจหุ่น เรียกว่าไม่เป็นที่พอใจของผู้สั่งให้สร้าง ผลที่สุดก็พระอินทร์ใช้ "วิษณุกรรมเทพบุตร" ให้ลงมา นุ่งขาวห่มขาว เป็นคนเดินมาไม่มีข้าวจะกิน ก็ถามว่า ที่นี่มีข้าวไหม เขาบอก มี ถาม ทำอะไรกัน กำลังจะสร้างพระสักองค์หนึ่ง รูปร่างลักษณะแบบนั้น ๆ พระราชาสั่ง บอก ไม่เป็นไรหรอก ผมเป็นช่างปั้นครับ เป็นช่างปั้นด้วยช่างหล่อเสร็จ
    ทีนี้ถึงเวลากินข้าวเขาก็เลยเอาข้าวมาเลี้ยงก่อน ก่อนเวลา กลุ่มเดิมกินนี่นะ ก็กินข้าวก่อน ทีนี้ถึงเวลาพวกช่างกินข้าว ปรากฏกลับมาแล้วอีตาคนนั้นหายไป พระเสร็จเรียบร้อย

    ผู้ถาม : "แค่กินข้าวหรือครับ...?"
    หลวงพ่อ : ใช่ แค่อิ่ม เห็นไหมอำนาจเทวดา แค่นึกเท่านั้นก็เสร็จแล้ว

    ผู้ถาม : "แสดงว่าท้าววิษณุกรรมนี่มีฤทธิ์มีเดชเก่งเฉพาะเรื่องหล่อเรื่องสร้าง หรือเก่งทุกอย่างครับ...?"
    หลวงพ่อ : หลายอย่าง เมื่อสมัยเป็นมนุษย์นะมีลูกก็เยอะ

    ผู้ถาม : "เดี๋ยวครับตอนสมัยเป็นมนุษย์พอจะมีชื่อเสียงเรียงนาม"
    หลวงพ่อ : จำไม่ได้ เป็นมนุษย์หลายชาติ

    ผู้ถาม : "แต่ละชาติเป็นช่างหรือเปล่าครับ..?"
    หลวงพ่อ : วิษณุกรรมก็ช่างสร้างศาลาใช่ไหมเล่า "นัฏฐ" ก็คือนายช่างผู้สร้างศาลาของ "มาฆมานพ"

    ผู้ถาม : "สมัยโน้นที่ว่ามีพระพุทธชินสีห์ และก็พระศากยมุนี รุ่นเดียวกันหรือเปล่าครับ"
    หลวงพ่อ : ทีหลัง "พระพุทธชินสีห์ พระศากยมุนี" นี่สมัยสุโขทัย เอาไปซ่อมพระพุทธชินราชแล้ว ไปซ่อมแล้วก็สร้างให้เป็นเพื่อนกัน แทนองค์นั้นแทนองค์นี้

    ผู้ถาม : "ที่หล่อนี่หมายถึงอยู่ทางเหนือหรือหล่อที่พิษณุโลกครับ"
    หลวงพ่อ : ที่พิษณุโลก สมัยพระเจ้าพรหมฯ นั่นครองแผ่นดินถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี่นะ

    ผู้ถาม : "เลิกจากรบทัพจับศึกแล้วก็สร้างวัดจำนวนไม่ใช่น้อย"
    หลวงพ่อ : วัดเดียว

    ผู้ถาม : "ก็ไหนบอกใจบุญใจกุศลอย่างไรล่ะครับ"
    หลวงพ่อ : อ้าว...ก็สร้างทีละวัด ๆ ไม่ใช่จับมาเรียงได้นี่ ไปที่ไหนก็สร้างวัดเป็นเรื่องธรรมดา ชาวบ้านกับวัดแยกกันไม่ได้ พระราชากับวัดก็แยกกันไม่ได้เหมือนกัน เพราะอะไรรู้ไหม ถ้าประกาศอะไรขึ้นมาก็อาศัยวัด วัดเวลานั้นก็คือมหาวิทยาลัย สอนหนังสือสอนวิชาการต่าง ๆ มันมีความจำเป็น

    ผู้ถาม : "โรงเรียนเพิ่งจะมีสมัย ร. ๕ "
    หลวงพ่อ : ใช่ ๆ ๆ ๆ บรรดาพวกขุนนางต่าง ๆ เมื่อออกมาแล้วก็บวชพระ เป็นคณาจารย์ไปเอง

    ผู้ถาม : "พูดถึงว่าสมัยข้าราชการในยุคนั้น มีใจเป็นบุญเป็นกุศล"
    หลวงพ่อ : ใช่ ๆๆๆ มากกว่า แต่ทิ้งไม่ได้มีอย่างหนึ่งคือ "คอรัปชั่น"

    ผู้ถาม : "นี่ถือเป็นประเพณีเลยนะครับ"
    หลวงพ่อ : ใช่ ไม่งั้นโลกตั้งอยู่ไม่ได้ ความเลวเหมือนผ้าดำ ความดีเหมือนผ้าขาว "ถ้ามีเฉพาะผ้าขาวผืนเดียวสีขาวไม่เห็น ถ้าดำแปะไปด้วย สีขาวจะเด่น เห็นไหม โลกจะต้องมีทั้งความดีและความชั่ว

    ผู้ถาม : "ดีทั้งหมดก็ไม่ใช่โลก"
    หลวงพ่อ : ไม่ใช่โลก เป็น "โลกุตระ" คือพ้นโลกไป

    ผู้ถาม : "นี่ก็แสดงว่าอารมณ์ของผู้สร้างพระพุทธชินราชสมัยพระเจ้าพรหมฯ และก็อารมณ์สมัยกรุงเทพฯ วัดเบญจมบพิตร และอารมณ์ไปถึงวัดท่าซุงนี่เป็นอารมณ์เดียวกันหรือเปล่าครับ"
    หลวงพ่อ : ก็อารมณ์เดียวกันแต่คนละคน พระพุทธชินราชโน้นอารมณ์พระเจ้าพรหมฯ วัดเบญจฯ ร. ๕ วัดท่าซุงก็คือฉันแน่

    ผู้ถาม : "นี่ไม่เหมือนกันนะครับ"
    หลวงพ่อ : ชื่อก็ไม่เหมือนกัน ตัวก็ไม่เหมือนกัน

    ผู้ถาม : "แต่พุทธลักษณะของพระพุทธรูป"
    หลวงพ่อ : นั่นเรื่องพระพุทธรูปท่าน

    ผู้ถาม : "๓ องค์นี่ท้าววิษณุกรรมก็คงวิ่งวุ่นมาตลอด"
    หลวงพ่อ : คงจะมีหุ้นมั้ง เพราะเรื่องบุญ เทวดาย่อมสั่งสมบุญให้มากขึ้นเป็นของธรรมดา เทวดามี ๒ อย่าง เทวดาที่เป็นบัณฑิต กับเทวดาที่เป็นพาล ที่เป็นบัณฑิตหมายถึงความฉลาดสั่งสมบุญบารมีให้มากขึ้น ที่เป็นพาล พาลแปลว่าโง่ มัวเมาในทิพยสมบัติ ถ้าตายแล้วบาปเก่าก็ตีพุ่งหลาวลงนรกไป

    ผู้ถาม : "ที่เป็นบัณฑิตก็ไปตีตั๋วต่อ..."
    หลวงพ่อ : ใช่ ๆ ๆ ๆ ไปนิพพานกันเยอะแยะ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    พิมพ์โดยThamma Sukkho จากหนังสือ "ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑๖" หน้าที่ ๓ - ๘
    https://www.facebook.com/groups/146338939112916/
     
  2. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    sa36.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...