พระเครื่องย้อนยุคอมตะ" พระกรุ 5 แผ่นดิน-พิธีเสกเข้ม

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 23 ธันวาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE> พระเครื่อง พระบูชา ถือเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมเป็นมรดกของชาติ ที่คนทั่วไปให้การยอมรับว่าเป็นภูมิปัญญาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่ามากมาย ซึ่งมีมาแต่โบราณกาลก่อนยุคกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

    พุทธศิลป์ พิมพ์ต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์, ความอ่อนโยน, งดงามตามยุคสมัย อันเป็นประติมากรรมมากมายหลายต่อหลายพิมพ์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพุทธประวัติ น่าศึกษา, ค้นคว้า ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ กันอย่างถูกต้อง

    บรรพบุรุษไทยนิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตามวัดต่างๆ ควบคู่กับการสร้างพระบูชา พระเครื่อง วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังต่างๆ ไว้เพื่อสักการบูชาอีกเป็นจำนวนมาก

    พระบูชาและพระเครื่องสมัยต่างๆ มีความงดงามด้านพุทธศิลป์ ประกอบด้วยพุทธลักษณะมีความอ่อนช้อยเปี่ยมด้วยความเมตตา เป็นศิลปะชั้นสูงอันล้ำค่าของบรรพชนไทย

    คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จึงได้พิจารณาคัดเลือกพระกรุพิมพ์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในอดีต จนกระทั่งปัจจุบัน นำมาย้อนยุคเพื่อให้ผู้ร่วมกุศลสมทบทุนสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสมทบทุนสร้างพระพุทธอสีติวัสสาหาบพิตร (พระร่วงเจ้า) อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล

    ดังนี้ 1.พระนางเสน่ห์จันทร์ เมืองสุโขทัย (จ.สุโขทัย) เป็นพระเนื้อดิน ค่อนข้างหยาบ พุทธลักษณะเป็นพระศิลปะสุโขทัย บริสุทธิ์ (คลาสสิค) ปางมารวิชัยกำเนิดที่วัดศรีพิจิตรกิรติกลยาราม (ตาเถรขึงหนัง) ต่อมาได้ขุดพบที่วัดต้นจันทร์ และวัดพญาดำ แต่ความนิยมได้แก่ กรุวัดตาเถรขึงหนัง

    พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ เป็นพระที่กรมศิลปากร เป็นผู้เปิดกรุ พ.ศ.2502 โดยนำมาจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาองค์ละไม่กี่บาท แต่ปัจจุบันเป็นพระที่หาได้ยากยิ่ง แล้วสนนราคาสูงมาก ในด้านพุทธคุณนั้น ดีทางด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันด้วย

    2.พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด เมืองชากังราว (จ.กำแพงเพชร) เป็นพระปางลีลา สมัยสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า เชยคางข้างเม็ด เพราะองค์พระยืนอยู่ในซุ้ม ขอบข้างเป็นเม็ดไข่ปลา เราจึงเรียกตามลักษณะของพระ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระกำแพงเชยคางข้างม็ด เมื่อก่อนนี้ค่านิยมถูกจัดให้เทียบเท่า "พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน" หรืออาจจะสูงกว่าด้วยซ้ำไป เป็นพระประเภทเนื้อชินเงิน และตะกั่วสนิมแดง พบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย วัดสี่อิริยาบถ พุทธคุณเยี่ยมทางโภคทรัพย์

    3.พระชินราชใบเสมา เมืองสองแคว (จ.พิษณุโลก) เป็นพระที่กำเนิดที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ เป็นวัดเดียวกันกับพระพุทธชินราชองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานของวัด จึงนำพระนามของท่านมาเป็นชื่อของพระเครื่องที่ขุดค้นพบ เป็นพระศิลปะแบบอู่ทอง ยุคต้น สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือ "พระมหาธรรมราชาลิไท" พระมหากษัตริย์ของกรุงสุโขทัย เมื่อครั้งครองเมืองพิษณุโลก

    สาเหตุที่เรียกว่า "ใบเสมา" ก็เพราะองค์พระนั่งประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ที่มีลักษณะคล้ายใบเสมาที่อยู่รอบโบสถ์ และพระชินราชใบเสมา แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2440 ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เป็นพระที่สร้างศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น

    เพราะฉะนั้นพระพักตร์ของท่านจึงดูเข้มคล้ายกับยิ้มเครียดๆ แฝงไปด้วยความมีอำนาจ ที่ขุดพบมีชนิดเนื้อชินเงิน เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อชินเขียว เนื้อดิน เป็นพระกรุที่หายาก สนนราคาจึงจัดว่าสูงมากพอสมควร ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น สูงทางด้านแคล้วคลาด เมตตาและความมีอำนาจ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องปกครองดูแลผู้คนควรจะมีติดตัวไว้สักองค์หนึ่ง

    4.พระยอดขุนพล เมืองละโว้ (จ.ลพบุรี) เป็นพระนั่งปางมารวิชัยอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ใต้ฐานประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง มีทั้งฐานบัวชั้นเดียวและฐานบัวสองชั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ มีประเภทเนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ส่วนเนื้อสัมฤทธิ์นั้น มีแต่น้อยมาก

    คำว่า "ยอดขุนพล" ก็รู้อยู่ว่า เป็นการแสดงถึงอำนาจเพราะฉะนั้นพระยอดขุนพลจึงมีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด พระยอดขุนพลของลพบุรีนี้ ถือเป็นต้นแบบของพระยอดขุนพลของเมือง อื่นๆ เลยทีเดียว พระยอดขุนพลของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ นั้นเป็นศิลปะของสกุลขอม แต่ละยุคของลพบุรี เพราะฉะนั้นจึงมีความขึงขังและอลังการเป็นอย่างยิ่ง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    5.พระขุนแผนวัดใหญ่ชัยมงคล กรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา (จ.อยุธยา) สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2134 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราช แม่ทัพใหญ่ของพม่า ทรงได้รับชัยชนะ พระองค์ก็เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา และก็ได้ทรงสร้างพระขุนแผนเคลือบขึ้นเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะที่ "วัดป่าแก้ว" โดยประธานพิธี ทางสงฆ์ก็คือ "สมเด็จพระนพรัตน์" ต่อมาวัดป่าแก้วก็คือ "วัดใหญ่ชัยมงคล" ในปัจจุบันนั่นเอง พระขุนแผนเคลือบ เป็นพระปางมารวิชัย ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว กำเนิดขึ้นแห่งแรกที่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล

    พระขุนแผนทุกองค์จะมีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพัน ชาตรี พุทธคุณสูง จึงถูกจัดให้เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองอยุธยา

    6.พระลีลาถ้ำหีบ เป็นพระศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ เป็นสกุลช่างในยุคสุโขทัยที่หาพระลีลาพิมพ์อื่นเทียบยาก พุทธลักษณะเป็นพระพิมพ์ลีลาก้าวย่างไปข้างหน้าทางด้านซ้ายเช่นเดียวกับพระกำแพงศอกของเมืองสุพรรณบุรี ที่ขุดค้นพบมี 3 พิมพ์ ที่พบมีอยู่ 2 เนื้อ คือ เนื้อดิน และเนื้อชิน พระลีลาถ้ำหีบ นี้นอกจากพบที่วัดถ้ำหีบแล้วยังขุดค้นพบที่ "วัดเจดีย์งาม" และ "วัดเขาพระบาทน้อย" อีกด้วย พระลีลาถ้ำหีบ พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านโภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม

    กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 พระนางเสน่ห์จันทร์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2550 ณ วัดมหาธาตุฯ เมืองเก่าสุโขทัย พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรก จ.สุโขทัย ประกอบด้วย หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย, หลวงพ่อทุเรียน วัดศรีคีรีสุวรรณาราม จ.สุโขทัย, หลวงปู่บุญมี วัดโบสถ์ จ.สุโขทัย, ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง จ.ตาก, หลวงพ่อบุญมี วัดท่าหลวง จ.พิจิตร

    ครั้งที่ 2 พระนางกำแพงเชยคางข้างเม็ด เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2550 ณ วัดบรมธาตุฯ เมืองกำแพงเพชร พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรก จ.กำแพงเพชร ประกอบด้วย หลวงพ่ออดุลย์ วัดคูยาง, หลวงพ่อวีระ วัดพระบรมธาตุฯ, หลวงพ่อประจวบ วัดกุฎีการาม, หลวงพ่อเผื่อน วัดไตรภูมิ, พระพ่อแปะ สำนักสงฆ์เขานิยม จ.กำแพงเพชร

    ครั้งที่ 3 พระชินราชใบเสมา เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2550 ณ วัดพระศรีรัตนฯ เมืองพิษณุโลก พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรก จ.พิษณุโลก ประกอบด้วยหลวงพ่อบำรุง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก, หลวงพ่อรอด วัดสันติกาวาส, หลวงพ่อลำยอง วัดสุนทรประดิษฐ์, หลวงพ่อไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    ครั้งที่ 4 พระยอดขุนพล เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2550 ณ วัดมหาธาตุฯ เมืองเก่าละโว้ จ.ลพบุรี พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรก จ.ลพบุรี ประกอบด้วย หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า, หลวงพ่อสุข วัดพรหมรังสี, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน, หลวงพ่อผล วัดเนินทอง, พระอาจารย์ธรรมนูญ (ติ๋ว) วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี

    ครั้งที่ 5 พระขุนแผนวัดใหญ่ชัยมงคล เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2550 ณ วัดใหญ่ชัยมงคล เมืองอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิภาวนาจารย์นั่งปรก จ.พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน จุดเทียนชัย, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว ดับเทียนชัย, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงพ่อละเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อเสาร์ วัดดอนหญ้านาง, หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบานแพน, หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้, หลวงพ่อสุรินทร์ วัดนครหลวง, หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม, หลวงพ่อทองสืบ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อนิคม วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ เจ้าพิธี

    สนใจสั่งบูชาได้ที่ เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศไทย

    วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้าง พระร่วงเจ้า สูงใหญ่ที่สุดในประเทศ ถวายเป็นพระราชกุศลในมหามงคลเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/v...nid=TURNd053PT0=&day=TWpBd055MHhNaTB5TXc9PQ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...